นี่คือรูปร่างของ “เท้า”(นกกระจอกเทศ) ในชนเผ่าวาโดมา

บนโลกเรานั้นมีความความแตกต่างทางพันธุกรรมมากมายที่กระจายอยู่ทั่วไปบนโลก แต่นี่คืออาการผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นในชนเผ่าแห่งหนึ่งที่มีลักษณะรูปร่างของเท้าที่แปลกและแตกต่างจากคนทั่วไป

รูปที่ 1. ชนเผ่าวาโดมา (อ้างอิง: Medium)

นี่คือชนเผ่าวาโดมา (Vadoma) ที่มีอาการผิดปกติทางพันธุกรรมที่เรียกว่า โรคเท้านกกระจอกเทศ (Ostrich Foot Syndrome) ซึ่งเรียกกันในทางวิทยาศาสตร์ว่า เอ็กโตรแด็กทิลี (Ectrodactyly) เป็นภาวะทางพันธุกรรมที่ส่งผลกระทบต่อประชากรส่วนน้อยอย่างมาก หรือที่รู้จักในชื่อ กลุ่มอาการกุ้งก้ามกราม (Lobster Claw Syndrome) หรือสองนิ้ว เป็นความผิดปกติของโครงกระดูกของมือหรือเท้า ภาวะนี้มักเกิดจากพันธุกรรมตั้งแต่แรกเกิดในผู้ที่ได้รับผลกระทบ ชนเผ่าวาโดมาอาศัยอยู่ในภูมิภาคคาเยมบา (Kayemba) ทางตอนเหนือของซิมบับเว (Zimbabwe) ซึ่งโรคเท้านกกระจอกเทศเป็นอาการผิดปกติที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น

ชนเผ่าวาโดมาใช้ชีวิตสังคมแบบโดดเดี่ยว ผู้คนจำนวนมากแทบจะไม่สามารถสวมรองเท้าได้เนื่องจากรูปร่างของนิ้วเท้า พวกเขามีนิ้วเท้าใหญ่สองนิ้ว อย่างไรก็ตาม จากการมีคุณลักษณะรูปร่างเท้าสองนิ้วนั้นทำให้ผู้คนยังสามารถปีนต้นไม้ได้ แต่พวกเขามักจะมีปัญหาเพียงเล็กน้อยในขณะวิ่ง

รูปที่ 2. ชนเผ่าวาโดมาบริเวณเท้าและรูปเท้าเอกซเรย์ (อ้างอิง: Face2faceafrica, Africanexplorermagazine)

อย่างไรก็ตาม พวกเขามีความภูมิใจในตัวเองมากและเชื่อว่าพวกเขาเหนือกว่าชนเผ่าอื่นๆ พวกเขาเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องลักษณะเฉพาะทางกายภาพและส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าเร่ร่อนที่ประกอบอาชีพล่าสัตว์ ตกปลา และเก็บผลไม้ แต่เนื่องจากการปราบปรามการลักลอบล่าสัตว์และการคุกคามต่างๆโดยเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ทำให้ชนเผ่าวาโดมาจะต้องละทิ้งวิถีชีวิตของนักล่า โดยรวบรวมสัตว์และย้ายไปยังที่ราบลุ่ม

ต้นกำเนิดของชนเผ่าวาโดมา ตามตำนานของบรรพบุรุษของพวกเขาโผล่ออกมาจากต้นเบาบับ ผู้เฒ่าในชนเผ่าวาโดมาเชื่อว่าบรรพบุรุษของพวกเขาเป็นเหมือนนกที่ปรากฏตัวขึ้นในชั้นบรรยากาศและตั้งรกรากอยู่ท่ามกลางมนุษย์ ตามที่พวกเขากล่าว ส่วนผสมของดีเอ็นเอ (DNA) ของบรรพบุรุษที่เหมือนนกของพวกเขาและของผู้คนบนโลกคือสิ่งที่นำไปสู่การดำรงอยู่ของพวกเขา ดังนั้นอาการผิดปกตินั้นได้ส่งผ่านไปยังลูกหลานของตนเอง พวกเขายังอ้างว่าบรรพบุรุษของพวกเขามาจากดาวดวงอื่นซึ่งพวกเขาเรียกว่าลิโตลาฟิซิ (Liitolafisi)

สาเหตุที่อาการผิดปกตินี้ไม่แพร่หลายไปยังชนเผ่าอื่นๆเนื่องจาก มีการห้ามไม่ให้ชนเผ่าวาโดมาแต่งงานกับคนนอกเผ่า ซึ่งกฎของชนเผ่านี้ถูกนำมาใช้เพื่อไม่ให้ชนเผ่าอื่นมีลักษณะของร่างกายมีสองนิ้ว เนื่องจากการแยกตัวของชนเผ่านี้ พวกเขายังคงรักษาคุณลักษณะเฉพาะของตนไว้ภายในชนเผ่า สิ่งนี้อาจจะอธิบายได้ว่าทำไมโรคเท้านกกระจอกเทศจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้งกับลูกหลานของพวกเขา ซึ่งพวกเขาไม่ได้มองว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของความพิการ

ในทางวิทยาศาสตร์ว่าลักษณะร่างกายของชนเผ่าวาโดมาเป็นผลมาจากการกลายพันธุ์ของโครโมโซมหมายเลข 7 บางคนยืนยันว่าความผิดปกติของแขนขาล่างหรือบนนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับชนเผ่าวาโดมาเท่านั้น แต่ยังสามารถพบได้บ่อยกว่าที่เรารู้ ดังนั้นจึงสามารถพบเห็นคนจำนวนมากนอกชนเผ่าวาโดมาที่มีลักษณะทางกายภาพที่เป็นเอกลักษณ์นี้ โดยวิทยาศาสตร์รายวันออนไลน์ (Science Daily Online) ได้รายงานว่า 1 ใน 90,000 คน สามารถเห็นข้อบกพร่องนี้ได้

อ้างอิง: Medium

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *