ดาวฤกษ์ที่กำลังเกิด “ซูเปอร์โนวา” โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ (James Webb Space Telescope: JWST) ของนาซ่า ได้ถ่ายภาพของ WR 124 ซึ่งเป็นดาววูล์ฟราเยท์  (Wolf-Rayet: WR) ที่หายาก ซึ่งมีขนาด 30 เท่าของดวงอาทิตย์ของเรา ที่ขับเมฆฝุ่นคอสมิก (Cosmic Dust) ที่ส่องสว่างออกมา

รูปที่ 1. กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์จับภาพดาววูล์ฟเมย์ต WR124 ท่ามกลางกลุ่มเมฆฝุ่นคอสมิกก่อนที่มันจะกลายเป็นซูเปอร์โนวา (อ้างอิง: Livescience)

นี่คือภาพดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่กำลังจะเกิดซูเปอร์โนวา (Supernova) ที่เป็นการระเบิดครั้งใหญ่ที่ถูกถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ ซึ่งนาซ่าได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2023 แสดงให้เห็นดาว WR 124 อยู่กลางเมฆฝุ่นจักรวาลที่งดงาม ขณะที่เกิดซูเปอร์โนวา ดาวฤกษ์ซึ่งมีมวลประมาณ 30 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ที่กำลังถูกขับชั้นนอกออก จนถึงตอนนี้ มันได้ขับมวลสารมากกว่า 10 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ออกมาแล้ว นี่เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ค่อยเห็นในวัฏจักรชีวิตของดาวบางดวงที่เรียกว่าระยะวูล์ฟราเยท์  (Wolf-Rayet: WR)

ดาวมวลมากได้ผ่านวัฏจักรชีวิตของมัน และมีเพียงบางดวงเท่านั้นที่ผ่านระยะวูล์ฟราเยท์สั้นๆ ก่อนที่จะเกิดซูเปอร์โนวา ทำให้การสังเกตโดยละเอียดของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์เกี่ยวกับระยะที่หายากนี้มีค่าสำหรับนักดาราศาสตร์

รูปที่ 2. กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลจับภาพดาววูล์ฟเมย์ต WR124 (อ้างอิง: NASA)

ดาวฤกษ์ขนาดมหึมาดวงนี้อยู่ห่างออกไป 15,000 ปีแสง ในกลุ่มดาวราศีธนู (Constellation Sagitta) โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ได้ถ่ายภาพ WR 124 เป็นครั้งแรก ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2022 หลังจากเริ่มใช้งาน รัศมีการส่องสว่างของดาวถูกบันทึกในรายละเอียดที่ไม่เคยมีมาก่อน เนื่องจากความสามารถของกล้องโทรทรรศน์ในการตรวจจับการเรืองแสงอินฟราเรดของก๊าซขณะที่มันเย็นลงจนเกิดเป็นฝุ่นคอสมิก

เมฆฝุ่นสามารถอยู่รอดได้จากการยุบตัวของซุปเปอร์โนวาของดาวฤกษ์และมีส่วนช่วยเป็นวัตถุดิบของจักรวาล นาซ่ากล่าว ฝุ่นเป็นส่วนสำคัญในการทำงานของจักรวาล โดยมันเป็นที่กำบังจากดาวฤกษ์ในการก่อตัวรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ และทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับโมเลกุลในการก่อตัวและเกาะกลุ่มกัน ซึ่งรวมถึงองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตบนโลก ปัจจุบันจักรวาลมีฝุ่นมากเกินกว่าที่นักดาราศาสตร์จะอธิบายได้ จักรวาลกำลังดำเนินการด้วยส่วนเกินของฝุ่นเหล่านี้ แต่การสังเกตของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ สามารถชี้ให้เห็นถึงต้นกำเนิดลึกลับของฝุ่นทั้งหมดนี้ได้

ก่อนหน้าที่จะมีกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ นักดาราศาสตร์ไม่มีข้อมูลโดยละเอียดเพียงพอที่จะสำรวจคำถามเกี่ยวกับการเกิดฝุ่นในสภาพแวดล้อมเช่น WR 124 และไม่ว่าเม็ดฝุ่นจะมีขนาดใหญ่และอุดมสมบูรณ์เพียงพอที่จะอยู่รอดจากซูเปอร์โนวาหรือไม่ และกลายเป็นส่วนสำคัญต่อวัตถุดิบโดยรวม แต่ตอนนี้คำถามเหล่านั้นสามารถตรวจสอบได้ด้วยข้อมูลจริง

รูปที่ 3. กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ (อ้างอิง: Livescience)

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2022 นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบระบบเตือนภัยล่วงหน้าเพื่อเฝ้าดูการระเบิดของซุปเปอร์โนวาเมื่อมันเกิดขึ้น ดังที่เห็นในภาพของ WR 124 โดยฝุ่นหนาแน่นรอบดาวฤกษ์ก่อตัวขึ้นรอบดาวฤกษ์ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาก่อนที่พวกมันจะระเบิด จากเหตุการณ์ซุปเปอร์โนวา สิ่งที่เหลืออยู่ของดาวฤกษ์คือแกนกลางที่หนาแน่นซึ่งสามารถกลายเป็นดาวนิวตรอนได้ นอกจากนี้ เมื่อปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบดาวนิวตรอนที่ตายแล้วบนเส้นทางการชนกับดาวมวลมาก ซึ่งพวกเขาคิดว่าถึงวาระที่จะระเบิดเป็นกิโลโนวา (Kilonova) ที่ลุกเป็นไฟ ซึ่งเป็นการระเบิดที่เกิดจากซากของดาวฤกษ์สองดวงที่วิ่งเข้าหากัน

อ้างอิง: Livescience

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *