นี่คือการวาด “แผนที่”(เมืองอิโมลา) โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี

ในปัจจุบันแผนที่เป็นสิ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อบ่งบอกสถานที่และภาพรวมของพื้นที่นั้นๆ แต่ในอดีตเมื่อหลายศตวรรษก่อนที่จะมีดาวเทียมในการทำแผนที่เหล่านั้น พวกเขาทำอย่างไรในการทำแผนที่ให้มีความแม่นยำ

รูปที่ 1. แผนที่ของเมืองอิโมลา ที่วาดโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี (อ้างอิง: Rct)

นี่คือการวาดแผนที่ของเมืองอิโมลา (Imola) ประเทศอิตาลี ที่วาดโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) ในช่วงยุคเรอเนสซองส์ (Renaissance) ในปี ค.ศ. 1502 โดยใช้เครื่องมือบางอย่าง ซึ่งไม่มีเครื่องบินและเขาไม่เคยเห็นภาพที่ถ่ายจากนอกโลกเลย แต่เขาเห็นปัญหาของแผนที่ร่วมสมัยอย่างชัดเจน ความจำเป็นในการทำให้ภาพแผนที่มุมบนทางอากาศ ซึ่งเขาวาดได้อย่างแม่นยำราวกับว่าเขากำลังมองดูเมืองผ่านกล้องดาวเทียมของกูเกิล

ภาพวาดแผนที่ของเมืองอิโมลา แสดงให้เห็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยวงแหวน มีเส้น 4 เส้น ลากตัดผ่านแผนซึ่งก่อตัวขึ้นบนวงกลม 8 จุดของเข็มทิศ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1502 โดยเลโอนาร์โดได้รับแต่งตั้งให้เป็น สถาปนิกและวิศวกรทั่วไปของเชซาเรย์ บอร์เจีย (Cesare Borgia) บุตรชายของสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และจอมพลแห่งกองทหารของสันตะปาปา ทำให้เขามีอำนาจในการขอคนมาสำรวจและสั่งให้ปรับปรุงป้อมปราการเชซาเรย์ ที่อยู่ในเมืองอิโมลา พร้อมกับผู้ติดตามของเขาในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1502 และตอนนั้นเองที่เลโอนาร์โดได้ทำแผนที่อันงดงามของเมืองนี้ขึ้นมา

ในขณะที่ช่างก่อสร้างชาวโรมันผู้มีวิสัยทัศน์สามารถจินตนาการถึงมุมมองดวงตาของพระเจ้าได้ แต่ต้องใช้คนที่มีไหวพริบและทักษะที่ไม่ธรรมดาของเลโอนาร์โดในการวาดจริงด้วยวิธีที่แม่นยำจนน่าตกใจ เขาใช้รูปทรงเรขาคณิตและเข็มทิศ ซึ่งเป็นวิธีการและเครื่องมือแบบเดียวกับที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์โบราณอย่างเอราทอสเทเนสคำนวณเส้นรอบวงของโลกได้ในระยะ 200 ไมล์ เมื่อ 2,000 ปีก่อน

รูปที่ 2.เครื่องวัดระยะทางที่ลักษณะคล้ายกับรถลากขนาดเล็ก (อ้างอิง: Researchgate)

จากการสันนิษฐานเชื่อว่าเลโอนาร์โดได้ใช้เครื่องมือที่เขาประดิษฐ์ คือ เครื่องวัดระยะทาง (Odometer) ที่ลักษณะคล้ายกับรถลากขนาดเล็ก โดยเครื่องวัดจะมีแผ่นไม้วงกลมที่ถูกแบ่งเป็นช่องๆบรรจุลูกหินไว้ช่องละลูก ซึ่งจะมีการเจาะรูหนึ่งไว้ที่พื้นแผ่นไม้ เมื่อรถถูกลากไปก็จะผลักแผ่นไม้และลูกหินให้หมุนตาม พอถึงช่องที่เจาะรูไว้ลูกหินเคลื่อนที่ตกลงไปในถังที่เก็บไว้ด้านล่างไปเรื่อยๆ ดังนั้นเมื่อเรานับจำนวนลูกหินในถังเก็บนั้นก็จะสามารถคำนวณระยะทาง และเข็มทิศ (Compass) ที่ได้ประดิษฐ์คิดค้นเป็นเข็มแม่เหล็กชนิดติดตั้งบนแกนแนวนอน (Horizontal Axis) อันแรกของโลก

และใช้เครื่องมือที่เรียกว่าบัสโซลา (Bussola) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดองศาภายในวงกลม การบันทึกมุมของทางเลี้ยวและทางแยกแต่ละแห่งในเมืองอย่างระมัดระวังและการวัดระยะห่างจากกันและกันจะทำให้เขาได้รับข้อมูลที่จำเป็นในการสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ตามที่เห็นจากด้านบน โดยใช้บัสโซลาเพื่อรักษาขนาดที่เหมาะสม โดยดาวินชีเดินสำรวจเมืองพร้อมกับลากเครื่องวัดระยะทาง ดาวินชีต้องใช้เข็มทิศวัดองศาของมุมหรือจุดเลี้ยวทุกแห่งด้วย เพื่อจะได้วาดเส้นกรอบของสิ่งต่างๆ บนแผนที่จากมุมสูงตามความจริง

รูปที่ 3. เปรียบเทียบแผนที่ของเมืองอิโมลา ที่วาดโดยเลโอนาร์โด ดา วินชีกับ Google Earth ในปัจจุบัน (อ้างอิง: Rct, Google Earth)

อาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับนักประวัติศาสตร์ที่จะระบุว่าความไม่ถูกต้องใดเกิดจากการคาดคะเนผิดพลาดหรือสิ่งใดที่จงใจบิดเบือนเพื่อจุดประสงค์ทางศิลปะบางประการ แต่แผนที่ของเลโอนาร์โดยังคงเป็นผลงานที่น่าอัศจรรย์ ซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจากสภาพภูมิศาสตร์ ไม่มีใครบอกได้ว่าชายยุคเรอเนซองส์เป็นต้นแบบในการทำแผนที่หรือไม่ แต่ถ้าเขาอาศัยอยู่ในศตวรรษที่ 21 เขาคงจะพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคตได้อีกหลายร้อยปี

อ้างอิง: Openculture, Rct, Researchgate

One comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *