นี่คือไดโนเสาร์คอยาว “15.1 เมตร” ซึ่งยาวที่สุดที่เคยพบมา

ไดโนเสาร์นั้นมีหลากหลายประเภท ทั้งแบบเดินสองขา เดินสี่ขา มีคอสั้น มีคอยาวที่เรียกซอโรพอด (Sauropod) ที่เป็นกลุ่มไดโนเสาร์คอยาวกินพืช มีขนาดใหญ่มาก ส่วนใหญ่แล้วจะมีคอยาวอย่างน้อย 5 เมตร ซึ่งมีอยู่หลายชนิด

รูปที่ 1. ไดโนเสาร์มาเมนชิซอรัสซิโนคานาโดรัม (อ้างอิง: Livescience)

นี่คือไดโนเสาร์มาเมนชิซอรัสซิโนคานาโดรัม (Mamenchisaurus sinocanadorum) ที่เป็นไดโนเสาร์คอยาวที่สุดที่อยู่ในยุคจูราสสิค (Jurassic) ที่มีคอยาวถึง 15.1 เมตร ซึ่งยาวกว่าคอของยีราฟถึง 6 เท่า มีชีวิตอยู่ประมาณ 162 ล้านปีก่อน ในช่วงยุคจูราสสิค ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ (Xinjiang Uyghur) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ตามรายงานการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารบรรพชีวินวิทยาเชิงระบบ (Journal of Systematic Palaeontology) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 2023

คอที่ยาวของไดโนเสาร์มาเมนชิซอรัสซิโนคานาโดรัมก็เหมือนกับพวกซอโรพอดอื่นๆ ซึ่งจะทำให้ไดโนเสาร์ชนิดนี้เป็นไดโนเสาร์หาอาหารเก่งเพราะกินพืชในปริมาณมาก เพื่อเป็นเชื้อเพลิงให้กับร่างกายขนาดใหญ่และจะย้ายไปยังจุดที่มีพืชพรรณอุดมสมบูรณ์ต่อไปเรื่อยๆ การศึกษาของแอนดรูว์ มัวร์ (Andrew Moore) นักบรรพชีวินวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยสโตนีบรูค ในนิวยอร์ก กล่าว

นักวิจัยค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์มาเมนชิซอรัสซิโนคานาโดรัมในปี ค.ศ. 1987 แต่พวกเขาไม่พบอะไรมากนัก มีเพียงกระดูกกรามและกระดูกสันหลังส่วนคอและกระดูกซี่โครงบางส่วนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้เพียงพอที่จะบอกนักบรรพชีวินวิทยาได้มากมายเกี่ยวกับพวกมันที่ตายไปนานแล้ว แอนดรูว์กล่าวว่า ซอโรพอดทุกตัวมีคอยาว แต่มาเมนชิซอรัสซิโนคานาโดรัมนั้นโดดเด่น โดยมีสัดส่วนคอที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตบนบก แอนดรูว์กล่าว

รูปที่ 2. เปรียบเทียบไดโนเสาร์มาเมนชิซอรัสซิโนคานาโดรัมและซินเจียงไททันชานชาเนซิส (อ้างอิง: Livescience)

ส่วนไดโนเสาร์คอยาวรองลงมาคือซินเจียงไททันชานชาเนซิส (Xinjiangtitan shanshanesis) ซึ่งเป็นมาเมนชิซอริดที่มีคอที่สมบูรณ์ที่สุดที่เก็บรักษาไว้โดยมีความยาว 13.4 เมตร แอนดรูว์กล่าว

แอนดรูว์และเพื่อนร่วมงานของเขาเปรียบเทียบกระดูกสันหลังของมาเมนชิซอรัสซิโนคานาโดรัมที่เก็บรักษาไว้เพียงไม่กี่ชิ้นกับโครงกระดูกที่สมบูรณ์กว่าของญาติซอโรพอดที่ใกล้เคียงที่สุด จากการวิเคราะห์ของเราทำให้เราค่อนข้างมั่นใจว่ามาเมนชิซอรัสซิโนคานาโดรัมนั้นมีกระดูกสันหลัง 18 ชิ้นที่คอ เพราะลูกพี่ลูกน้องที่รู้จักจากโครงกระดูกที่สมบูรณ์กว่าล้วนมีกระดูกสันหลังส่วนคอ 18 ชิ้น เแอนดรูว์กล่าว ดังนั้นเราจึงมุ่งเน้นไปที่ญาติสนิทเหล่านี้ที่มีคอคล้ายกัน

มาเมนชิซอรัสซิโนคานาโดรัมพัฒนาขึ้นเพื่อให้คอของมันมีน้ำหนักเบาแต่แข็งแรง การสแกนกระดูกสันหลังด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เผยให้เห็นว่ามีโพรงอากาศเป็นส่วนประกอบมากถึง 77% ของปริมาตรของพวกมัน เช่นเดียวกับโครงกระดูกที่เบาของนกกระสาในปัจจุบัน เหตุผลก็เพื่อป้องกันคอของมันจากการบาดเจ็บ ซอโรพอดมีซี่โครงยาว 4 เมตร ที่คอซึ่งสร้างเหมือนแท่งและซ้อนทับกันเป็นมัดที่คอทั้งสองด้าน เหมือนกับของซอโรพอดอื่นๆ

ยังไม่ทราบสาเหตุที่มาเมนชิซอรัสซิโนคานาโดรัมวิวัฒนาการให้มีคอขนาดใหญ่พิเศษ แต่บางทีมันอาจจะทำให้พวกมันมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการหาอาหาร แอนดรูว์กล่าว การมีคอที่ยาวอาจจะช่วยให้สัตว์กินพืชขนาดยักษ์ระบายความร้อนในร่างกายส่วนเกินโดยการเพิ่มพื้นที่ผิวของมัน เช่นเดียวกับที่หูขนาดมหึมาของช้างช่วยให้พวกมันเย็น

รูปที่ 3. ขากรรไกรล่างด้านซ้ายและฟันของไดโนเสาร์มาเมนชิซอรัสซิโนคานาโดรัม (อ้างอิง: Tandfonline)

การศึกษาครั้งใหม่นี้ค่อนข้างน่าตื่นเต้นทีเดียว ไมค์ เทย์เลอร์ (Mike Taylor) ผู้ร่วมวิจัยในภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ (Department of Earth Sciences) แห่งมหาวิทยาลัยบริสตอลในสหราชอาณาจักร  ไมค์ไม่ได้มีส่วนร่วมในการศึกษานี้ แต่ได้ศึกษาคอซอโรพอด กล่าวว่าเป็นเรื่องตลกที่คิดว่าเมื่อไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ไดโนเสาร์คอที่ยาวที่สุดที่รู้จักคือของ ยีราฟไททันบรันไค (Giraffatitan brancai) มาเมนชิซอรัสโฮฉวนเนซิส (Mamenchisaurus hochuanensis) และบาโรซอรัสเลนทัส (Barosaurus lentus) โดยทั้งหมดมีคอยาวประมาณ 9 เมตร และตอนนี้เราเห็นหลักฐานที่ชัดเจนของคออย่างน้อยครึ่งหนึ่ง

นอกจากความท้าทายทางกลไกในการชูคอที่ยาวขนาดนั้นแล้ว ยังมีการหายใจผ่านคอ ระบบไหลเวียนเลือดผ่านคอ การกระตุ้นประสาทในคอ การส่งผ่านอาหารที่กินเข้าไป การควบคุมอุณหภูมิ และอื่นๆอีกมากมาย ไมค์กล่าวเสริม พวกมันเป็นโครงสร้างที่น่าทึ่งที่สุดในชีววิทยาทั้งหมด

อ้างอิง: Livescience, Tandfonline

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *