นี่คือ “อาณาจักรแพนโด”(ต้นแอสเพน) ที่มีอายุมามากกว่า 80,000 ปี

ในธรรมชาติป่าและต้นไม้เป็นสิ่งสำคัญไม่ว่าจะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย อาหาร หรือผลิตออกซิเจนให้กับโลก ซึ่งต้นไม้นั้นมีความหลากหลายมาก แต่มีต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีความพิเศษที่มีขนาดรวมทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกและอายุที่ยืนยาว

นี่คือ อาณาจักรแพนโดที่มีต้นแอสเพน (The Pando Quaking Aspen Colony) หรือรู้จักอีกชื่อหนึ่งคือ เครือข่ายต้นไม้ขนาดยักษ์ (Trembling Giant) ซึ่งอาณาจักรแพนโดที่มีต้นแอสเพนนี้เกิดจากต้นไม้เพียงต้นเดียวและสร้างลำต้นมากกว่า 47,000 ต้น ที่มีโคลนรากใต้ดินเป็นเครือข่ายเดียวกันและมีพันธุกรรมที่เหมือนกันทั้งหมด (Genetically Identical Trees) ที่มีน้ำหนักประมาณ 5.9 ล้านกิโลกรัม และครอบคลุมพื้นที่กว่า 0.42 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีอายุมามากกว่า 80,000 ปี อยู่ในป่าสงวนแห่งชาติฟิชเลค (Fishlake National Forest) ในรัฐยูทาห์ (Utah) ประเทศสหรัฐอเมริกา

จากในวารสารพีแอลโอเอสวัน (PLOS One) ระบุว่าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์อยู่ในสภาวะอันตรายที่เสี่ยงต่อการสูญพันธ์ุ ในการศึกษาครั้งนี้ กลุ่มนักวิจัยได้ตรวจสอบสภาพในส่วนต่างๆของป่า เช่น การนับจำนวนต้นไม้ที่ยังมีชีวิตเทียบกับต้นไม้ที่ตายแล้ว การนับจำนวนลำต้นใหม่และการติดตามอุจจาระของสัตว์ ซึ่งพวกเขาพบว่าอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดคือ ต้นอ่อนไม่สามารถงอกใหม่มาทดแทนได้

พอล โรเจอร์ส (Paul Rogers) ผู้อำนวยการพันธมิตรแอสเพนตะวันตกและผู้ช่วยผู้ช่วย (The Western Aspen Alliance) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ผู้ช่วยที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐยูทาห์ (Utah State University) กล่าวว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ลำต้นที่มีอายุมากกว่ากำลังจะตาย แต่สิ่งที่ผิดธรรมชาติคือไม่มีลำต้นใหม่เติบโตขึ้น ในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากกวางล่อ (Mule Deer) และวัวควาย (Cattle) ได้กัดกินลำต้นอ่อนที่งอกใหม่จากต้นแอสเพนใต้ดิน ซึ่งในการตรวจสอบพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่มีลำต้นอายุน้อยหรือขนาดกลางๆเลย แต่มันจะประกอบไปด้วยลำต้นที่อายุมากทั้งหมด

พอลและทีมของเขายังเปรียบเทียบภาพถ่ายทางอากาศของพื้นที่เป็นเวลา 72 ปี และพบว่าอาณาจักรแพนโดที่มีต้นแอสเพนกำลังบางลง เมื่อย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1939 ยอดของต้นไม้จะค่อนข้างติดหรือสัมผัสกันทั้งหมด แต่ในปี ค.ศ. 1970 จะเริ่มเห็นช่องว่างระหว่างยอดต้นไม้มากขึ้น ซึ่งหมายความว่าลำต้นไม้ที่อายุมากกำลังจะตายและไม่มีลำต้นไม้ใหม่เข้ามาเติมเต็มในช่องว่าง

ส่วนหนึ่งของปัญหาคือ กวางล่อไม่มีนักล่าตามธรรมชาติในพื้นที่ ในช่วงต้นทศวรรษ 1900 มนุษย์ได้ล่าสัตว์นักล่าตามธรรมชาติส่วนใหญ่ เช่น หมาป่าและหมีกริซลี่ย์ และยังทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ในอาณาจักรแพนโดถูกจัดสรรไว้สำหรับการใช้งานด้านสันทนาการ เช่น การตั้งแคมป์ซึ่งจะได้รับการปกป้องจากการล่าสัตว์ ทำให้มันเป็นที่ที่ปลอดภัยสำหรับผู้ถูกล่า ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นฝีมือของมนุษย์ที่ทำให้อาณาจักรแพนโดล่มสลาย

แต่ก็มีบางส่วนของอาณาจักรแพนโดที่ถูกล้อมรั้วในปี ค.ศ. 2013 และหลังจากนั้นภายใน 5 ปี ทำให้ลำต้นไม้หลายพันต้นสูงขึ้นประมาณ 3.6 ถึง 4.5 เมตร ซึ่งดูเหมือนรั้วจะใช้งานได้ดี แต่พื้นที่ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ล้อมรั้วด้วยรั้วสูง 2.4 เมตร ยังคงอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ซึ่งอาจจะเป็นสัตว์เหล่านั้นที่ยังคงเข้าไปได้และมันค่อนข้างลึกลับสำหรับพวกเขา

พอลกล่าวว่า จำเป็นต้องช่วยกันควบคุมสัตว์ไม่ว่าจะเป็นกวางล่อและวัวควาย เพื่อให้อาณาจักรแพนโดได้พักเพื่อให้สามารถฟื้นตัวได้ ซึ่งไม่ใช่แค่ต้นไม้แต่เรากำลังพูดถึง แต่รวมไปถึงพืชและสัตว์ทั้งหมดที่ต้องพึ่งพามัน โดยเราไม่สามารถจัดการสัตว์ป่าและป่าอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่เราจำเป็นต้องจัดการร่วมกันและประสานกันซึ่งกันและกัน ซึ่งแนวทางที่ทำงานเพื่อปกป้องอาณาจักรแพนโดนี้ได้เริ่มขยายไปทั่วโลกแล้ว

อ้างอิง: Livescience, Allthatsinteresting

One comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *