นี่คือเมือง “อุตเกียวิก”(Utqiaġvik) ที่พระอาทิตย์จะไม่ขึ้นเป็นเวลา 65 วัน

ในประเทศไทยเราคงได้เห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและตกในทุกๆวัน และหลายคนคงเคยได้ยินเรื่องเกี่ยวกับประเทศหรือบางเมืองที่มีช่วงเดือนที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกในช่วงเวลาๆหนึ่ง แต่นี่คือเมืองที่พระอาทิตย์จะไม่ขึ้นเป็นเดือน

รูปที่ 1. เมืองอุตเกียวิกอยู่ในพื้นที่ของวงกลมอาร์กติก (อ้างอิง: Weather)

นี่คือเมืองอุตเกียวิก (Utqiaġvik) หรือที่รู้จักกันในชื่อบาร์โรว์ (Barrow) ที่อยู่ทางตอนเหนือสุดในอลาสก้า (Alaska) ของสหรัฐอเมริกา ที่พระอาทิตย์จะไม่ขึ้นทั้งวัน (Sun down all day) เป็นเวลาติดต่อกันนานถึง 65 วัน อย่างในปี ค.ศ. 2019 ชาวเมืองได้ชมพระอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าเป็นครั้งสุดท้ายของปีในวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 ที่พระอาทิตย์ตกเวลา 13:47 น. ตามเวลาท้องถิ่น ที่ถือว่าเป็นการเริ่มต้นกลางคืนขั้วโลกเหนือ (Polar Night) ที่จะมืดมิดติดต่อกันจนถึงวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2020 ที่พระอาทิตย์ขึ้นเวลา 13:09 น.

เมืองอุตเกียวิกอยู่ในพื้นที่ของวงกลมอาร์กติก (Arctic Circle) คือบริเวณละติจูดที่อยู่เหนือที่สุดบนแผนที่โลก ที่จะมีช่วงเวลาพลบค่ำหรือโพล้เพล้ (Civil Twilight) คือจุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ต่ำกว่าขอบฟ้าประมาณ 6 องศา ซึ่งทำให้มีแสงเพียงพอต่อการมองเห็นวัตถุภายนอก ซึ่งอยู่ในเขตที่รับแสงตลอดวันประมาณ 6 ชั่วโมง จากจุดเริ่มต้นขั้วโลกและจุดสิ้นสุด แต่หดตัวลงเหลือเวลาที่มีแสงประมาณ 3 ชั่วโมง จากใจกลางคืนขั้วโลกในช่วงก่อนวันคริสต์มาส

รูปที่ 2. ช่วงเวลารับแสงในแต่ละเขตพื้นที่ในช่วงฤดูหนาว (อ้างอิง: Baynews9)

ซึ่งในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวของซีกโลกเหนือ แสงอาทิตย์ที่ส่องตรงที่ผ่านพื้นที่ระหว่างเส้นศูนย์สูตรกับเขตทรอปิกออฟแคปริคอร์น เนื่องจากซีกโลกเหนือเอียงออกจากดวงอาทิตย์ในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวที่ทำให้โลกเอียงประมาณ 23.5 องศาของขั้วโลกเหนือ ทำให้พื้นที่ภายในทางเหนือของวงกลมอาร์กติก พบกับปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ไม่เคยโผล่พ้นขอบฟ้าเป็นเวลามากกว่า 2 เดือน

ทำให้เกิดสิ่งที่ตรงกันข้ามเกิดขึ้นตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนสิงหาคมเช่นกัน นั่นคือทำให้ดวงอาทิตย์ขึ้นตั้งแต่ 10 พฤษภาคม และจะไม่ตกจนถึงวันที่ 1 สิงหาคม ในเมืองอุตเกียวิก ซึ่งในปี ค.ศ. 2019 เป็นปีที่อบอุ่นเป็นประวัติการณ์จากการบันทึกสภาพอากาศและอุณหภูมิของอลาสก้าตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 เป็นปีที่ร้อนที่สุดจนถึงปัจจุบันในเมืองอุตเกียวิก ซึ่งร้อนกว่าช่วงเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับ 3 ปีที่ผ่านมา ที่มากถึง 2 องศาฟาเรนไฮต์ (F) ทำให้มีความร้อนสะสมจนถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 ทำให้เมืองอุตเกียวิกมีอากาศอบอุ่นกว่าค่าเฉลี่ยถึง 147 วัน ติดต่อกันจากข้อมูลของบริการสภาพอากาศแห่งชาติ (National Weather Service) ในแฟร์แบงค์ (Fairbanks) ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศอบอุ่นหรือเย็นเป็นพิเศษ ซึ่งวันที่อากาศเย็นกว่าปกติครั้งสุดท้ายคือวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 2019

อุณหภูมิที่สูงสุดที่เมืองอุตเกียวิกที่เคยบันทึกไว้คือในเดือนมีนาคมช่วงยุค 70 ที่มีอุณหภูมิสูงถึง 22 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ในเดือนกรกฎาคมและกันยายน โดยจะมีอุณหภูมิถึงจุดเยือกแข็งในช่วงปลายวันทหารผ่านศึก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิที่เป็นตัวเลขหลักเดียว ซึ่งในอลาสก้าส่วนใหญ่จะมีช่วงเวลาที่อบอุ่นรองลงมาในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม ตามรายงานของ NOAA

รูปที่ 3. แสดงแผนที่ปริมาณน้ำแข็งที่ปกคลุมในปี ค.ศ. 2015-2019 (อ้างอิง: Weather)

โดยเหตุผลเกิดจากการที่มีจำนวนปริมาณของน้ำแข็งในทะเลลดลงทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น เนื่องจากได้รับพลังงานของดวงอาทิตย์ที่ถูกดูดซับโดยมหาสมุทรมากกว่าที่จะสะท้อนจากที่น้ำแข็งปกคลุม นั่นทำให้อากาศที่อยู่เหนือน้ำทะเลอุ่นขึ้น ในช่วงหลายวันที่ผ่านมา น้ำแข็งในทะเลก็เริ่มก่อตัวใกล้กับชายฝั่งเนินเหนือ (North Slope) จากเมืองอุตเกียวิกไปทางทิศตะวันตก อย่างไรก็ตาม พื้นที่กว้างใหญ่ของทะเลชุกชี (Chukchi Sea) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอุตเกียวิกยังคงปราศจากน้ำแข็ง ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 ซึ่งเป็นระดับน้ำแข็งต่ำสุดในรอบ 40 ปี ของสถิติในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน

สำหรับปีที่ผ่านมาวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021 ที่พระอาทิตย์ตกเวลา 13:34 น. จะมืดมิดติดต่อกันจนถึงวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2022 ที่พระอาทิตย์ขึ้นเวลา 13:24 น. และสำหรับในปีนี้จะเห็นพระอาทิตย์ครั้งสุดท้ายของปีในวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 ที่พระอาทิตย์ตกเวลา 13:41 น. จะมืดมิดติดต่อกันจนถึงวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2022 ที่พระอาทิตย์ขึ้นเวลา 13:03 น.

อ้างอิง: Weather, Baynews9, Sunrisesunset

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *