นี่คือฟอสซิล “ไดโนเสาร์” ที่ไม่บุบสลายมากที่สุดที่เคยพบมา

ในการสำรวจขุดซากดึกดำบรรพ์นั้น หลายๆคนหวังที่ค้นพบซากฟอสซิลต่างๆหรือการค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่เคยค้นพบ แต่นี่คือการค้นพบซากฟอสซิลที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์

รูปที่ 1. ดร.ไบรอัน พิกเคิลส์และดร.คาเลบ บราวน์กับโครงร่างฮาโดโรซอร์ในหิน (อ้างอิง: Iflscience)

นี่คือการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ที่มีเนื้อเยื่ออ่อนที่เก็บรักษาไว้นั้นหายากอย่างไม่น่าเชื่อ โดยเทรี่ คาสกี้ (Teri Kaskie) ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและสมาชิกอาสาสมัครของทีมขุดค้นและวิจัยได้ค้นพบกระดูกยื่นออกมาจากเนินเขาในอุทยานไดโนเสาร์ (Dinosaur Provincial Park) ของในอัลเบอร์ตา (Alberta) ประเทศแคนาดา ที่มีพื้นที่ 73 ตารางกิโลเมตร แต่ดูเหมือนว่าเทรี่จะค้นพบเป็นส่วนหนึ่งของตัวอย่างที่ได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นพิเศษ ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในฮาโดรซอร์ (Hadrosaurs) ที่ไม่บุบสลายมากที่สุดเท่าที่เคยพบมา

อุทยานไดโนเสาร์แห่งนี้เต็มไปด้วยฟอสซิลที่มีอายุ 75-77 ล้านปีก่อน ซึ่งดร.ไบรอัน พิกเคิลส์ (Dr.Brian Pickles) จากมหาวิทยาลัยเร้ดดิ้ง (University of Reading) จากสหราชอาณาจักร และดร.คาเลบ บราวน์ (Dr.Phil Bell) จากมหาวิทยาลัยนิวอิงแลนด์ (University of New England: UNE) จากออสเตรเลีย ได้วางแผนที่จะนำนักเรียนไปขุดที่นั่นในปี ค.ศ. 2019 แต่เกิดการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 ทำให้แผนนั้นได้หยุดชะงัก แต่ในปี ค.ศ. 2021 เทรี่ได้ร่วมงานกับดร.ไบรอันเพื่อสำรวจพื้นที่ที่นักเรียนสามารถเริ่มต้นทำการสำรวจได้

การค้นพบครั้งนี้พบชิ้นส่วนที่ชัดเจนคือหางและเท้าขวาของฮาโดโรซอร์ ที่เป็นไดโนเสาร์กินพืชมีโครงสร้างเหมือนม้าและมีขากรรไกรแบนทำให้มีรูปร่างลักษณะของปากเหมือนกับปากเป็ด ที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือยุคครีเทเชียส (Cretaceous) ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์อย่างมากและค่อนข้างพิเศษ ที่มีความยาว 4 เมตร เสียชีวิตเมื่อประมาณ 76 ล้านปีก่อน ขณะท่องไปตามแม่น้ำที่ซับซ้อนซึ่งตัดผ่านภูมิประเทศในช่วงยุคครีเทเชียส

รูปที่ 2. รายละเอียดระยะใกล้ของกระดูกสันหลังส่วนหางพร้อมรอยประทับที่ผิวหนังของฮาโดโรซอร์ (อ้างอิง: Iflscience)

โดยทั่วไปแล้วฮาโดรซอร์ที่ค้นพบส่วนใหญ่นั้นจะเป็นตัวที่โตเต็มวัย ซึ่งจะมีขนาดอย่างน้อยเป็น 2 เท่าของตัวอย่างที่ค้นพบนี้ นั่นแสดงให้เห็นว่าฮาโดรซอร์ที่ค้นพบใหม่นี้ยังเป็นลูกของฮาโดรซอร์ ซึ่งหายากมากที่จะค้นพบฟอสซิลช่วงเด็ก เพราะโดยปกติแล้วไดโนเสาร์จะโตเร็วมาก และเรามักจะพบซากที่โตเต็มวัย แม้จะมีซากดึกดำบรรพ์ฮาโดรซอร์มากมาย แต่เราไม่มีฮาโดรซอร์ช่วงวัยเด็กจำนวนมากที่จะช่วยค้นพบว่าพวกมันเติบโตอย่างไร

สิ่งที่เราค้นพบทำให้มีแนวโน้มว่าฮาโดรซอร์นั้นจะถูกเก็บรักษาไว้ในหิน ซึ่งอาจจะเป็นโครงกระดูกทั้งหมดที่จะรวมกะโหลกศีรษะที่ได้รับการปกปิดหรือถูกฝังค่อนข้างเร็ว ไม่เช่นนั้นมันจะไม่สามารถเก็บรักษาไว้อย่างดีได้ โดยคุณสามารถเห็นส่วนกระดูกสันหลังและเส้นเอ็นบางส่วน และเมื่อคุณเข้าไปใกล้ คุณจะเห็นเกล็ดบางส่วน ที่มีผิวคล้ำและเป็นสะเก็ดมีลักษณะเหมือนบาสเก็ตบอล นี่คือสิ่งที่พิเศษมากที่ไม่สามารถพบบ่อยนัก

หลังจากที่งานภาคสนามสามารถกลับมาทำงานได้ โดยมีนักศึกษาระดับปริญญาตรีจากและสูงกว่า วางแผนและทำแผนที่พื้นผิวหินและเริ่มการขุดค้น พร้อมกับผู้เชี่ยวชาญจากพิพิธภัณฑ์บรรพชีวินวิทยารอยัล ไทร์เรล (Royal Tyrrell) ซึ่งนักศึกษาได้ปิดพื้นที่รอบๆฮาโดรซอร์อันล้ำค่านี้ในขณะที่การขุดได้เริ่มขึ้นจากยอดเขาเพื่อเข้าถึงชั้นซากดึกดำบรรพ์ เมื่อไปถึงที่นั่นแล้ว คำถามที่ใหญ่ที่สุดก็คือว่ากะโหลกจะรอดหรือไม่ และได้มีการอนุญาตให้มีการจัดสรรฮาโดโรซอร์ที่รู้จักกว่า 60 สายพันธุ์ หรือเปิดเผยสายพันธุ์ใหม่

รูปที่ 3. รายละเอียดระยะใกล้ของกระดูกข้อเท้าพร้อมรอยประทับที่ผิวหนังของฮาโดโรซอร์ (อ้างอิง: Livescience)

นี่เป็นการค้นพบที่น่าตื่นเต้นมาก และเราหวังว่าจะเสร็จสิ้นการขุดใน 2 ฤดูกาลถัดไป เมื่อเป็นเช่นนั้น กระดูกและหินที่อยู่รอบๆพวกมันจะถูกย้ายไปยังที่ห้องทดลองที่เตรียมไว้ของพิพิธภัณฑ์รอยัล ไทร์เรลล์ ในดรัมเฮลเลอร์ (Drumheller) เมืองที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาลการี (Calgary) ซึ่งเป็นงานที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนของการค้นพบกระดูกและหวังว่าจะพบผิวหนังด้วย อาจจะต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่โครงกระดูกสมบูรณ์จะถูกตีพิมพ์

ทุกวันนี้ พื้นที่อุทยานไดโนเสาร์ซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลกขององค์การยูเนสโก ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งขุดซากฟอสซิลไดโนเสาร์และเป็นสถานีเผยแพร่ภาพสาธารณะแห่งชาติของแคนาดา ที่ค้นพบพบโครงกระดูกหรือกะโหลกไดโนเสาร์ที่มีประมาณ 400 ถึง 500 ตัว ในพื้นที่ดังกล่าว

อ้างอิง: Iflscience, Livescience

One comment

  1. Very nice post. I just stumbled upon your blog and wanted to say that I’ve really enjoyed browsing your blog posts. In any case I’ll be subscribing to your feed and I hope you write again soon!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *