นี่คือภูเขาไฟ “โอลิมปัส”(บนดาวอังคาร) เป็นภูเขาไฟที่สูงที่สุดในระบบสุริยะ

ภูเขาเอเวอเรสต์อาจจะเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโลก แต่รู้หรือไม่ภูเขาไฟที่สูงที่สุดในระบบสุริยะอยู่บนดาวอังคาร

รูปที่ 1. ภูเขาไฟโอลิมปัส (อ้างอิง: Businessinsider)

นี่คือภูเขาไฟโอลิมปัส (Olympus Mons) บนดาวอังคาร ที่เป็นภูเขาไฟที่สูงที่สุดในระบบสุริยะ ซึ่งความใหญ่โตของมันนี้สามารถที่จะครอบคลุมรัฐแอริโซนาได้ทั้งหมด โดยภูเขาไฟลูกนี้ถูกตั้งชื่อตามภูเขาไฟโอลิมปัส (Mt. Olympus) ซึ่งเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศกรีซ

ภูเขาไฟโอลิมปัสตั้งอยู่เหนือพื้นผิวดาวอังคารถึง 25 กิโลเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 624 กิโลเมตร ซึ่งสูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์ถึง 3 เท่า ภูเขาแห่งนี้ยังเป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ โดยมีปล่องภูเขาไฟบริเวณด้านบนยุบตัวลง เกิดเป็นแอ่งขนาดใหญ่เรียก แคลดีรา (caldera) อยู่ที่บนยอด

ภูเขาไฟโอลิมปัสมีรูปร่างเป็นภูเขาไฟรูปโล่ ซึ่งภูเขาไฟรูปโล่ถูกสร้างขึ้นโดยลาวาที่ไหลลงมาด้านข้างอย่างช้าๆ ส่งผลให้ภูเขามีลักษณะเตี้ยหมอบมีความลาดชันเฉลี่ยเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น การปะทุซึ่งอาจจะกินเวลานานหลายร้อยปีต่อครั้ง และลาวาที่ไหลตามมาได้สร้างสันเขาขึ้นรอบๆของภูเขาไฟ ซึ่งสูงถึง 10 กิโลเมตร เหนือพื้นที่โดยรอบ

รูปที่ 2. ภูเขาไฟโอลิมปัสเมื่อเทียบกับภูเขาเอเวอเรสต์ (อ้างอิง: Sprintally)

นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าครั้งสุดท้ายที่ลาวาของภูเขาไฟโอลิมปัส ปะทุบนพื้นผิวดาวอังคารคือระหว่าง 20 ถึง 200 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ไดโนเสาร์อยู่บนโลก โดยยังเป็นภูเขาไฟที่ค่อนข้างใหม่ แม้ว่าจะใช้เวลาหลายพันล้านปีในการก่อตัว แต่บางพื้นที่ของภูเขาอาจจะมีอายุเพียงไม่กี่ล้านปี ซึ่งค่อนข้างอายุน้อยในช่วงอายุของระบบสุริยะ ด้วยเหตุนี้ ภูเขาไฟโอลิมปัส อาจจะยังคงเป็นภูเขาไฟที่ยังปะทุอยู่และมีศักยภาพที่จะปะทุได้

ภูเขาไฟอาจจะเป็นที่ตั้งของธารน้ำแข็งหิน ซึ่งเป็นเศษหินที่แข็งเป็นน้ำแข็ง โดยหิมะและน้ำแข็งที่ทับถมเหนือฐานอาจจะส่งผลให้เกิดธารน้ำแข็งดังกล่าว โดยน้ำแข็งจะถูกปกคลุมด้วยฝุ่นบนพื้นผิวซึ่งอาจจะอยู่ใกล้ยอดภูเขาไฟ

ทำไมภูเขาไฟขนาดใหญ่ถึงก่อตัวบนดาวอังคารแต่ไม่ใช่บนโลก นักวิทยาศาสตร์คิดว่าเป็นเพราะแรงโน้มถ่วงพื้นผิวที่ต่ำของดาวอังคาร บวกกับอัตราการปะทุที่สูง ทำให้ลาวาบนดาวอังคารพอกพูนสูงขึ้น โดยการมีและไม่มีแผ่นเปลือกโลกอาจจะมีบทบาทสำคัญในภูเขาไฟประเภทต่างๆ จุดร้อน (Hot Spots) ของลาวาใต้เปลือกโลกยังคงอยู่ในตำแหน่งเดียวกันบนดาวเคราะห์ทั้งสองดวง อย่างไรก็ตาม บนโลกนั้นมีการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกจะป้องกันการสะสมตัวของลาวาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น หมู่เกาะฮาวายก่อตัวขึ้นเมื่อแผ่นเปลือกโลกลอยอยู่เหนือจุดร้อน การปะทุแต่ละครั้งทำให้เกิดเกาะเล็กๆ ในจุดที่ต่างกัน

แต่ดาวอังคารมีการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกที่จำกัดมาก ทั้งจุดร้อนและเปลือกโลกยังคงไม่เคลื่อนไหว เมื่อลาวาไหลขึ้นสู่พื้นผิว มันจะยังคงพอกพูนอยู่ในจุดเดียว ทำให้ภูเขาไฟขนาดใหญ่ก่อตัวขึ้น ในความเป็นจริง มีภูเขาไฟขนาดใหญ่อีก 3 ลูกใกล้กับภูเขาไฟโอลิมปัส ที่มีขนาดมหึมาใกล้เคียงกัน

รูปที่ 3. ภูเขาไฟโอลิมปัสและภูเขาไฟขนาดใหญ่อีก 3 ลูกใกล้กัน (อ้างอิง: Businessinsider)

นอกเหนือจากการไม่มีการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกดาวอังคารแล้ว จากอายุที่ยาวนานทำให้มันมีการขยายขนาดของภูเขาไฟโอลิมปัส แม้ว่าเราจะไม่มียานสำรวจสำรวจภูเขาในขณะนี้ แต่นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ก็สามารถสำรวจภูเขาไฟด้วยการศึกษาหินอุกกาบาตนาคไลต์ (Nakhlite) จำนวน 6 ก้อน จากดาวอังคารซึ่งเคยเป็นภูเขาไฟมาก่อน นักวิทยาศาสตร์จึงสามารถยืนยันอายุที่ยาวนานของภูเขาไฟบนดาวอังคารได้

เราพบว่าหินอุกกาบาตก่อตัวขึ้นจากการปะทุอย่างน้อย 4 ครั้ง ในช่วงเวลา 90 ล้านปี เบนจามิน โคเฮน (Benjamin Cohen) นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์แห่งมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ในสกอตแลนด์ กล่าวว่า นี่เป็นเวลานานมากสำหรับภูเขาไฟ และยาวนานกว่าระยะเวลาของภูเขาไฟบนโลก ซึ่งปกติแล้วจะปะทุอยู่ไม่กี่ล้านปีเท่านั้น โดยอุกกาบาตนั้นถูกพัดขึ้นสู่อวกาศและก้อนหินขนาดมหึมาพุ่งชนโลกเมื่อ 11 ล้านปีก่อน

อ้างอิง: Space, Businessinsider

One comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *