นี่คือดาว “เคปเลอร์-186f”(ใกล้เคียงกับโลก) ที่โคจรอยู่ในเขตที่อยู่อาศัย

การสำรวจอวกาศนั้น เรามักจะพยายามค้นหาดาวเคราะห์ที่มีขนาดเท่ากับโลกและอยู่ในเขตที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยได้ ซึ่งที่ผ่านมาเรามักจะพบดาวเคราะห์ในเขตที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยได้ แต่พวกมันทั้งหมดก็มีขนาดใหญ่กว่าโลกอย่างน้อย 40% แต่นักดาราศาสตร์ก็ได้ค้นพบดาวเคราะห์ขนาดใกล้เคียงกับโลกดวงแรกที่โคจรรอบดาวฤกษ์ใน เขตที่อยู่อาศัยได้

รูปที่ 1. ดาวเคปเลอร์-186f (Kepler-186f) (อ้างอิง: NASA)

นี่คือดาวเคปเลอร์-186f (Kepler-186f) เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 จากภารกิจเคปเลอร์ที่ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ (Kepler Space Telescope) ของนาซ่า (NASA) ได้รับการยืนยันว่าเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลกดวงแรกที่โคจรรอบดาวฤกษ์ในเขตที่เอื้อต่อการอยู่อาศัย (Habitable Zone) หรือมีการโคจรรอบดวงอาทิตย์ที่คล้ายกับโลกของเรามาก ซึ่งเป็นช่วงระยะห่างจากดาวฤกษ์ที่อาจจะทำให้น้ำหรือของเหลวอาจรวมตัวกันบนพื้นผิวของดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่ โดยอยู่ห่างจากโลกประมาณ 500 ปีแสง

การค้นพบดาวเคปเลอร์-186f ถือเป็นก้าวสำคัญในการค้นหาดวงดาวที่เหมือนกับโลกของเรา พอล เฮิรตซ์ (Paul Hertz) ผู้อำนวยการแผนกดาราศาสตร์ฟิสิกส์ (Astrophysics) ของนาซ่าที่สำนักงานใหญ่ของหน่วยงานในวอชิงตัน (Washington) กล่าว ภารกิจในอนาคตของนาซ่า เช่น ดาวเทียมสำรวจอวกาศเทสส์ (Transiting Exoplanet Survey Satellite) และเจมส์เวบบ์สเปซ (James Webb Space) กล้องโทรทรรศน์เหล่านี้มีภารกิจที่จะต้องค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่เป็นหินที่ใกล้ที่สุดและกำหนดองค์ประกอบและสภาพบรรยากาศของพวกมัน เพื่อค้นหาดวงดาวที่เหมือนโลกอย่างแท้จริง

แม้ว่าจะทราบขนาดของดาวเคปเลอร์-186f แต่มวลและองค์ประกอบของมันยังไม่รู้ อย่างไรก็ตาม การวิจัยก่อนหน้านี้ชี้ให้เห็นว่าดาวเคราะห์ขนาดเท่า ดาวเคปเลอร์-186f น่าจะเป็นหิน

รูปที่ 2. โลกและดาวเคปเลอร์-186f โคจรอยู่ในเขตที่เอื้อต่อการอยู่อาศัย (อ้างอิง: NASA)

เรารู้จักดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตนั่นคือ โลก เมื่อเราค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกระบบสุริยะของเรา เรามักจะมุ่งเน้นไปที่การค้นหาดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับโลก เอลิซา ควินตานา (Elisa Quintana) นักวิทยาศาสตร์การวิจัยของสถาบันเซติหรือการค้นหาสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาจากต่างดาว (Search for Extra-Terrestrial Intelligence: SETI) ที่ศูนย์วิจัยในมอฟเฟตต์ ฟิลด์ (Moffett Field) ในแคลิฟอร์เนียและผู้เขียนบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ (Journal Science) กล่าวว่า การค้นหาดาวเคราะห์ในเขตที่อยู่อาศัยที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลกนั่นนับเป็นก้าวที่สำคัญ

ดาวเคปเลอร์-186f อยู่ในกลุ่มดาวหงส์ (Cygnus) ซึ่งระบบนี้ยังเป็นที่ตั้งของดาวเคราะห์ 4 ดวง ได้แก่ Kepler-186b, Kepler-186c, Kepler-186d และ Kepler-186e ซึ่งโคจรรอบดาวฤกษ์ทุกๆ 4, 7, 13 และ 22 วัน ตามลำดับ ทำให้พวกมันร้อนเกินไปสำหรับชีวิตอย่างที่เรารู้ๆกันและดาวเคราะห์ชั้นในทั้ง 4 นี้ มีขนาดน้อยกว่าโลก 1.5 เท่า โดยดาวฤกษ์ที่ดาวเคปเลอร์-186f โคจรรอบนั้นมีขนาดและมวลเท่ากับครึ่งหนึ่งของดวงอาทิตย์ของโลกเรา โดยดาวฤกษ์นี้จัดอยู่ในประเภทดาวแคระเอ็ม (M Dwarf) หรือดาวแคระแดง (Red Dwarf) ซึ่งเหมือนกับดาวฤกษ์ 70% ของดาวฤกษ์ที่อยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือก ดาวแคระเอ็มเป็นดาวฤกษ์ที่มีจำนวนมากที่สุดเอลิซากล่าว สัญญาณแรกของสิ่งมีชีวิตอื่นในจักรวาลอาจจะมาจากดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวแคระเอ็ม

ดาวเคปเลอร์-186f นั้นมีวงโคจรรอบดาวฤกษ์ประมาณ 130 วัน โดยดาวเคราะห์จะได้รับพลังงานประมาณหนึ่งในสาม เมื่อเทียบกับที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์ ซึ่งหากไปอยู่บนดาวเคราะห์ดวงนี้ตอนเที่ยงมันจะสว่างพอๆกับตอนที่ดวงอาทิตย์บนโลกของเราก่อนตกลับฟ้าประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งการอยู่ในเขตที่อยู่อาศัยไม่ได้หมายความว่า ดาวเคราะห์ดวงนี้น่าอยู่เพราะอุณหภูมิบนดาวเคราะห์ดวงนี้ขึ้นอยู่กับชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ ซึ่งมันเป็นเหมือนลูกพี่ลูกน้องของโลกมากกว่าเป็นฝาแฝดที่มีคุณสมบัติหลายอย่างที่คล้ายกับโลก

ขั้นตอนต่อไปในการค้นหาสิ่งมีชีวิตที่ห่างไกล ได้แก่ การมองหาฝาแฝดโลกที่แท้จริง นั่นคือ ดาวเคราะห์ขนาดเท่ากับโลกที่โคจรอยู่ภายในเขตเอื้ออาศัยของดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ และการวัดองค์ประกอบทางเคมีของพวกมัน กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ ซึ่งวัดความสว่างของดาวมากกว่า 150,000 ดวง พร้อมกันและต่อเนื่องนั้นเป็นภารกิจแรกของนาซ่าที่จะต้องตรวจจับดาวเคราะห์ขนาดเท่ากับโลกและโคจรรอบดาวฤกษ์อย่างดวงอาทิตย์ของโลกเรา

อ้างอิง: NASA

One comment

  1. Do you mind if I quote a couple of your articles as long asI provide credit and sources back to your website?My blog site is in the very same niche as yours and my users would certainly benefit from some of the information you present here.Please let me know if this okay with you. Thanks!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *