นี่คือหมึกยักษ์จ้าวแห่งการ “พรางตัว”(เปลี่ยนสี)

หมึกยักษ์ (Octopus) อาจจะเป็นสัตว์ประหลาดที่เป็นธรรมชาติที่สุด โดยพวกมันมีลำตัวที่อ่อนนุ่มที่สามารถบีบตัวรอดผ่านช่องแคบเล็กๆได้ มีแปดแขนมีปุ่มดูดและแต่ละแขนสามารถงอกใหม่ได้ มีหัวใจ 3 ดวงที่ใช้สูบฉีดเลือดสีน้ำเงินที่อุดมไปด้วยทองแดงผ่านเส้นเลือด และมีสมองเป็นรูปโดนัทขนาดใหญ่ที่ทำให้มีสติปัญญาที่เหนือกว่าเมื่อเทียบกับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดอื่นๆ แต่ลักษณะที่น่าเกรงขามที่สุดของหมึกยักษ์คือความสามารถในการเปลี่ยนสีอย่างรวดเร็วและกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม โดยสามารถพรางตัวได้ตามต้องการ

การพรางตัว (Cephalopod) เป็นทักษะที่สำคัญสำหรับหมึกแทบทุกชนิด เช่น หมึกกล้วย (squid) หรือหมึกกระดอง (Cuttlefish) แต่หมึกยักษ์นั้นได้ก้าวไปสู่อีกระดับหนึ่ง ด้วยคุณภาพความละเอียดและการเปลี่ยนสีที่รวดเร็วที่สุด แต่ไม่ใช่หมึกทุกสายพันธุ์ที่จะสามารถเปลี่ยนสีได้ ซึ่งกลไกการพรางตัวที่พวกมันใช้ก็แตกต่างกันไป

ความสุดยอดในการพรางตัวของหมึกยักษ์ทำให้นักวิจัยหลายๆคนประหลาดใจ เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,400 ปีที่แล้ว อริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาชาวกรีกโบราณ เป็นคนแรกที่ีรู้จักและได้ทำการจดบันทึกการสังเกตอย่างละเอียดเกี่ยวกับการพรางตัวของหมึกยักษ์ นักชีวเคมี ไลลา เดราวี (Leila Deravi) ของมหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทิร์นในแมสซาชูเซตส์ ผู้ซึ่งศึกษากลศาสตร์การพรางตัวของหมึกยักษ์กล่าวกับ WordsSideKick.com แม้ว่าการพรางตัวของหมึกยักษ์ ได้รับการศึกษาและสังเกตมานานหลายศตวรรษแล้ว แต่ก็ยังมีการพัฒนาไปไม่มากนัก จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ เดราวีกล่าว

การเปลี่ยนสีในหมึกยักษ์เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนมาก แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะตอบอย่างแน่ชัดว่ามันทำงานอย่างไร แต่ในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทำให้นักวิจัยสามารถแยกแยะส่วนประกอบแต่ละส่วนของการพรางตัวและตอนนี้ก็เริ่มเข้าใจแล้วว่าพวกมันทำงานอย่างไร

อะไรที่ทำให้หมึกยักษ์เปลี่ยนสีได้
หมึกยักษ์สามารถเปลี่ยนสีได้เพราะมีเซลล์เม็ดสี (Chromatophores) ซึ่งเป็นเซลล์พิเศษที่ผลิตเม็ดสีหรือสะท้อนแสงทำให้สามารถเปลี่ยนสีได้ ที่กระจายอยู่ทั่วผิวของหมึกยักษ์

หัวใจที่สำคัญของเซลล์เม็ดสีคือถุงเล็กๆที่เต็มไปด้วยอนุภาคนาโนของเม็ดสีที่เรียกว่า แซนโธมมาติน (Xanthommatin) โดยจะเชื่อมต่อกับเซลล์กล้ามเนื้อที่ล้อมรอบเป็นรูปดาว และเมื่อเซลล์กล้ามเนื้อเหล่านี้หดตัวถุงเม็ดสีจะยืดออก ซึ่งจะช่วยให้รับแสงเข้าสู่เซลล์ได้มากขึ้นและเกิดสะท้อนของแซนโธมมาติน แต่เนื่องจากแซนโธมมาตินสามารถดูดซับความยาวคลื่นหรือสีของแสงที่มองเห็นได้ แสงที่สะท้อนกลับจากเซลล์เม็ดสีจึงเป็นสีที่ต่างกันเมื่อเทียบกับแสงที่เข้ามาในเซลล์ครั้งแรก

หมึกยักษ์มีเซลล์เม็ดสีบนผิวหนังสามชั้น ในแต่ละชั้นมีอนุภาคแซนโธมมาตินที่สะท้อนแสงกลับไปเป็นสีที่ต่างกัน โดยชั้นบนสุดจะสะท้อนแสงกลับไปเป็นสีเหลือง ชั้นกลางจะสะท้อนกลับไปเป็นสีแดง และชั้นล่างจะสะท้อนแสงกลับไปเป็นสีน้ำตาล ซึ่งหมึกยักษ์สามารถรวมสีเหล่านี้ได้โดยการเปลี่ยนรูปร่างของเซลล์เม็ดสีในแต่ละชั้น และทำให้หมึกยักษ์สามารถสร้างเฉดสีได้อย่างหลากหลาย

เซลล์เม็ดสีสามารถมีได้หลายหมื่นหรือหลายล้านเซลล์ขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของแต่ละสายพันธุ์ ซึ่งจะถูกควบคุมด้วยสัญญาณประสาทโดยตรงจากสมองของหมึกยักษ์ที่ทำให้กล้ามเนื้อรอบๆถุงหดหรือคลายตัว ทำให้รูปร่างเปลี่ยนไป มันเหมือนกับว่าคุณจะงอแขนของคุณ สมองของคุณส่งสัญญาณให้งอและมันก็งอ ด้วยการส่งสัญญาณประสาทให้ดึงกล้ามเนื้อเหล่านี้จะเป็นการเปลี่ยนสีของผิวหนังหมึกยักษ์นั่นเอง

หมึกยักษ์ยังมีกลไกในผิวหนังที่ช่วยให้พวกมันเปลี่ยนพื้นผิวเพื่อเพิ่มการพรางตัวอีกไปอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งจะเป็นตุ่มเล็กๆที่เรียกว่า พาพิลเล (Papillae) ที่สามารถหดหรือคลายตัวได้ เช่น สามารถคลายตัวทำให้ผิวเนียนเหมือนสาหร่ายหรือหดตัวทำให้ผิวหนังเป็นก้อนและหยาบกร้านเหมือนกับก้อนหิน

อะไรที่ทำให้หมึกยักษ์เป็นจ้าวแห่งนักเปลี่ยนสีและพรางตัว
นั่นเป็นเพราะความเร็วและความแม่นยำที่พวกมันสามารถเปลี่ยนสีได้ โดยความเร็วที่เร็วที่สุดนั้นต่ำกว่า 100 มิลลิวินาที (0.1 วินาที) ซึ่งเร็วกว่าการกะพริบตา ในทางตรงกันข้ามกิ้งก่าอาจจะต้องใช้เวลานานหลายวินาทีหรือมากกว่าหนึ่งนาทีในการเปลี่ยนสีทั้งหมด

หมึกยักษ์สามารถเปลี่ยนสีได้อย่างรวดเร็วนั้น เนื่องจากสมองของพวกมันเชื่อมต่อถึงกันอย่างลึกซึ้งกับผิวหนัง พวกมันมีกลไกการส่งสัญญาณที่รวดเร็วจริงๆ สามารถพูดได้ว่า ตรงนั้นเปิด ตรงนั้นปิด ได้ทั่วร่างกายของพวกมัน

สาเหตุหลักของการเชื่อมโยงระหว่างสมองกับผิวหนังก็คือ สมองของหมึกยักษ์ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียงบริเวณเดียว (เช่น ศีรษะ) ไม่เหมือนกับสมองของสัตว์ส่วนใหญ่ นอกจากจะมีสมองรูปโดนัทแล้ว หมึกยักษ์ยังมีกระเป๋าสมอง (Brain pockets) หรือโหนดทั่วร่างกายและแขนของพวกมัน นักวิจัยเชื่อว่าสิ่งนี้ช่วยให้แขนปลาหมึกแต่ละแขนมีความคิดเป็นของตัวเอง ซึ่งอาจจะมีส่วนในการเปลี่ยนสีได้

หมึกยักษ์ยังมีเซลล์เม็ดสีมากกว่าหมึกชนิดอื่นๆต่อตารางเซนติเมตรของผิวหนัง ซึ่งช่วยให้พวกมันมีการสร้างรูปแบบที่มีความละเอียดสูงมากเมื่อเทียบกับหมึกชนิดอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ยังมีความลึกลับที่ยังไม่สามารถตอบได้อีกประการหนึ่งเกี่ยวกับการพรางตัวของเซลล์เม็ดสีคือ พวกมันสามารถจับคู่สีผิวของตนกับสภาพแวดล้อมได้ดีเพียงใด แม้จะมีความสามารถในการสร้างสีต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย แต่หมึกส่วนใหญ่มักตาบอดสี โดยตาของหมึกนั้นมีเซลล์รับแสงเพียงประเภทเดียว ซึ่งหมายความว่าพวกมันสามารถตรวจสอบความแตกต่างของแสงได้เท่านั้น ตามรายงานการทบทวนที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2020 ในวารสาร Frontier in Physiology ในขณะที่ดวงตาของมนุษย์มีตัวรับแสง 4 ประเภท

คำอธิบายที่เป็นไปได้คือดวงตาของหมึกสามารถมองเห็นสีได้โดยไม่ต้องมีตัวรับแสง ผลการศึกษาในปี ค.ศ. 2016 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Biophysics and Computational Biology ได้ตั้งสมมติฐานว่าอาจจะมีตัวรับประเภทอื่นๆในดวงตาของหมึกที่เราไม่รู้จัก ซึ่งอาจจะทำให้หมึกเห็นสีในวิธีที่แตกต่างจากมนุษย์และสัตว์อื่นๆ

นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีที่ว่าตัวรับแสงในผิวหนังสามารถช่วยให้หมึกเปลี่ยนสีเข้ากับสีรอบๆตัวได้ การศึกษาก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าแขนของหมึกสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของความเข้มของแสงในขณะที่หมึกมองไม่เห็น อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานว่าสิ่งนี้ช่วยให้พวกมันเปลี่ยนสีได้

ในสหราชอาณาจักร การทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่หมึกยักษ์ใช้ในการเปลี่ยนสีเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่ง เนื่องจากนักวิจัยไม่ได้รับอนุญาตให้ทดลองกับหมึกยักษ์ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่  เนื่องจากสติปัญญาของพวกมัน เพราะหมึกยักษ์นั้นถือว่าฉลาดและสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ พวกมันสามารถรับรู้และสัมผัสถึงความเจ็บปวด

หมึกบางชนิดได้พัฒนาวิธีการพรางตัวในรูปแบบอื่น เช่น หมึกแก้ว (Glass Octopus) ที่เข้าใจว่าน่าจะสูญเสียเซลล์เม็ดสีทั้งหมดและเกือบจะโปร่งใสอย่างสมบูรณ์

การพรางตัวนั้นมีประโยชน์อย่างอื่นด้วย เช่น การใช้ล่าสัตว์โดยเรามักจะคิดว่ามันเป็นความสามารถในการป้องกันเพียงอย่างเดียว นอกจากเหยื่อจะไม่สังเกตเห็นพวกมันแล้ว หมึกยักษ์ยังสามารถทำให้เหยื่อของพวกมันตะลึงด้วยการเปลี่ยนสีที่จัดจ้านและรวดเร็วก่อนที่จะจับเหยื่อ

ในบางครั้งหมึกก็จะใช้ผิวหนังเพื่อสื่อสารหรือเพื่อดึงดูดคู่หรือเตือนคู่แข่งในระหว่างการสืบพันธุ์ แต่อย่างไรก็ตาม หมึกเป็นสัตว์ที่สันโดษ ดังนั้นพวกมันจึงไม่จำเป็นต้องสื่อสารกัน

แม้ว่าการพรางตัวจะเป็นความสามารถโดยกำเนิดสำหรับหมึกส่วนใหญ่ ซึ่งนักวิจัยคิดว่ามันเป็นสิ่งที่พวกมันสามารถทำได้ดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยพวกมันเรียนรู้ที่จะผสมผสานการเปลี่ยนสีกับพฤติกรรมอื่นๆ เช่น การซ่อนตัวในช่องแคบหรือการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง

อ้างอิง: livescience

2 Comments

  1. Nice post. I learn something totally new and challenging on websites I stumbleupon on a daily basis. It will always be interesting to read through content from other writers and use something from their websites.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *