นี่คือการค้นพบ “ทองคำ”(ใหญ่) ที่สุดในโลก

มนุษย์เรารู้จักกับทองคำโลหะสีเหลืองมันวาวเนื้ออ่อนมาตั้งแต่โบราณหลายพันปีก่อน ผู้ที่มีครอบครองแสดงถึงความมั่งคั่งและพวกมันยังมีประโยนช์อีกมากมายไม่ว่าจะเป็น การใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ งานทันตกรรม เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ หรือเป็นเครื่องประดับ แต่การจะหาโลหะเหล่านี้ส่วนใหญ่จะได้มาจากการขุดทำเหมืองและได้มีบันทึกในประวัติศาสตร์ของการค้นพบก้อนทองขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบมา

นี่คือก้อนทองโฮลเทอร์มันน์ (Holtermann Nugget) ก้อนทองคำขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยค้นพบมาบนโลก ซึ่งค้นพบในปี ค.ศ. 1872 โดยในการขุดพบครั้งนี้จะก้อนของแร่ที่ประกอบไปด้วยทองคำ (Gold), ควอตซ์ (Quartz) และหินชนวน (Slate) ที่มีน้ำหนักรวมคือ 285 กิโลกรัม แต่ถ้าคิดเฉพาะน้ำหนักของทองคำคือ 93.2 กิโลกรัม มีขนาดสูง 144.8 เซนติเมตร กว้าง 66 เซนติเมตร และหนา 10.2 เซนติเมตร ถ้าเทียบมูลค่าทองคำในปัจจุบันจะอยู่ที่ประมาณ 190 ล้านบาท

มันถูกค้นพบเมื่อเวลา 02.00 น. ของวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1872 ในเหมืองดวงดาวแห่งความหวัง (Star of Hope Mine) ที่ฮอว์กินส์ ฮิลล์ (Hawkins Hill) เมืองฮิลล์เอนด์ (Hill End) รัฐนิวเซาท์เวลส์ ในประเทศออสเตรเลีย หลังจากการระเบิดเหมืองในเวลาเที่ยงคืนเผยให้เห็น ก้อนทองคำขนาดยักษ์ที่ดูเหมือนกำแพง โดยแบร์นฮาร์ด โฮลเทอร์แมน (Bernhardt Holtermann) มีผู้จัดการเหมือง และสมาชิกองค์กรหลุยส์ เบเยอร์ส (Louis Beyers) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทสตาร์ออฟโฮปโกลด์ไมนิ่ง (Star of Hope Gold Mining) แห่งนี้

ทองคำ คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 มีสัญลักษณ์เป็น Au ที่มาจากภาษาละตินว่าออรัม (Aurum) จัดอยู่ในกลุ่มธาตุโลหะมีสกุลชนิดหนึ่ง ทองคำเป็นธาตุโลหะเนื้ออ่อนสามารถตีและยืดขึ้นรูปได้ ทองคำจะไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ซึ่งมีจุดหลอมเหลว 1064 องศาเซลเซียส และจุดเดือด 2970 องศาเซลเซียส

โดยก้อนทองก้อนนี้ถูกสร้างแบบจำลองขึ้นจากเรซินและไฟเบอร์กลาสถูกจัดแสดงในแกลเลอรี่แร่ (Mineral Gallery) ในอดีตจนถึงต้นทศวรรษที่ 1970 และมันได้ย้ายไปยังพื้นที่จัดเก็บนอกสถานที่ต่อเนื่องกันประมาณห้าครั้ง ทำให้เกิดฝุ่นห่อหุ้มจนไม่เห็นความงดงามของมันได้ ในปี ค.ศ. 2016 ได้เริ่มทำการบูรณะดำเนินการโดยจอร์จ สมิธ (George Smith) อาสาสมัครด้านแร่วิทยา

โดยเขาได้กำจัดฝุ่น ซ่อมแซมรอยขีดข่วนและรอยบุบ และทาสีพื้นผิวด้วยสีทองสองสีที่แตกต่างกัน และทาด้วยสีขาวและสีเทาสีน้ำเงินเลียนแบบควอตซ์และหินชนวน แน่นอนว่าการถ่ายภาพในยุค 1870 นั้นจะไม่มีสีแต่จะเป็นภาพขาวดำ ทำให้เป็นเรื่องยากมากที่จะทาสีให้กลับมาเหมือนเดิม ซึ่งทำให้ต้องใช้เวลาดำเนินการทั้งหมดประมาณ 66 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยประมาณ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เป็นเวลา 22 สัปดาห์ และแล้วเสร็จเดือนมิถุนายน ในปี ค.ศ. 2017

อ้างอิง: Australian, Myzillion

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *