นี่คืออุกกาบาตที่มีอายุ “มากกว่าโลก” ที่มีอายุกว่า 4.566 พันล้านปี

โลกเรานั้นถือกำเนิดเมื่อประมาณ 4.543 พันล้านปีก่อน แต่จักรวาลอันกว้างใหญ่ถือกำเนิดมานานกว่านั้นมากทำให้บางทีเราก็ค้นพบวัตถุที่มีอายุมากกว่าโลก

รูปที่ 1. อุกกาบาตโบราณที่มีชื่อว่า EC 002 (อ้างอิง: Dailymail)

นี่คืออุกกาบาตโบราณ (Meteorite) หรืออะคอนไดรท์ (Achondrite) ที่มีชื่อว่า EC 002 ที่มีอายุประมาณ 4.566 พันล้านปีก่อน ถูกค้นพบในทะเลทรายซาฮาราเมื่อปี ค.ศ. 2020 ซึ่งขณะนี้ได้รับการระบุว่าเป็นก้อนจากดาวเคราะห์ก่อกำเนิดที่ก่อตัวขึ้นก่อนที่จะมีโลกเกิดขึ้น อุกกาบาตประกอบด้วยหินภูเขาไฟเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ามันมาจากเปลือกโลกยุคแรกๆ ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสและญี่ปุ่นระบุว่า อุกกาบาตก้อนนี้ครั้งหนึ่งเคยเป็นลาวาเหลว แต่ถูกทำให้เย็นลงและแข็งตัวเป็นเวลากว่า 100,000 ปี จนก่อตัวเป็นก้อนอุกกาบาตหนัก 31.75 กิโลกรัม

นักวิจัยยังทราบว่าไม่มีดาวเคราะห์น้อยดวงใดที่มีคุณสมบัติคล้ายกัน ซึ่งบ่งชี้ว่าดาวเคราะห์ต้นกำเนิดก้อนอุกกาบาตนี้ นั้นหายไปไหนหรืออาจจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุขนาดใหญ่หรืออาจจะถูกทำลายไปแล้ว

 

อะคอนไดรท์นั้นมีต้นกำเนิดจากดาวเคราะห์ในยุคแรกๆ ที่เปลี่ยนรูปจากชิ้นส่วนที่หลอมเหลวและถูกเหวี่ยงขึ้นสู่อวกาศอันเป็นผลมาจากการชนกัน หินเหล่านี้ยังดูคล้ายกับที่อยู่บนโลกเมื่อมองแวบแรก ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบที่หาได้ยากในทางวิทยาศาสตร์

รูปที่ 2. อุกกาบาตโบราณที่มีชื่อว่า EC 002 (อ้างอิง: Dailymail)

อะคอนไดรท์ล่าสุดได้รับการตั้งชื่อตามบริเวณที่อุกกาบาตในเนินทรายเอิร์กเช (Erg Chech dune) ของแอลจีเรีย ซึ่งประกอบด้วยอุกกาบาตหลายลูกที่มีน้ำหนักรวมกันประมาณ 31.75 กิโลกรัม ซึ่งมีเพียงไม่กี่พันชิ้นเท่านั้นที่ได้รับการวิเคราะห์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ แต่ EC 002 ส่วนใหญ่ทำจากหินภูเขาไฟ ทำให้อุดมไปด้วยโซเดียม เหล็ก และแมกนีเซียม

เมื่อคำนึงถึงสิ่งนี้ ทีมงานจึงกล่าวว่า EC 002 เป็นหินแม่เหล็ก (Magnetic rock) ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา นักวิจัยระบุอายุของมันโดยศึกษาไอโซโทปแมกนีเซียมและอะลูมิเนียมของหิน ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามันก่อตัวขึ้นเมื่อประมาณ 4.566 พันล้านปีก่อน ในขณะที่โลกมีอายุ 4.543 พันล้านปี

ทีมงานอธิบาย EC 002 ว่ามีเนื้อค่อนข้างหยาบ ผิวสีแทนและสีเบจ โดยสังเกตว่ามีจุดสีเหลืองและสีเขียวด้วย พวกเขายังทราบด้วยว่าเมื่อพวกเขาดูวัตถุทางดาราศาสตร์อื่นๆ โดยเพ่งความสนใจไปที่ความยาวคลื่นของพวกมัน พวกเขาไม่พบสิ่งใดที่ตรงกับความยาวคลื่นที่สะท้อนโดย EC 002 อุกกาบาตยังเป็นซิลิคอนไดออกไซด์ถึง 58 เปอร์เซ็นต์ ทำให้หายากกว่าที่อื่นๆที่เคยพบบนโลกด้วยซ้ำ เนื่องจากแร่ธาตุนี้พบได้ทั่วไปในบริเวณภูเขาไฟบนโลกของเรา

รูปที่ 3. บริเวณที่อุกกาบาตในเนินทรายเอิร์กเช (อ้างอิง: Dailymail)

ดาวเคราะห์ต้นแบบที่ถูกปกคลุมด้วยเปลือกโลกแอนดีซิติก (Andesitic) อาจจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทีมงานเขียนไว้ในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (Proceedings of the National Academy of Sciences) อย่างไรก็ตาม ไม่มีดาวเคราะห์น้อยใดที่มีลักษณะทางสเปกตรัมเหมือนกับ EC 002 ซึ่งบ่งชี้ว่าวัตถุเหล่านี้เกือบทั้งหมดหายไปแล้ว อาจจะเป็นเพราะพวกมันไปก่อตัวเป็นส่วนประกอบของวัตถุขนาดใหญ่หรือดาวเคราะห์ หรือไม่ก็ถูกทำลายไปเฉยๆ

อ้างอิง: Dailymail

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *