นี่คือภารกิจ “อาร์เทมิส 1″(Artemis I) ที่จะพามนุษย์กลับสู่ดวงจันทร์อีกครั้ง

หลังจากล่าช้ามาหลายเดือน จรวดอวกาศที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยสร้างมาก็ได้ถูกปล่อยออกจากฐานปล่อยจรวดในฟลอริดา ซึ่งเป็นการทดสอบครั้งแรกก่อนที่จะมีภารกิจส่งมนุษย์กลับสู่ดวงจันทร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1972

รูปที่ 1. ปล่อยจรวดในภารกิจอาร์เทมิส 1 (อ้างอิง: Iflscience)

นี่คือภารกิจอาร์เทมิส 1 (Artemis I) ได้ปล่อยจรวดขึ้นไปในอวกาศในวันนี้ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 เวลา 1:47 น. EST (เวลา 13.47 น. ในประเทศไทย) จากฐานปล่อยลันช์แพด 39B (Launch Pad 39B) ที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี (Kennedy Space Center) ในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา นี่เป็นการบินครั้งแรกของยานอวกาศโอไรออน (Orion Spacecraft) ของนาซ่าและจรวดสเปซลันช์ซิสเต็มส์หรือจรวด SLS (Space Launch System: SLS) ซึ่งเป็นจรวดที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยส่งขึ้นสู่วงโคจร แม้ว่าจะมีความตื่นเต้นในการก้าวข้ามสิ่งกีดขวางครั้งแรก แต่นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของภารกิจที่จะทดสอบความสามารถของยานในการส่งมนุษย์กลับสู่ดวงจันทร์อย่างปลอดภัย

ด้วยมูลค่าของโครงการกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ จรวด SLS มีแรงขับเทียบเท่ากับเครื่องบินไอพ่นขนาดจัมโบ้ 14 ลำ มีแรงขับเคลื่อนประมาณ 3.9 ล้านกิโลกรัม มันถูกสร้างขึ้นจากแกนกลางและจรวดสองอันที่เป็นของแข็ง หลังถูกเผาไหม้เป็นเวลาประมาณ 2 นาที ซึ่งจะนำจรวดผ่านช่วงที่มีแรงต้านในชั้นบรรยากาศมากที่สุด เมื่อถึงชั้นบรรยากาศชั้นบน ยานอวกาศโอไรออนจะถูกปล่อยทิ้งไว้ในขั้นตอนการขับดันด้วยความเย็นชั่วขณะ (Interim Cryogenic Propulsion Stage: ICPS) ซึ่งจะรับผิดชอบในการเคลื่อนที่ยานอวกาศเข้าไปในทรานส์ลูนาร์ (Trans-Lunar Injection) ซึ่งเป็นวงโคจรพิเศษที่จำเป็นในการโคจรรอบดวงจันทร์

นี่เป็นความพยายามครั้งที่ 4 ของนาซ่า ในการปล่อยจรวด โดยความพยายามสองครั้งแรกถูกขัดจังหวะเนื่องจากปัญหาทางเทคนิค รวมถึงการรั่วไหลของไฮโดรเจนและเซ็นเซอร์อุณหภูมิที่สงสัยว่าผิดพลาดภายใน ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์แกนกลางของจรวด การปล่อยจรวดครั้งที่ 3 ถูกยกเลิกเมื่อพายุเฮอริเคนเอียนพัดถล่มรัฐฟลอริดาเมื่อปลายเดือนกันยายน ทำให้นาซ่าต้องย้ายจรวดกลับไปเก็บยังโรงเก็บเครื่องบินที่ปลอดภัย โดยการเปิดตัวในสัปดาห์นี้ล่าช้าไป 2 วัน เนื่องจากพายุเฮอริเคนนิโคลที่มีความเร็วลม 161 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่จรวดยังคงอยู่บนแท่นปล่อยจรวดระหว่างเกิดพายุ แต่ได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อย

รูปที่ 2. วงโคจรยานอวกาศโอไรออนในภารกิจอาร์เทมิส 1 (อ้างอิง: Iflscience)

ในการเปิดตัวยังมีข้อติดขัดทางเทคนิคพอสมควร ทั้งจากการรั่วไหลของท่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ผิดพลาดซึ่งทำให้ระบบเรดาร์หลักขัดข้อง ทำให้วิศวกรต้องรีบแก้ไขปัญหาก่อนที่จะปล่อยยาน 2 ชั่วโมง ทำให้เกิดการล่าช้าไปกว่า 40 นาที ก่อนที่จะติดเครื่องยนต์ โชคดีที่ปัญหาทั้งสองเล็กน้อยและแก้ไขได้ทันท่วงที ตามที่นาซ่ากล่าว ยานอวกาศโอไรออนจะบินผ่านดวงจันทร์ 2 ครั้ง ที่ระดับความสูง 100 กิโลเมตร เหนือพื้นผิวดวงจันทร์ ที่ออกไปไกลถึง 64,000 กิโลเมตร เหนือดวงจันทร์ก่อนจะกลับสู่โลก

ยานอวกาศโอไรออนซึ่งเต็มไปด้วยอุปกรณ์ เช่น คิวบ์แซต (Cubesats) 10 ดวง ซึ่งเป็นดาวเทียมขนาดเล็ก มี 4 ดวงที่เจาะจงให้ศึกษาดวงจันทร์ โดยมี 1 ดวง ที่จะค้นหาน้ำแข็งบนพื้นผิวของดวงจันทร์ อีก 3 ดวง จะศึกษาสภาพอากาศในอวกาศและผลกระทบของรังสีต่อดีเอ็นเอ (DNA) ของยีสต์ มีอุปกรณ์สื่อสารและการทดลองจากสถาบันวิจัยจากหลายแห่ง โดยจะใช้เวลาบินในอวกาศเป็นเวลานาน 25 วัน 11 ชั่วโมง 36 นาที และจะใช้เวลา 6 วัน ในวงโคจรตรงกันข้ามรอบดวงจันทร์ (Retrograde Orbit) เป็นระยะทางกว่า 2.1 ล้านกิโลเมตร ไปและกลับจากดวงจันทร์เมื่อสิ้นสุดการเดินทางและยานอวกาศโอไรออนสามารถที่จะเดินทางได้ไกลกว่ายานอวกาศอื่นๆที่มนุษย์เคยออกแบบมา โดยไปไกลถึง 450,000 กิโลเมตร จากโลก และไกลออกไปถึง 64,000 กิโลเมตร จากด้านไกลของดวงจันทร์

โดยจะมีหุ่นจำลองสามตัวที่นาซ่าเก็บไว้บนยานอวกาศโอไรออน เพื่อจะใช้ทดสอบระดับรังสีและความร้อนระหว่างการบิน นอกจากนี้ยังมีของเล่นนุ่มสนูปี้ (Snoopy Soft Toy) โดยลอยไปรอบๆยานอวกาศเพื่อเป็นตัวบ่งชี้แรงโน้มถ่วงเป็นศูนย์ เมื่อยานอวกาศโอไรออนกลับมา มันจะมีอุณหภูมิที่ร้อนกว่าและเร็วกว่ายานอวกาศใดๆที่เคยมีมา โดยร้อนขึ้นถึง 2,800 องศาเซลเซียส ขณะที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกด้วยความเร็ว 32 เท่าของเสียง นี่จะเป็นการทดสอบเกราะป้องกันความร้อนระเหยของยานอวกาศ ซึ่งควบคู่ไปกับร่มชูชีพของยาน ที่จะใช้แรงเสียดทานของอากาศเพื่อทำให้ยานช้าลงเหลือเพียง 32.2 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หลังจากนั้นมันควรจะตกลงอย่างปลอดภัยและคาดว่าน่าจะกลับมายังโลกวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 2022 ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกชายฝั่งซานดิเอโก

ซึ่งภารกิจอาร์เทมิส 1 เป็นการทดสอบยานอวกาศเพื่อสามารถถึงขีดจำกัด เพื่อให้แน่ใจว่าพร้อมรองรับและความปลอดภัยของลูกเรือที่เป็นมนุษย์ในเวลา 2 ปี ในภารกิจอาร์เทมิส 2 (Artemis II) ซึ่งเปิดตัวในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2024 ซึ่งจะเป็นการได้เห็นมนุษย์กลับสู่ดวงจันทร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่โครงการอพอลโล 17 (Apollo 17) ในปี ค.ศ. 1972 โดยทีมอาร์เทมิสจะประกอบด้วยนักบินอวกาศ 4 คน ซึ่งจะบินรอบดวงจันทร์นานถึง 21 วัน เพื่อทดสอบยานอวกาศต่อไป โดยหนึ่งในสี่นักบินอวกาศจะเป็นชาวแคนาดาและส่วนที่เหลือได้รับการยืนยันว่าเป็นชาวอเมริกัน

ซึ่งหลังจากภารกิจอาร์เทมิส 2 จะเป็นภารกิจอาร์เทมิส 3 (Artemis III) ซึ่งเราจะได้เห็นผู้หญิงคนแรกและคนผิวสีคนแรกที่ขึ้นไปเหยียบบนพื้นผิวดวงจันทร์ การเปิดตัวภารกิจอาร์เทมิส 3 คาดว่าจะเปิดตัวในปลายปี 2025 แต่มีแนวโน้มว่าจะเลื่อนออกไปอีกในปี 2026 การกลับมาสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับการทดสอบที่ประสบความสำเร็จของภารกิจอาร์เทมิส 1 และ 2 แต่ยังขึ้นอยู่กับการผลิตเทคโนโลยีสำคัญๆ เช่น ชุดอวกาศใหม่และยานอวกาศของสเปซเอกซ์ (SpaceX) ซึ่งจะใช้เป็นยานลงจอดบนดวงจันทร์ โดยตั้งใจว่าวันหนึ่งเราจะสามารถสร้างฐานบนดวงจันทร์และขนส่งมนุษย์กลุ่มแรกไปยังดาวอังคารได้ในอนาคต

อ้างอิง: Iflscience, Livescience

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *