รู้จักกับแปรงสีฟันที่ใช้ในปัจจุบันที่กำเนิดมาจากใน “คุก”

ในปัจจุบันการทำความสะอาดฟันเป็นกิจวัตรประจำวันของคนเราที่จะต้องทำในทุกๆวัน เคยสงสัยกันไหมว่าจุดเริ่มต้นของแปรงสีฟันเริ่มต้นมาได้ยังไง

ในอดีตเมื่อตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวอียิปต์โบราณดูแลฟันของพวกเขาโดยการผสมของหินภูเขาไฟ เปลือกไข่ที่บด ขี้เถ้า และมดยอบ (Myrrh) เป็นส่วนผสมของเครื่องหอมที่มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรค แล้วนำมาถูกับฟันด้วยนิ้วมือ และบางกลุ่มใช้ ไม้เคี้ยว (Chew Sticks) ซึ่งที่ปลายไม้แตกเป็นกิ่งเล็กๆมาใช้ถูกับฟัน

แปรงสีฟันแบบที่มีขนแปรงที่เป็นลักษณะเดียวกันกับที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน ถูกผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 1498 ในประเทศจีนเป็นแปรงสีฟันขนหมูป่า ซึ่งทำมาจากขนแข็งๆที่นำจากด้านหลังของคอหมูป่าแล้วนำมาผูกไว้กับด้ามกระดูกหรือไม้ไผ่

การผลิตแปรงสีฟันในระดับอุสาหกรรม
เมื่อพูดถึงการผลิตแปรงสีฟันสำหรับคนทั่วไป เริ่มต้นมาจาก วิลเลียม แอดดิส (William Addis) จากประเทศอังกฤษที่เริ่มผลิตแปรงสีฟันขนาดอุสาหกรรมในช่วงปี ค.ศ. 1780

โดยการออกแบบของเขามีความคล้ายเคียงกับรูปลักษณ์ของแปรงสีฟันในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ในปี ค.ศ. 1770 ไอเดียเริ่มต้นมาจากในขณะที่เขาถูกขังอยู่ในคุก โดยในแต่ละวันเขาจะต้องทำความสะอาดฟันด้วยเศษผ้าที่มีเขม่าผสมกับเกลือถูลงบนฟัน ซึ่งเป็นวิธีที่เขาไม่ค่อยชอบนัก ดังนั้นเขาจึงแกะสลักด้ามแปรงขนาดเล็กจากกระดูกด้วยมือของเขาเองแล้วเจาะรูบนกระดูก จากนั้นเขาก็ติดขนแปรงหมูป่าผ่านรูที่เจาะไว้แล้วยึดติดกันไว้ด้วยลวด

แอดดิสเริ่มผลิตแปรงสีฟันจำนวนมากหลังจากออกจากคุกในไวท์ชาเปล (Whitechapel) ทางตะวันออกของลอนดอน ประเทศอังกฤษ ธุรกิจของเขาเฟื่องฟูมากและแอดดิสเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1808 โดยทิ้งธุรกิจไว้ให้ลูกชายคนโตของเขา แอดดิสเริ่มส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังต่างประเทศและไปยังสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษที่ 1880

ภายในปี ค.ศ. 1938 ได้มีการผลิตแปรงสีฟันที่ใช้เส้นใยจากไนลอนขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าทนทานและมีประสิทธิภาพมากกว่าขนแปรงแบบเดิม

เมื่อถึงสงครามโลกครั้งที่สอง แอดดิสก็มีพนักงานราว 650 คน และมีการสั่งซื้อเครื่องจักรที่ใช้ในการฉีดขึ้นรูปเครื่องแรกและได้เริ่มต้นการผลิตแปรงสีฟันที่ใช้ขนเป็นไนลอน (Nylon) ขึ้น ภายใต้ชื่อแบรนด์ Wisdom และเป็นธุรกิจครอบครัวจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1996 ภายใต้ชื่อ Wisdom Toothbrushes ปัจจุบันบริษัทสามารถผลิตและขายแปรงสีฟันไปแล้วกว่า 70 ล้านชิ้นต่อปีใน สหราชอาณาจักร

อ้างอิง: Madeupinbritain , Museumofeverydaylife

2 Comments

  1. Nice post. I learn something totally new and challenging on websites I stumbleupon on a daily basis. It will always be interesting to read through content from other writers and use something from their websites.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *