นี่คือการค้นพบ “จี้”(ยุคกลาง) ในอัฐิของนักบุญที่อยู่ในหลุมขยะ

ในบางครั้งนักสำรวจก็มักจะค้นพบกับวัตถุโบราณหรือสิ่งที่น่าสนใจ ในที่ที่เราไม่ได้คาดคิดว่าจะเจอ

รูปที่ 1. จี้ยุคกลางที่มีภาพของพระเยซู พระแม่มารีย์ที่ใช้เวลาประมาณ 500 ชั่วโมง ในการกำจัดชั้นการกัดกร่อน (อ้างอิง: Livescience)

นี่คือการค้นพบจี้ยุคกลาง (Medieval Pendant) ที่สึกกร่อนซึ่งถูกค้นพบในภาชนะหรือแท่นบูชาสำหรับใส่กระดูกอัฐิของนักบุญในเยอรมนีที่ได้ซ่อนสมบัติทางศาสนาไว้เป็นเวลากว่า 900 ปี มาเธียส ไฮน์เซล (Matthias Heinzel) ผู้บูรณะที่ศูนย์โบราณคดีไลบ์นิซหรือไลซ่า (Leibniz Center for Archaeology: LEIZA) ในเมืองไมนซ์ (Mainz) ของเยอรมัน

นักโบราณคดีได้ค้นพบจี้รูปโคลเวอร์สี่แฉกหรือไม้กางเขนขนาดเท่าฝ่ามือในปี ค.ศ. 2008 ในระหว่างการขุดหลุมขยะในยุคกลางในเมืองไมนซ์ โดยหลุมตั้งอยู่ในราชสำนักของวังขุนนางที่มีอายุตั้งแต่ยุคบาโรกสูงในต้นศตวรรษที่ 17 แม้ว่าส่วนใหญ่จะประกอบด้วยเครื่องปั้นดินเผา แต่จี้ดังกล่าวถูกพบในชั้นของหลุมที่มีอายุตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 ก่อนที่จะมีการสร้างพระราชวังในภายหลัง มาเธียสกล่าว

โดยนักวิจัยได้ใช้การถ่ายภาพด้วยรังสีนิวตรอน (Neutron radiography) ซึ่งสร้างภาพสามมิติเมื่อรังนิวตรอนในอะตอมถูกดูดซับโดยวัสดุ ในกรณีนี้คือกล่องของจี้และสิ่งที่อยู่ในนั้น และแม้ว่าเทคนิคนี้จะไม่เปิดเผยรายละเอียดได้ทั้งหมด แต่การถ่ายภาพเพิ่มเติมอาจจะแสดงให้เห็นแถบดังกล่าวและบางทีตัวอักษรที่ถูกเขียนบนนั้น บางทีเราอาจจะค้นพบมันในปีหน้าด้วยเครื่องมืออื่นๆ และความละเอียดที่สูงขึ้น มาเธียสกล่าว

รูปที่ 2. ด้านซ้ายคือจี้ที่สึกกร่อนในรูปโคลเวอร์สี่แฉก/ไม้กางเขน ขวาคือภาพเอ็กซ์เรย์ของจี้ (อ้างอิง: Livescience)

การศึกษาที่อธิบายการตรวจสอบจี้ถูกนำเสนอในการประชุมโลหะ 2022 (Metal 2022 Conference) ของคณะกรรมการเพื่อการอนุรักษ์ของสภาพิพิธภัณฑ์ระหว่างประเทศ ซึ่งจัดขึ้นที่เฮลซิงกิในเดือนกันยายน ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่ผ่านการตรวจสอบ

อย่างไรก็ตาม รูปแบบทางศิลปะที่โดดเด่นของจี้ดังกล่าวบ่งบอกว่าจี้ชิ้นนี้มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 และเมื่อมันถูกโยนทิ้งไป มันก็เก่าแล้ว รูปแบบของมันยังบ่งบอกว่าอาจประดิษฐ์ขึ้นในโรงงานใกล้เมืองฮันโนเวอร์ ห่างจากไมนซ์ไปทางเหนือประมาณ 285 กิโลเมตร ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าสร้างวัตถุที่คล้ายกัน

มาเธียสและเพื่อนร่วมงานของเขาที่ไลซ่าใช้เวลาประมาณ 500 ชั่วโมง ในการกำจัดชั้นการกัดกร่อนที่หนาด้วยเครื่องมือเจียรปลายเพชรและอุปกรณ์เชิงกลอื่นๆ เพื่อให้ได้จี้รูปสี่เหลี่ยม (Quatrefoil) ที่เป็นรูปโคลเวอร์สี่แฉกหรือไม้กางเขนที่ทำจากทองแดงหุ้มด้วยทองคำเปลวและเคลือบวัตถุ ที่มีภาพของพระเยซู พระแม่มารีย์ และนักบุญในยุคกลาง และภายในจี้ดูเหมือนจะกลวง แต่ไม่สามารถเปิดเข้าไปตรงๆได้เพราะจะทำลายมัน พวกเขาจึงตัดสินใจที่จะใช้รังสีเอกซ์ซึ่งเผยให้เห็นโพรงภายในจี้

รูปที่ 3. การตรวจด้วยรังสีนิวตรอนเพื่อเผยให้เห็นถุงผ้าขนาดเล็ก 5 ใบที่มีเศษกระดูก (อ้างอิง: Livescience)

อย่างไรก็ตาม โลหะและที่เคลือบวัตถุของจี้ได้ดูดซับรังสีเอกซ์ไว้เกือบทั้งหมด และไม่มีอะไรอื่นที่มองเห็นได้ มาเธียสกล่าว ในภาพเอ็กซ์เรย์ วัสดุอินทรีย์และอนินทรีย์ เช่น สิ่งทอและกระดูก จะถูกแสงจากโลหะและสารเคลือบวัตถุที่อยู่รอบๆ เขากล่าว แต่ รังนิวตรอนนั้นจะแสดงพฤติกรรมการดูดกลืนที่เกือบจะตรงกันข้ามกับรังสีเอกซ์

การตรวจโดยรังสีนิวตรอนไม่เหมือนกับอิเล็กตรอนที่มีพลังงานที่ใช้ในเทคนิคเอ็กซ์เรย์ รังสีนิวตรอนไม่มีประจุไฟฟ้าและสามารถเจาะลึกเข้าไปในวัสดุต่างๆ เช่น โลหะ นอกจากนี้ นิวตรอนยังกระจัดกระจายอย่างมากโดยอะตอมของไฮโดรเจน ดังนั้นการตรวจโดยรังสีนิวตรอนทำให้ได้ภาพที่มีคอนทราสต์สูงของวัสดุที่ได้จากสิ่งมีชีวิตที่มีไฮโดรเจน กล่าวโดยเบอร์ฮาร์ด ชิลลิงเจอร์ (Burkhard Schillinger) ผู้ร่วมวิจัยที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านเครื่องมือแห่งมหาวิทยาลัยเทคนิคมิวนิกไมเออร์-ไลบ์นิทซ์ เซ็นเตอร์ (University Munich’s Heinz Maier-Leibnitz Center)

เมื่อนักวิจัยตรวจสอบโพรงของจี้ด้วยการถ่ายภาพด้วยรังสีนิวตรอน พวกเขาเห็นได้อย่างชัดเจนว่าภายในมีถุงเล็กๆ 5 ถุง ซึ่งอาจจะเป็นผ้าลินินหรือผ้าไหม ซึ่งบรรจุชิ้นส่วนของกระดูก มาเธียสกล่าว

การค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่าจี้เป็นเครื่องรางประเภทเครื่องรางที่บรรจุพระธาตุหรือกระดูกของนักบุญและให้ความคุ้มครองแก่ผู้ที่สวมใส่มัน มาเธียสซึ่งไม่คาดคิดว่าจะพบกระดูกมนุษย์ แม้ว่าเขาจะใช้เวลาหลายร้อยชั่วโมงในการฟื้นฟูมันแล้วก็ตาม ตั้งแต่เริ่มต้น นี่เป็นวัตถุจากยุคกลางที่ยอดเยี่ยมจริงๆสำหรับฉัน เขากล่าว

รูปที่ 4. การตรวจด้วยรังนิวตรอนจะเผยให้เห็นแถบกระดาษหรือกระดาษด้านในจี้ (อ้างอิง: Livescience)

ขั้นตอนต่อไปจะใช้การถ่ายภาพด้วยนิวตรอนเพื่อค้นหาแผ่นหนังหรือแถบกระดาษภายในจี้ที่สามารถเปิดเผยชื่อของนักบุญที่บรรจุอัฐิได้ จนถึงตอนนี้ จี้ดังกล่าวสัมผัสกับนิวตรอนสร้างภาพเป็นเวลารวมแล้วกว่า 7 ชั่วโมง

เบอร์ฮาร์ดหวังว่าการสังเกตเพิ่มเติมด้วยรังสีนิวตรอนสามารถเปิดเผยแถบและตัวอักษรใดๆบนแถบนั้น ซึ่งอาจเขียนด้วยหมึกเหล็ก ซึ่งเป็นส่วนผสมของเกลือเหล็กและกรดที่ได้จากผัก ซึ่งบางทีอาจจะต้องเพิ่มเวลา 2 เท่า หรืออาจเพิ่มเป็น 3 เท่า ก็อาจจะทำให้สามารถเห็นชื่อหรือรายละเอียดมากขึ้นเขากล่าว

อ้างอิง: Livescience

One comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *