นี่คือพายุฝุ่นบนดาวเคราะห์ยักษ์ซึ่งมีขนาดเกือบ 20 เท่าของดาวพฤหัสบดี

เมื่อใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ นักวิทยาศาสตร์สังเกตเห็นพายุฝุ่นขนาดใหญ่ในชั้นบรรยากาศของ ดาว VHS 1256 b ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่อยู่ห่างจากโลก 40 ปีแสง

รูปที่ 1. ดาว VHS 1256 b (อ้างอิง: Livescience)

นี่คือดาวเคราะห์ซูเปอร์จูปิเตอร์ (Super Jupiter) ซึ่งเป็นดาวก๊าซยักษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดี เป็นที่รู้จักในชื่อดาว VHS 1256 b โดยอยู่ห่างออกไป 40 ปีแสง และโคจรรอบดาวฤกษ์ทั้งสองดวงที่อยู่ห่างไกลกันจนต้องใช้เวลาถึง 10,000 ปีในการโคจรครบหนึ่งรอบ นักวิทยาศาสตร์ใช้เครื่องตรวจจับอันทรงพลังของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ (JWST) ซึ่งพบว่ามีพายุฝุ่นทรายพัดโหมกระหน่ำบนดาวเคราะห์มีขนาดใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดีถึง 20 เท่า ไม่เพียงสังเกตเมฆพายุทรายเท่านั้น แต่ยังสังเกตน้ำ มีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของดาวด้วย ซึ่งได้ถูกตีพิมพ์เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 2023 ในจดหมายวารสารดาราศาสตร์ฟิสิกส์ (The Astrophysical Journal Letters)

เนื่องจากดาวเคราะห์นอกระบบอยู่ห่างจากดาวฤกษ์แม่มาก แสงของดาวจึงไม่บดบังดาวเคราะห์ ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงสามารถสังเกตดาวเคราะห์ได้โดยตรง สำหรับการสังเกตการณ์ดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรเข้าใกล้ดาวฤกษ์ของพวกมัน นักวิทยาศาสตร์ต้องศึกษาแสงที่ดาวฤกษ์แม่ที่ส่องผ่านชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบ แทนที่จะศึกษาดาวเคราะห์โดยตรง ดาว VHS 1256 b อยู่ห่างจากดาวฤกษ์มากกว่า 4 เท่าของของระยะห่างระหว่างดาวพลูโตกับดวงอาทิตย์ของเรา ซึ่งทำให้มันเป็นเป้าหมายที่ดีสำหรับเว็บบ์ บริตทานี ไมล์ส (Brittany Miles) นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยแอริโซนาและผู้เขียนนำของ กล่าวว่า นั่นหมายความว่าแสงของดาวเคราะห์ไม่ได้ผสมกับแสงจากดาวฤกษ์

เมฆพายุที่กล้องโทรทรรศน์เจมส์เวบบ์สังเกตนั้น เกิดจากอนุภาคซิลิเกตขนาดเล็กที่เล็กกว่าเม็ดทรายด้วยซ้ำ อนุภาคซิลิเกตเหล่านี้อาจจะเหมือนอนุภาคเล็กๆในควัน เบธ บิลเลอร์ (Beth Biller) นักดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเอดินบะระในสหราชอาณาจักรกล่าว อนุภาคขนาดใหญ่ในชั้นบรรยากาศของดาวอาจจะเหมือนเม็ดทรายเล็กๆได้ โดยเมฆยังร้อนอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นั้นพุ่งสูงขึ้นถึง 830 องศาเซลเซียส นักวิจัยกล่าวว่าพายุฝุ่นจะไม่คงอยู่ตลอดไป ดาว VHS 1256 b เป็นดาวเคราะห์ที่มีอายุค่อนข้างน้อย อายุเพียง 150 ล้านปี ซึ่งหมายความว่ามันจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่มากขึ้น เนื่องจากมันอยู่ไกลจากดาวฤกษ์แม่ ดาว VHS 1256 จะเย็นลงและบรรยากาศที่ปั่นป่วนอาจจะชัดเจนขึ้น ตามที่นักวิจัยกล่าว

รูปที่ 2. กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ (อ้างอิง: BBC)

ทีมงานได้สังเกตบรรยากาศที่ปั่นป่วนของดาวเคราะห์โดยใช้ชุดกล้องอินฟราเรดของกล้องโทรทรรศน์เจมส์เวบบ์ ซึ่งรวมถึงสเปกโตรกราฟอินฟราเรดระยะใกล้ (Near-Infrared Spectrograph) และเครื่องมืออินฟราเรดระยะกลาง (Mid-Infrared Instrument) สเปกตรัมแสงอินฟราเรดช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถวัดแสงที่ปล่อยออกมาจากดาวเคราะห์ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น โดยปราศจากการรบกวนจากแสงที่มองเห็นจากดาวฤกษ์แม่ ตอนนี้เราระบุว่าเป็นซิลิเกตได้แล้ว แต่การทำความเข้าใจว่าขนาดและรูปร่างตรงกับเมฆประเภทใดนั้นจำเป็นต้องใช้งานเพิ่มเติมอีกมาก

อ้างอิง: Livescience

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *