นี่คืออัญมณี “ไควทูอิต” ที่มีชิ้นเดียวและเป็นแร่ธาตุที่หายากที่สุดในโลก

แร่ธาตุมีอยู่ทั่วไปบนโลกของเราตั้งแต่เศษหินหรือทรายที่ระยิบระยับไปจนถึงอัญมณี แร่ธาตุแต่ละชนิดมีโครงสร้างภายในที่เป็นระเบียบและมีองค์ประกอบทางเคมีเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป แร่ที่พบมากที่สุดในโลกคือแร่ควอตซ์ (Quartz) แต่แร่ชนิดใดที่หายากที่สุดคืออะไร

รูปที่ 1. แร่ไควทูอิต (อ้างอิง: Livescience)

นี่คืออัญมณีไควทูอิต (Kyawthuite) แร่ธาตุที่หายากที่สุดในโลก ซึ่งมีค้นพบเพียงชิ้นเดียวบนโลก โดยที่พบในเมืองโมก๊ก (Mogok) ของเมียนมาร์หรือพม่าเท่านั้นที่เคยพบมา จากฐานข้อมูลแร่ของคาลเทค (Caltech’s Mineral Database) อธิบายว่าเป็นพลอยสีส้มเข้มมีขนาดเพียง 1.61 กะรัต ที่มีสูตรทางเคมีคือ Bi3+Sb5+O4 ที่สมาคมแร่วิทยาระหว่างประเทศ (International Mineralogical Association) ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 2015

อย่างไรก็ตาม ไม่ค่อยมีใครรู้เกี่ยวกับอัญมณีไควทูอิต ดังนั้นเรามาต่อที่แร่ที่หายากเป็นอันดับสองรองลงมาที่มีอยู่ นี่คือเพนไนต์ (Painite) ซึ่งเป็นผลึกหกเหลี่ยมสีแดงเข้มอาจจะมีสีชมพูอยู่บ้าง แม้ว่าปัจจุบันพบพาไนต์ได้ง่ายกว่าที่เคยเป็น แต่แร่ธาตุนี้ก็ยังหาได้ยาก และโครงสร้างทางเคมีของมันทำให้มันเป็นปริศนาทางวิทยาศาสตร์

ในปี ค.ศ. 1952 อาเธอร์ เพน (Arthur Pain) นักสะสมอัญมณีชาวอังกฤษและตัวแทนจำหน่ายได้ซื้อคริสตัลสีแดงเข้มสองก้อนในเมียนมาร์ ตามที่จอร์จ รอสแมน (George Rossman) ศาสตราจารย์ด้านแร่วิทยาที่คาลเทคผู้ซึ่งทำการวิจัยเกี่ยวกับ พาไนต์มาตั้งแต่ทศวรรษ 1980 และการเก็บฐานข้อมูลที่มากมายของตัวอย่างทั้งหมดที่เขาวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์

อาเธอร์คิดว่าอัญมณีเหล่านี้คือทับทิมซึ่งมีชื่อเสียงในบริเวณนี้ แต่เขาไม่รู้ว่าอัญมณีเหล่านั้นหายากกว่ามาก ซึ่งเขาได้ใช้นามสกุลของเขาในการตั้งชื่อ โดยบางครั้งก็ขุดพบได้พร้อมกับทับทิมและอัญมณีอื่นๆ นั่นอธิบายว่าทำไมอาเธอร์จึงสันนิษฐานว่าอัญมณีนี้เป็นทับทิม เมื่ออ้างอิงจากจอร์จซึ่งเขาบริจาคให้กับบริติชมิวเซียม (British Museum) ในปี ค.ศ. 1954 เพื่อการศึกษาเพิ่มเติม อีกตัวอย่างหนึ่งจากพม่าปรากฏขึ้นในปี ค.ศ. 1979 และจนถึงปี ค.ศ. 2001 ผลึกทั้งสามนี้เป็นตัวอย่างของเพนไนต์เพียงหนึ่งเดียวในโลกที่รู้จัก

รูปที่ 2. แร่ไควทูอิตตัวอย่างเดียวที่ค้นพบ (อ้างอิง: Livescience)

อัญมณีเพนไนต์ตัวแรกที่ค้นพบ เรียกว่า เพนไนต์ #1 ต่อมาจอร์จได้วิเคราะห์ศึกษาเกี่ยวกับเพนไนต์และได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารแร่วิทยา (Mineralogical) ในปี ค.ศ. 2018 จากการวิจัยครั้งนี้ จอร์จได้พิจารณาว่าองค์ประกอบใดที่ประกอบกันเป็นเพนไนต์ ด้วยการใช้อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี รังสีอินฟราเรดถูกใช้เพื่อระบุองค์ประกอบตามวิธีการดูดซับ สะท้อน และเปล่งแสงนั้น เมื่อใช้อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีเลเซอร์จะถูกนำมาใช้เพื่อกระจายแสงที่มองเห็นได้ แสงอินฟราเรดหรือแสงอัลตราไวโอเลต ซึ่งทำให้โมเลกุลมีการสั่นสะเทือนที่ไม่เหมือนใครซึ่งทำให้สามารถระบุตัวตนได้

จอร์จยังพบว่ามีข้อผิดพลาดในการแต่งเติมสารเคมีซึ่งแต่เดิมกำหนดโดยนักวิทยาศาสตร์ที่บริติชมิวเซียม แม้ว่าพวกเขาจะระบุอะลูมิเนียม โบรอน แคลเซียม และออกซิเจนได้ถูกต้อง แต่ธาตุเซอร์โคเนียม (Zirconium) กลับขาดหายไป อีกสิ่งหนึ่งที่จอร์จค้นพบคือสิ่งที่ทำให้เพนไนต์มีสีแดง คือมีปริมาณวานาเดียม (Vanadium) และโครเมียม (Chromium) ในปริมาณเล็กน้อยที่อาจทำให้ดูหลอกตาเหมือนทับทิม

แต่อะไรที่ทำให้เพนไนต์นั้นหายากมาก อย่างแรกพบได้ในพม่าเท่านั้น แต่เหตุผลที่แท้จริงอยู่ที่การก่อตัวของมัน ซึ่งเพนไนต์เป็นผลึกบอเรตที่ประกอบด้วยโบรอน นอกจากนี้ยังมีเซอร์โคเนียม ซึ่งยากมากที่โบรอนจะเชื่อมต่อรวมกับเซอร์โคเนียม อันที่จริง เพนไนต์เป็นแร่ธาตุเพียงชนิดเดียวที่พบว่าทั้งสองรวมกันในธรรมชาติ แต่ก็ไม่พบเซอร์โคเนียมและโบรอนรวมกันในระดับความเข้มข้น ดังที่จอร์จกล่าว นอกจากนี้ยังคิดว่าองค์ประกอบเหล่านี้อาจจะไม่เสถียรเมื่อเปรียบเทียบกับองค์ประกอบอื่นๆ ที่พวกมันสามารถเกาะติดได้ จอร์จกล่าวว่า ยังไม่มีใครทำการศึกษาอย่างจริงจังเกี่ยวกับสิ่งที่จะทำให้เกิดเพนไนต์และไม่มีความพยายามที่จะสังเคราะห์ในห้องทดลอง

สิ่งที่จอร์จความคิดคือเหตุใดจึงพบอัญมณีเพนไนต์และอัญมณีอื่นๆ เช่น ไควทูอิตในพม่า เริ่มต้นจากเมื่อมหาทวีปโบราณแห่งกอนด์วานา (Gondwana) เริ่มแยกตัวเมื่อประมาณ 180 ล้านปีก่อน อินเดียเคลื่อนตัวขึ้นเหนือและชนกับทวีปเอเชียใต้ในปัจจุบัน แรงดันและความร้อนจากการชนกันก่อตัวเป็นขุมสมบัติของหิน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอัญมณี เขาคิดว่าโบรอนในแร่เพนไนต์และแร่บอเรตอื่นๆ อาจจะมาจากทะเลน้ำตื้นรอบๆแผ่นดินที่ก่อตัวขึ้นใหม่

จอร์จมีอัญมณีจำนวนมากที่สงสัยว่าเป็นเพนไนต์ถูกส่งไปให้เขาเพื่อตรวจสอบ บางชิ้นถูกซ่อนไว้ไม่ให้ใครเห็นมานานหลายทศวรรษ เนื่องจากมักถูกซ่อนไว้ในถุงใส่อัญมณีหรืออยู่ในมือของผู้ค้าและนักสะสมที่ระบุอัญมณีผิด จอร์จกล่าวว่า เพนไนต์ เหมาะสำหรับเครื่องประดับหรูหรานั้นหายากและมีมูลค่าสูงถึง 60,000 ดอลลาร์ต่อกะรัต สิ่งที่กำหนดราคาจะเป็นตำหนิยิ่งมีน้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น

รูปที่ 3. แร่เพนไนต์ (อ้างอิง: Livescience)

อย่างไรก็ตาม มีข้อกังวลด้านจริยธรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองในพม่า ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านอัญมณีอื่นๆ และตัวอย่างสิ่งมีชีวิตยุคก่อนประวัติศาสตร์ขนาดเล็กที่ติดอยู่ในอำพัน ฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch) สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากรัฐบาลทหาร ซึ่งได้รายได้และกำไรจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ซึ่งมีเหมืองที่ไม่ปลอดภัยและเต็มไปด้วยโรค การบังคับแรงงานและแรงงานเด็ก บริษัทเครื่องประดับบางแห่งปฏิเสธที่จะซื้ออัญมณีที่ขุดได้ด้วยเหตุผลนี้ และนักวิทยาศาสตร์บางคนปฏิเสธที่จะศึกษาตัวอย่างจากประเทศนี้

เพนไนต์เป็นเรื่องธรรมดามากกว่าที่เคยเป็นมา ผลึกหลายก้อนเริ่มปรากฏขึ้นในปี ค.ศ. 2005 ทั้งหมดเกิดขึ้นภายในปีนั้น และปัจจุบันสามารถพบอัญมณีเพนไนต์ส่วนใหญ่ได้ในเขตเวทลู (Wet Loo) และเมืองตอง (Taung) ของพม่า แม้ว่าเพนไนต์จะไม่ได้เป็นแร่หายากมากอีกต่อไป แต่ก็ยังเป็นอัญมณีที่มีค่า

อ้างอิง: Livescience, Cambridge

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *