นี่คือ “ปู”(แดง) ที่มีจำนวนหลายล้านตัวบนเกาะคริสต์มาส

บนโลกเรานั้นมีเกาะต่างๆมากมาย ซึ่งแต่ละเกาะก็มักจะมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นแตกต่างกันไป นี่คือเกาะคริสต์มาส (Christmas Island) ในประเทศออสเตรเลีย ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างไม่น่าเชื่อและได้รับการคุ้มครองในฐานะอุทยานแห่งชาติ แม้ว่าเกาะคริสต์มาสจะมีพื้นที่ชุ่มน้ำ ป่าฝน และระบบนิเวศทางทะเลที่มีสิ่งมีชีวิตที่น่าทึ่งมากมาย แต่ก็มีสายพันธุ์หนึ่งที่ขโมยความสนใจในแต่ละปี

รูปที่ 1. ปูแดง (Red Crab) (อ้างอิง: Ourmarinespecies)

นี่คือปูแดง (Red Crab) ที่มีจำนวนหลายล้านตัวบนเกาะคริสต์มาสแห่งนี้ ในปี ค.ศ. 1643 เมื่อนักสำรวจชาวอังกฤษเดินเรือแล่นผ่านไปพบเกาะนี้ในวันคริสต์มาสซึ่งนั่นเป็นที่มาของชื่อเกาะนี้ ดร.ทันย่า เดตโต (Dr.Tanya Detto) ผู้ประสานงานโครงการขยายพันธุ์สัตว์รุกรานอุทยานแห่งชาติเกาะคริสต์มาส กล่าวว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา จำนวนประชากรปูแดงค่อนข้างคงที่อยู่ที่ประมาณ 40 ถึง 50 ล้านตัว แต่จากการสำรวจในปี ค.ศ. 2022 มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก

ลักษณะเฉพาะทางกายภาพของปูแดงคือมีสีแดงสดเป็นสีทั่วไป แต่มีสีส้มหรือสีม่วงบ้าง พวกมันเป็นปูที่มีขนาดตัวใหญ่ เปลือกของตัวเต็มวัยอาจจะวัดได้กว้างถึง 116 มิลลิเมตร กระดองปูแดงเป็นแบบกลมและปิดปอดและเหงือกของพวกมัน กล้ามปูของพวกเขามักจะมีขนาดเท่ากันเว้นแต่จะเป็นกล้ามปูที่งอกใหม่ ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ในขณะที่ตัวเมียมักจะมีหน้าท้องที่กว้างกว่ามากและมักจะมีกล้ามปูที่เล็กกว่าตัวผู้ ปูแดงเมื่อโตเต็มวัยจะใช้เวลาประมาณ 4-5 ปี โดยมีความกว้างกระดองประมาณ 40 มิลลิเมตร จากการประมาณการของเราชี้ให้เห็นว่าจำนวนปูแดงบนบกเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่า หรือประมาณ 190 ล้านตัว ดร.ทันย่ากล่าว ซึ่งมีประมาณ 120 ล้านตัว ที่ยังไม่โตเต็มวัยพร้อมที่จะผสมพันธุ์

รูปที่ 2. สะพานที่ให้ปูแดงข้ามถนน ลูกปูแดงและมดน้ำผึ้ง (อ้างอิง: 9news, Ourmarinespecies)

แต่ไม่ใช่ว่าปูแดงเหล่านี้จะไม่มีศัตรู ในปี ค.ศ. 1990 มดน้ำผึ้ง (Yellow Crazy Ants) ได้มาถึงเกาะนอกชายฝั่งออสเตรเลียตะวันตก ตั้งแต่นั้นมา พวกมันได้คร่าชีวิตปูแดงไปหลายล้านตัว โดยที่พวกมันจะพ่นกรดเข้าไปในตาของปูแดงเพื่อทำให้พวกมันตาบอด จากนั้นจึงฉีดกรดที่ข้อต่อของปูเพื่อทำให้พวกมันเคลื่อนไหวไม่ได้

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยลาโทรบ (La Trobe University) ร่วมมือกับอุทยานแห่งชาติเกาะคริสต์มาสเพื่อกำจัดมดน้ำผึ้ง ดร.ทันย่ากล่าวว่า ดูเหมือนว่ามาตรการควบคุมที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ได้ช่วยประชากรของปูแดง ทำให้ลูกๆของพวกมันมีชีวิตรอดและกลับมาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้ แต่ดร.ทันย่ากล่าวว่า สาเหตุหลักที่ทำให้ประชากรของปูแดงเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า ใน 6 ปี นั้นเป็นเพราะการอพยพของปูแดงประจำปีมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ในทุกๆปีปูแดงหลายล้านตัวจะโผล่ออกมาจากป่าของเกาะคริสต์มาสและเดินทางไปยังมหาสมุทรเพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ โดยการอพยพจะเริ่มต้นในเดือนพฤศจิกายนหลังจากฝนตกครั้งแรกในฤดูฝน ดร.ทันย่าได้ทำการวิจัยและอยู่บนเกาะแห่งนี้มาเป็นเวลานานถึง 11 ปีแล้ว และบอกว่านี่เป็นหนึ่งในการอพยพของผู้ใหญ่ครั้งใหญ่ที่สุดที่เธอเคยเห็นมา ปีที่แล้วมีปูแดงตัวเมียประมาณ 35 ล้านตัว ที่สามารถผลิตไข่ได้ตัวละประมาณ 70,000 ฟอง ซึ่งเราประเมินว่าอาจจะมีลูกปูแดงจำนวน 2.5 ล้านล้านตัว ที่ถูกปล่อยลงไปในน้ำและเราไม่รู้ว่าจะมีจำนวนกี่ตัวที่รอดชีวิตมาได้ ดร.ทันย่ากล่าว

เป็นไปไม่ได้เลยที่จะนับจำนวนลูกปูแดงที่ขึ้นฝั่งได้จริงๆ เป็นเรื่องลึกลับสำหรับนักวิทยาศาสตร์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อไข่ฟักออกมาในมหาสมุทรและตัวอ่อนว่ายออกไป ซึ่งลูกปูแดงโตประมาณ 5 มิลลิเมตร ก็โผล่ออกมาจากน้ำเพื่อกลับไปยังป่าในเกาะ ซึ่งทุกๆที่ที่ปูแดงย้ายเป็นกลุ่มกลายเป็นสีแดง ดร.ทันย่ากล่าวว่า ชายฝั่งตะวันออกและชายฝั่งทางเหนือของเกาะได้เห็นลูกปูแดงจำนวนมากโผล่ออกมาจากทะเล

ซึ่งแน่นอนว่าการอพยพในแต่ละครั้งย่อมมีผลกระทบต่อการจราจรและผู้คนที่อาศัยอยู่บนเกาะแห่งนี้ เพราะว่าพวกมันมีอยู่ทุกที่จริงๆ แต่ก็ได้มีการแแก้ปัญหาและปรับตัวให้สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยการสร้างสะพานพิเศษเพื่อให้พวกมันสามารถข้ามถนนได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ การจัดการจราจรที่ดีขึ้นทั่วทั้งเมืองและทั่วทั้งเกาะ เราอาจจะฆ่าปูแดงจำนวนมากเมื่อสองสามทศวรรษที่แล้วโดยไม่มีการจัดการจราจร สำหรับลูกปูแดงที่ยังคงเดินขึ้นไปบนที่ราบ ชาวบ้านจะใช้เครื่องเป่าลมเพื่อช่วยเคลื่อนย้ายลูกปูแดงเหล่านี้ออกจากถนน

อ้างอิง: ABC, Itv

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *