นี่คือการค้นพบฟอสซิล “เทอโรซอร์”(สายพันธุ์ใหม่) ซึ่งคล้ายนกฟลามิงโก

ในอดีตเมื่อหลายร้อยหลายสิบล้านปีที่แล้ว มีไดโนเสาร์และสัตว์สายพันธุ์ต่างๆมากมายที่ได้สูญพันธุ์ไปแล้วจากโลกนี้ หลงเหลือไว้ก็เพียงแต่ซากฟอสซิลที่ให้ผู้คนได้ศึกษา

รูปที่ 1. ภาพประกอบเกี่ยวกับลักษณะของเทอโรซอร์สายพันธุ์ใหม่ที่จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร (อ้างอิง: Livescience)

นี่คือการค้นพบฟอสซิลเทอโรซอร์ (Pterosaur) ซึ่งเป็นฟอสซิลไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ที่อยู่ในช่วงปลายยุคจูราสสิค มีในลักษณะคล้ายกับนกฟลามิงโก มีปากรูปร่างแปลกตามีปากที่เรียงรายไปด้วยฟันซี่เล็กๆหลายร้อยซี่ แหวกว่ายอยู่ในน่านน้ำที่ปัจจุบันคือบาวาเรีย (Bavaria) ประเทศเยอรมนี

ฟอสซิลสายพันธุ์ใหม่นี้ถูกขุดพบโดยบังเอิญที่เหมืองร้างในเขตฟรานโกเนียนจูรา (Franconian Jura) ของรัฐบาวาเรีย ซึ่งเป็นจุดที่มีฟอสซิลเทอโรซอร์มากที่สุด โดยนักวิจัยพยายามที่จะค้นหากระดูกจระเข้จากแผ่นหินปูน แต่พวกเขากลับพบตัวอย่างใหม่ซึ่งได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดีจนไม่น่าเชื่อและมีโครงกระดูกที่ค่อนข้างสมบูรณ์พร้อมกับเอ็นบางส่วนที่ไม่บุบสลาย ซากเหล่านี้น่าจะมีอายุระหว่าง 152-157 ล้านปีก่อน โดยพิจารณาจากตะกอนรอบๆ

ในการศึกษาซึ่งตีพิมพ์เมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2023 ในวารสารภาษาเยอรมันพาลซ์ (PalZ) นักวิจัยได้อธิบายสายพันธุ์ใหม่นี้ซึ่งมีลักษณะเด่นหลายประการที่ทำให้มันแตกต่างจากเทอโรซอร์อื่นๆ นั่นคือ สัตว์เลื้อยคลานที่บินได้คล้ายนกซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกันของไดโนเสาร์และท่องไปบนท้องฟ้าในช่วงยุคมีโซโซอิก (Mesozoic) ช่วง 66-252 ล้านปีก่อน

รูปที่ 2. ภาพระยะใกล้ของโครงกระดูกฟอสซิลที่ได้รับการรักษาไว้อย่างดีอย่างไม่น่าเชื่อ (อ้างอิง: Livescience)

ขากรรไกรของเทอโรซอร์นี้ค่อนข้างยาวและเรียงรายไปด้วยฟันซี่เล็กๆละเอียด มีลักษณะเป็นตะขอ มีช่องว่างเล็กๆที่เหมือนหวีเล็กๆ โดยเดวิด มาร์ติลล์ (David Martill) นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัธ (University of Portsmouth) สหราชอาณาจักร กล่าว มีรูปร่างคล้ายกับนกปากช้อน (Spoonbill ) สมัยใหม่ในสกุลพลาทาเลีย (Platalea) และโค้งขึ้นเล็กน้อย เขากล่าวเสริม ปลายปากไม่มีฟัน แต่มีคือฟันยาวตลอดกรามทั้งสองข้าง

ตัวอย่างซึ่งมีปีกกว้างประมาณ 1.1 เมตร มีฟันประมาณ 480 ซี่ ที่มีความยาวระหว่าง 2-11 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นสัตว์กัดแทะที่สูงเป็นอันดับสองที่พบในเทอโรซอร์ เดวิดกล่าวว่ารูปร่างของฟันงุ้มเป็นสิ่งที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนในเทอโรซอร์ ขอเกี่ยวเล็กๆเหล่านี้น่าจะใช้เพื่อจับกุ้งตัวเล็กๆที่เทอโรซอร์น่าจะกินเข้าไป

ซึ่งคล้ายกับวิธีที่นกฟลามิงโกกรองกุ้งและสาหร่ายขนาดเล็กออกจากน้ำโคลนหรือน้ำปนทรายในทะเลสาบน้ำตื้น ข้อแตกต่างเพียงอย่างเดียวคือนกฟลามิงโกใช้ขนเล็กๆ ที่เรียกว่า ลาเมลเล (Lamellae) เพื่อกรองอาหารแทนการใช้ฟันที่งุ้ม

ทักษะการกรองอาหารของเทอโรซอร์ปากช้อนยังถูกนำไปเปรียบเทียบกับพฤติกรรมการกินอาหารของวาฬ สัตว์ที่เพิ่งค้นพบนี้มีชื่อว่า บาแลโนกนาทัส มาอูเซรี (Balaenognathus maeuseri) ซึ่งเป็นชื่อสกุลที่สื่อถึงสกุลบาเลนอปเทรา (Balaenoptera) ที่มีชีวิต ซึ่งมีวาฬบาลีนที่หากินด้วยการกรอง เช่น วาฬสีน้ำเงิน (B. musculus) วาฬฟิน (B. physalus) และวาฬมิงค์ (B. acutorostrata) ชื่อสปีชีส์ของเทอโรซอร์มีฟันชื่อมาอูเซริ (Maeuseri) ตั้งขึ้นเพื่อรำลึกถึงมาเธียส เมาเซอร์ (Matthias Mäuser) หนึ่งในผู้เขียนการศึกษาซึ่งเสียชีวิตขณะเขียนบทความนี้

รูปที่ 3. นกฟลามิงโกด้านซ้ายและนกปากช้อน  ด้านขวา (อ้างอิง: Livescience)

สายพันธุ์ใหม่นี้จัดอยู่ในวงศ์เทอนอชาสมาทิดี้ (Ctenochasmatidae) ซึ่งมีเทอโรซอร์อื่นๆที่ใช้ฟันกรองอาหาร แต่ตัวอย่างใหม่นี้แตกต่างออกไป เนื่องจากฟันบนขากรรไกรบนและล่างเป็นเหมือนภาพสะท้อนของกันและกัน เดวิดกล่าว ในสปีชีส์อื่นปกติแล้วกรามล่างจะมีฟันที่ยาวกว่าเล็กน้อย

สภาพดั้งเดิมของซากดึกดำบรรพ์ทำให้ทีมสามารถอนุมานลักษณะโดยละเอียดเกี่ยวกับสายพันธุ์ใหม่ได้ ซากสัตว์ต้องอยู่ในระยะเริ่มต้นของการสลายตัว เมื่อมันกลายเป็นฟอสซิล หมายความว่ามันน่าจะถูกฝังไว้เกือบจะทันทีหลังจากที่มันตาย เดวิดกล่าว ปัจจุบันตัวอย่างนี้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแบมเบิร์ก (Bamberg Natural History Museum) ในเยอรมนี

อ้างอิง: Livescience

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *