เราสามารถเรียนรู้ในขณะที่ “นอนหลับ” ได้จริงๆเหรอ

ในหนึ่งวันเรามีเวลาเพียง 24 ชั่วโมง และโดยปกติประมาณหนึ่งในสามของเวลา คนเราใช้ไปกับการนอนหลับ ดังนั้น จะดีแค่ไหนถ้าจะใช้เวลานี้ในการเรียนรู้ทักษะใหม่หรือการเรียนภาษา กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการเรียนรู้ขณะที่นอนหลับเป็นไปได้หรือไม่

คำตอบคือใช่และไม่ใช่ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราต้องจะการเรียนรู้

ในการเรียนรู้ที่ซับซ้อนหรือเรียนรู้ทักษะใหม่ตั้งแต่ต้น เช่น การพูด การฟัง การบันทึกเสียงระหว่างการนอนหลับนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าสมองที่กำลังหลับอยู่นั้นไม่ได้ใช้งานแต่การเรียนรู้บางรูปแบบก็สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม มันคุ้มค่าที่จะเสียเวลาการนอนหรือเปล่านั้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัด

การเรียนรู้ขณะนอนหลับ: จากเรื่องหลอกลวงสู่วิทยาศาสตร์
แนวคิดของการเรียนรู้ขณะนอนหลับหรือการสะกดจิตมีประวัติอันยาวนาน โดยการศึกษาครั้งแรกที่แสดงให้เห็นถึงความจำและประโยชน์ในการเรียนรู้จากการนอนหลับได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1914 โดยนักจิตวิทยาชาวเยอรมัน โรซา ไฮเนอ (Rosa Heine) โดยจากการศึกษาเธอพบว่าการเรียนรู้เนื้อหาใหม่ในตอนเย็นช่วงก่อนนอน จะทำให้จำได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนรู้ในช่วงตอนกลางวัน

ต้องขอบคุณการศึกษาจำนวนมากที่ทำมาตั้งแต่อดีต ทำให้ในตอนนี้เรารู้แล้วว่าการนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างความทรงจำระยะยาวเกี่ยวกับสิ่งที่เราพบเจอในระหว่างวัน โดยในขณะหลับสมองจะเล่นประสบการณ์ที่ได้รับมาของวันนั้นซ้ำไปซ้ำมาและทำให้มันเสถียร โดยการย้ายจากฮิบโปแคมปัสซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นครั้งแรกไปยังบริเวณต่างๆของสมอง เนื่องจากมีหลายสิ่งที่เกิดขึ้นกับความทรงจำระหว่างการนอนหลับ จึงเป็นเรื่องปกติที่มักจะมีคนจะถามว่าความทรงจำนั้นสามารถเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือสร้างใหม่ได้หรือไม่

หนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมในการเรียนรู้ขณะนอนหลับคือ Psycho-phone ซึ่งเป็นอุปกรณ์ยอดนิยมในช่วงทศวรรษที่ 1930 โดยมันแสดงข้อความที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่นอนหลับเช่น “ฉันจะเปล่งประกายด้านความรัก” ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ผู้คนซึมซับความคิดในจิตใต้สำนึกของพวกเขาและตื่นขึ้นมาด้วยความมั่นใจที่สดใส

โดยในช่วงแรก ดูเหมือนว่างานวิจัยจะมีแนวคิดสนับสนุนเบื้องหลังของอุปกรณ์อย่าง Psycho-phone แต่การค้นพบเหล่านี้ได้ถูกหักล้างในปี ค.ศ. 1950 เมื่อนักวิทยาศาสตร์เริ่มใช้เครื่องมือ EEG (Electroencephalogram) เพื่อตรวจสอบคลื่นสมองในขณะนอนหลับ นักวิจัยพบว่าหากมีการเรียนรู้เกิดขึ้น นั้นเป็นเพราะสิ่งเร้าของผู้เข้าร่วมเท่านั้น การศึกษาเหล่านี้จึงได้ถูกจัดไปอยู่ในวิทยาศาสตร์เทียม (Pseudoscience)

แต่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ผลการศึกษาพบว่าสมองมีการทำงานระหว่างการนอนหลับ การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่าสมองที่หลับอยู่สามารถดูดซับข้อมูลและสร้างความทรงจำใหม่ได้

อย่างไรก็ตาม การค้นพบนี้ช่วยยกระดับการเรียนรู้ขณะนอนหลับที่ถูกจัดไปอยู่ในวิทยาศาสตร์เทียมให้กลับไปอยู่ในวิทยาศาสตร์อีกครั้ง

เป็นเวลาหลายทศวรรษที่วรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์กล่าวว่าการเรียนรู้ในขณะนอนหลับเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ โธมัส แอนดริลลอน (Thomas Andrillon) นักประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยโมนาช ในเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า แม้ว่าการได้เห็นรูปแบบการเรียนรู้พื้นฐานที่สุดก็ยังเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับนักวิทยาศาสตร์ แต่ไม่ใช่สำหรับผู้คนทั่วไป

สำหรับนักวิทยาศาสตร์ การค้นพบล่าสุดได้เพิ่มความหวังเกี่ยวกับการใช้งานที่เป็นไปได้ โธมัส กล่าวกับ ตัวอย่างเช่น โดยธรรมชาติของการเรียนรู้ในขณะนอนหลับนี้มีประโยชน์สำหรับคนที่ต้องการเลิกนิสัยที่ไม่ดี เช่น การสูบบุหรี่ หรือการสร้างนิสัยใหม่ที่ดีๆ

การศึกษาหลายๆชิ้นพบว่ารูปแบบการเรียนรู้พื้นฐานที่เรียกว่าการปรับสภาพสามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างการนอนหลับ ในการศึกษาปี ค.ศ. 2012 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Neuroscience นักวิจัยชาวอิสราเอลพบว่าผู้คนสามารถเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงเสียงกับกลิ่นในขณะที่นอนหลับ นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองเปิดเสียงเพลงในโทนต่างๆให้กับผู้เข้าร่วมการศึกษา และทดลองปล่อยกลิ่นที่บูดเน่า โดยเมื่อได้ยินเสียงผู้คนจะตื่นขึ้นและเมื่อผู้คนได้กลิ่นก็จะกลั้นหายใจ

นี่เป็นการค้นพบว่ามนุษย์สามารถสร้างความทรงจำใหม่ๆ ระหว่างการนอนหลับได้ โธมัส กล่าว

ความจำที่ชัดเจนนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้คนได้ งานวิจัยในปี ค.ศ. 2014 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of ประสาทวิทยา พบว่าผู้ที่สูบบุหรี่จะสูบบุหรี่ลดลงหลังจากทดลองปล่อยกลิ่นบุหรี่ที่จับคู่กับไข่เน่าหรือปลาเน่า

โธมัสและเพื่อนร่วมงานของเขาพบว่าการเรียนในขณะนอนหลับสามารถทำได้มากกว่าการปรับสภาพแบบง่ายๆ ในงานวิจัยปี ค.ศ. 2017 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications อาสาสมัครสามารถเรียนรู้ถึงความซับซ้อนของรูปแบบเสียงที่พวกเขาได้ยินในขณะนอนหลับ

ความสามารถในการเรียนรู้ในขณะนอนหลับอาจจะรวมไปถึงการเรียนรู้คำศัพท์ งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Current Biology นักวิจัยได้ทดลองเล่นคำที่ประกอบขึ้นเป็นคู่และมีความหมายที่เหมือนกัน เช่น คำว่า “guga” ซึ่งหมายถึงช้าง ให้กับผู้เข้าร่วมในขณะหลับ หลังที่ตื่นขึ้นได้ให้ผู้เข้าร่วมได้ทดสอบแบบปรนัย ผลที่ได้คือผู้เข้าร่วมมีโอกาสเลือกคำแปลที่ถูกต้องมากกว่า

การศึกษาเหล่านี้มีสิ่งที่เหมือนกันคือมันแสดงให้เห็นรูปแบบของความทรงจำที่แน่ชัด โธมัส กล่าวว่า “ความรู้บางอย่างไม่ใช่ว่าเขาไม่อยากจะนำมาใช้ แต่เพราะพวกเขาไม่เคยรู้ว่ามีความรู้อยู่ที่นั่นเลยด้วยซ้ำ” คำถามคือ ‘เราจะรู้ความรู้ที่ว่าได้อย่างไร’

การเรียนรู้ภาษาใหม่นั้นมีความซับซ้อนหลายอย่างเช่น การจดจำเสียง การเรียนรู้คำศัพท์ และการเรียนรู้ไวยากรณ์ให้เชี่ยวชาญ จนถึงตอนนี้ งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าอาจจะเป็นไปได้ที่จะทำความคุ้นเคยกับน้ำเสียงและสำเนียงของภาษา หรือแม้แต่ความหมายของคำในขณะนอนหลับ แต่ในระดับที่ต่ำมากกว่าสิ่งที่เราทำอยู่ตลอดเวลาในระหว่างวันจนเราไม่ทันสังเกต

คุณอาจจะต้องพิจารณาความคุ้มค่าของการเรียนรู้ในขณะนอนหลับ โดยข้อมูลใหม่ที่ได้รับอาจจะขัดขวางการทำงานที่ส่งผลเสียต่อการเรียนรู้ประสบการณ์ที่ได้รับมาของวันนั้น โธมัส กล่าว

การสูญเสียการนอนหลับที่มีคุณภาพเพื่อเรียนรู้คำศัพท์สองสามคำนั้นไม่ใช่การแลกเปลี่ยนที่ชาญฉลาด แต่นักวิจัยยังคงศึกษาการเรียนรู้ขณะนอนหลับต่อไปเพราะอาจคุ้มค่าในบางกรณี เช่น เมื่อผู้คนจำเป็นต้องการเปลี่ยนนิสัยหรือเปลี่ยนความทรงจำที่รบกวนจิตใจบางอย่าง หรือกรณีที่เป็นโรคกลัวและโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ

แต่การเรียนรู้ในบางรูปแบบที่อาจจะช่วยไม่ได้ เช่น การศึกษาการปล่อยกลิ่นบุหรี่และไข่เน่า จะไม่ได้ผลเมื่อตื่นนอน หากคุณสูบบุหรี่ทุกวันใกล้กับถังขยะ ซึ่งคุณรู้ว่าทั้งสองไม่เกี่ยวข้องกัน ดังนั้นคุณจึงไม่ต้องเชื่อมโยง ซึ่งยากมากที่จะหลอกสมองในขณะที่ตื่นนอน

แต่สมองที่กำลังหลับนั้นไม่ฉลาดมากนัก และเราสามารถจัดการมันเพื่อประโยชน์ของเราเอง โธมัส กล่าว จำไว้ว่าการนอนหลับฝันดีคือการนอนที่ดีที่สุดแล้ว

อ้างอิง: livescience

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *