นี่คือ “ปลาเก๋า”(ดอกหมากยักษ์) นักล่าผู้อยากรู้อยากเห็น

ถ้าพูดถึงสัตว์ทะเลนักล่าขนาดใหญ่หลายคนอาจจะนึกถึงฉลามหรือวาฬ แต่นี่คือปลาที่มีขนาดตัวค่อนข้างใหญ่และยังเป็นอาหารที่หลายคนรู้จัก นั่นคือปลาเก๋าซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ในบทความนี้จะนำเสนอเพียงสายพันธุ์เดียว

รูปที่ 1. ปลาเก๋าดอกหมากยักษ์ (อ้างอิง: Africageographic)

นี่คือปลาเก๋าดอกหมากยักษ์ (Potato Cod, Potato grouper, Potato bass) เป็นปลาทะเลนักล่าขนาดใหญ่ อยู่ในตระกลูปลากะรัง (Serranidae) มีลำตัวขนาดใหญ่สีขาวนวลหรือสีเหลืองอ่อนและมีลายจุดสีน้ำตาลหรือสีดำอยู่ตามลำตัวและครีบ ทำให้ดูเหมือนกับมันฝรั่งเหมือนกับชื่อภาษาอังกฤษของพวกมัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีความยาวประมาณ 1.5 เมตร และสามารถโตได้ยาวถึง 2 เมตรและหนักได้ถึง 100 กิโลกรัม ทำให้พวกมันเป็นหนึ่งในสัตว์นักล่าแนวปะการังที่ใหญ่ที่สุด

สปีชีส์นี้มีการกระจายอย่างกว้างขวางตั้งแต่อ่าวเปอร์เซีย ทะเลแดง มอริเตเนีย อินโด-แปซิฟิก ทะเลจีนใต้ ทะเลญี่ปุ่น และออสเตรเลีย สำหรับในประเทศไทยนั้นจะพบบริเวณทะเลอันดามันแถบหมู่เกาะสิมิลัน โดยพวกมันจะอาศัยอยู่บริเวณแนวปะการังและโขดหิน โดยสามารถพบพวกมันขณะที่ยังไม่โตเต็มวัยบริเวณใกล้ชายฝั่งและตัวเต็มวัยนั้นจะพบตั้งแต่ระดับความลึก 10 เมตรจนถึง 150 เมตร

รูปที่ 2. การกระจายตัวของตระกลูปลากะรังทั่วโลก (อ้างอิง: St)

ปลาเก๋าดอกหมากยักษ์จะถึงวัยเจริญพันธุ์ที่ขนาดประมาณ 90 เซนติเมตร ซึ่งการเติบโตที่ค่อนข้างช้านี้ทำให้สายพันธุ์นี้ค่อนข้างอ่อนแอและเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีการจับปลาเป็นจำนวนมาก ก็มักจะถูกจับได้ง่าย โดยปกติไม่ค่อยมีใครรู้จักพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของพวกมัน แต่มีการสังเกตเห็นพวกมันแสดงการว่ายน้ำเหมือนกับการเต้นรำเพื่อผสมพันธุ์ โดยคู่หนึ่งจะถูกันขณะว่ายน้ำเป็นวงกลม จากนั้นไข่จะถูกปล่อยลงน้ำและตัวผู้จะผสมพันธุ์พวกมัน

พวกมันมักจะอยากรู้อยากเห็นและเมื่อนักดำน้ำเข้าใกล้บางครั้งก็ว่ายมาหาพวกเขาเพื่อดูใกล้ๆ แม้ว่าส่วนใหญ่จะอยู่ห่างๆ บางครั้งพวกมันจะว่ายเข้าหานักดำน้ำโดยอ้าปาก อาจจะเป็นความคิดที่ดีที่จะรักษาระยะห่างจากพวกมันหากพวกมันกำลังทำเช่นนี้ พวกมันอาจจะถือว่านักดำน้ำเป็นผู้บุกรุก โดยพวกมันมีบริเวณอาณาเขตค้อนข้างกว้างและพบเห็นได้ตามลำพังและเป็นกลุ่มเล็กๆ ไม่เกิน 5 ตัว แต่โดยทั่วไปไม่เป็นอันตรายและเป็นมิตรกับนักดำน้ำ

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์อาจทำให้คุณรู้สึกประหม่าได้เล็กน้อยเมื่อคุณเลิกสนใจพวกมัน เนื่องจากพวกมันจะเริ่มรบกวนคุณด้วยการพยายามแทะอุปกรณ์ที่หลุดที่ห้อยลงมาจากอุปกรณ์ดำน้ำของคุณ ถึงแม้ว่าปลาเก๋าดอกหมากยักษ์จะไม่มีฟันแหลมคมขนาดใหญ่ แต่มีฟันซี่เล็กๆเรียงเป็นแถว ดังนั้นสิ่งที่เข้าไปในปากอันมหึมาของพวกมันจะไม่หลุดออกมา ดังนั้นจึงควรระมัดระวัง ถึงแม้ว่ากรณีนี้จะเป็นสถานการณ์ที่รุนแรงที่สุด แต่คุณจะพบพวกมันเป็นเพื่อนที่น่าทึ่ง ซึ่งอาจจะอยู่กับคุณตลอดการดำน้ำ ให้ภาพถ่ายที่สวยงามและรอยยิ้มกว้างรอบตัวในการดำน้ำ

แม้ว่าจะมีความกังวลค่อนข้างน้อยต่อการสูญพันธุ์ แต่อัตราการเติบโตที่ช้าทำให้พวกมันค่อนเสี่ยงต่อการถูกจับมากเกินไป และจากธรรมชาติที่อยากรู้อยากเห็นและนิสัยการกินอะไรก็ได้ที่เข้าปากได้ทำให้จับได้ค่อนข้างง่าย และด้วยขนาดตัวที่ใหญ่ หมายความว่าพวกมันมักตกเป็นเป้าหมายของชาวประมง อีกทั้งยังมีเรื่องการสูญเสียที่อยู่อาศัยและความเสียหายที่เกิดจากมลพิษและการพัฒนาเป็นภัยคุกคามอีกด้วย ดังนั้นก่อนที่พวกมันจะเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์จึงไม่ควรจับพวกมันมากจนเกินไปและช่วยการรักษาสภาพแวดล้อมและธรรมชาติให้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น

อ้างอิง: Seaunseen, Africageographic

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *