นี่คือภาพถ่ายไทม์แลปส์ “จุดมืด”(ดวงอาทิตย์) ที่เกิดสูงสุดในรอบ 8 ปี

ภาพไทม์แลปส์ใหม่แสดงกลุ่มจุดมืดบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) ที่สำคัญ 2 กลุ่ม ที่เคลื่อนผ่านพื้นผิวของดวงอาทิตย์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2022 ซึ่งเป็นช่วงที่จำนวนจุดมืดที่เกิดบนดวงอาทิตย์พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในรอบ 8 ปี

รูปที่ 1. ภาพไทม์แลปส์ของกลุ่มจุดมืดบนดวงอาทิตย์หลักสองกลุ่มที่เคลื่อนผ่านพื้นผิวของดวงอาทิตย์ระหว่างวันที่ 2-27 ธันวาคม ค.ศ. 2022 (อ้างอิง: Livescience)

นี่คือภาพถ่ายไทม์แลปส์ใหม่อันน่าทึ่งแสดงให้เห็นจุดมืดบนดวงอาทิตย์ที่เปลี่ยนรูปร่างได้สองแถบซึ่งเคลื่อนผ่านพื้นผิวดวงอาทิตย์ขณะที่หมุนรอบศูนย์กลางระบบสุริยะ ซึ่งเป็นการบ่งบอกว่าแสงของดวงอาทิตย์กำลังจะเพิ่มขึ้นไปอีกขั้น

เชนอล ชานลิ (Şenol Şanlı) ช่างภาพดาราศาสตร์ในเมืองบูร์ซา (Bursa) ประเทศตุรกี ได้สร้างภาพใหม่โดยใช้ข้อมูลจากหอดูดาวโซลาร์ไดนามิกส์ (Solar Dynamics Observatory) ของนาซ่า ซึ่งเชนอลแชร์บนบัญชีอินสตาแกรม ของเขาเมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 2023 ที่เป็นภาพประกอบด้วยภาพถ่ายเดี่ยวที่ถ่ายระหว่างวันที่ 2-27 ธันวาคม ค.ศ. 2022 โดยจะมีกลุ่มจุดมืด 2 กลุ่ม ที่กำลังพัฒนาที่มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ ซึ่งกลุ่ม A3176 ซึ่งอยู่ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ และกลุ่ม A3153 ในซีกโลกใต้ของดวงอาทิตย์ ซึ่งทั้งสองเคลื่อนจากตะวันออกไปตะวันตกในภาพคือจากขวาไปซ้าย เชนอลได้ลบจุดดับบนดวงอาทิตย์ที่มองเห็นได้อื่นๆบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ออกจากช่วงเวลานี้ ทำให้ผู้สังเกตการณ์สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงในแต่ละนาทีในกลุ่มจุดดับบนดวงอาทิตย์เมื่อเวลาผ่านไป

รูปที่ 2. ภาพขยายไทม์แลปส์ของกลุ่มจุดมืดบนดวงอาทิตย์หลักสองกลุ่มที่เคลื่อนผ่านพื้นผิวของดวงอาทิตย์ระหว่างวันที่ 2-27 ธันวาคม ค.ศ. 2022 (อ้างอิง: Livescience)

จุดดับบนดวงอาทิตย์นั้นมีพื้นที่ขนาดเท่าดาวเคราะห์ที่เรียกว่า โฟโตสเฟียร์ (Photosphere) ที่เป็นชั้นบรรรยากาศของดวงอาทิตย์ที่อยู่ล่างที่สุด ซึ่งมีสนามแม่เหล็กเพิ่มขึ้น ทำให้จุดด่างดำไม่ได้เป็นสีดำ พวกมันดูมืดกว่าโฟโตสเฟียร์ที่เหลือเพราะพวกมันเย็นกว่าสภาพแวดล้อมโดยรวมมาก นักวิทยาศาสตร์ติดตามบริเวณที่มีแม่เหล็กแรงสูงเหล่านี้ เพราะพวกมันสามารถคายเปลวสุริยะที่อาจจะก่อกวนและการพุ่งออกมาของมวลโคโรนา (Coronal Mass Ejections: CMEs)

ในช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2022 มีการตรวจพบจุดมืดบนดวงอาทิตย์มากกว่า 113 จุด บนพื้นผิวดวงอาทิตย์ ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 2014 ตามข้อมูลของศูนย์พยากรณ์อากาศอวกาศและมหาสมุทรแห่งชาติ (National Oceanic and Atmospheric Administration’s Space Weather Prediction Center) โดยจำนวนยอดรวมนี้เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงที่เหลือของปี ค.ศ. 2022 ซึ่งมีจุดดับเฉลี่ย 73.3 จุด ในแต่ละเดือนก่อนเดือนธันวาคม

จุดดับบนดวงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการที่ดวงอาทิตย์เข้าสู่ช่วงที่มีการเคลื่อนไหวมากขึ้นของวัฏจักรสุริยะรอบ 11 ปี ซึ่งจะมีจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 2025 โดยในปี ค.ศ. 2022 นักวิทยาศาสตร์วัดความถี่และความแรงของพายุสุริยะที่เพิ่มขึ้นและในปี ค.ศ. 2023 มีแนวโน้มว่าจะเท่ากัน แต่จำนวนจุดมืดบนดวงอาทิตย์ยังคงสูงหรือเพิ่มขึ้นอีกหากมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น

พายุสุริยะครั้งใหญ่หลายลูกได้ปะทุขึ้นแล้วในปีนี้ เมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ 2023 เปลวสุริยะระดับเอกซ์ (X-class) ที่น่าสงสัยว่าเป็นแสงจ้าประเภทที่ทรงพลังที่สุดที่ดวงอาทิตย์สามารถผลิตได้ เกิดการระเบิดที่ด้านไกลของดวงอาทิตย์ ซึ่งเพียง 3 วันต่อมา ดวงอาทิตย์ก็พ่นแสงจ้าระดับเอกซ์ ที่ได้รับการยืนยันจากจุดมืดบนดวงอาทิตย์เดียวกัน และเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 2023 สนามแม่เหล็กโลกถูกกระแทกโดยมวลโคโรนาที่อาจจะก่อกวนในขณะที่ดาวเคราะห์เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดหรือที่เรียกว่าจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด

อ้างอิง: Livescience

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *