นี่คือการค้นพบ “จีโนม”(ฉลามขาว) ที่ทำให้ฟื้นฟูร่างกายได้รวดเร็ว

ถ้าพูดถึงสัตว์นักล่าในทะเลอันกว้างใหญ่ เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึง ฉลาม สัตว์อันทรงพลังและแข็งแกร่งที่มียีนที่ทนต่อความเสียหายและฟื้นฟูซ่อมแซมร่างกายได้รวดเร็วอย่างกับมนุษย์กลายพันธ์ุวูล์ฟเวอรีนในภาพยนตร์

รูปที่ 1. ฉลามขาว (อ้างอิง: Businessinsider)

นี่คือฉลามขาว (Great White Sharks) มียีนที่ทนต่อความเสียหายและพลังในการรักษาฟื้นฟูซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกาย มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งที่ต่ำมาก มีชื่อเสียงในฐานะสัตว์นักล่าแห่งท้องทะเล แต่ในความเป็นจริง ฉลามขาวอาจจะให้เบาะแสเกี่ยวกับรากฐานทางพันธุกรรมของดีเอ็นเอ (DNA) ที่ซ่อมแซมตัวเองได้

นับเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์สามารถจัดลำดับจีโนมทั้งหมดของฉลามขาวได้สำเร็จ จีโนม (Genome) คือสารพันธุกรรมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต ซึ่งก็คือยีนและดีเอ็นเอของมัน โดยฉลามเหล่านี้มี 4.63 พันล้านขั้นบนบันไดดีเอ็นเอและมีโครโมโซม 41 คู่ เมื่อเทียบกับของมนุษย์แล้วมีเพียงแค่ 23 คู่ ซึ่งการศึกษาใหม่เปิดเผยความพยายามในการจัดลำดับนี้ซึ่งต้องใช้เวลานานหลายปี

แต่นักวิทยาศาสตร์คิดว่างานนี้คุ้มค่า ดังที่เมห์มูด ชิวิจิ (Mahmood Shivji) นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยโนวาเซาท์อีสเทิร์น (Nova Southeastern University) และผู้ร่วมเขียนผลการศึกษาใหม่เกี่ยวกับจีโนมของฉลามกล่าวว่า ฉลามเป็นที่รู้จักกันดีว่าสามารถรักษาบาดแผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ไม่มีใครรู้ว่าทำไม เมห์มูดกล่าว

จีโนมใหม่นี้สามารถเปิดเผยความลับทางพันธุกรรมมากมายที่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมสัตว์เหล่านี้จึงเก่งในการรักษาและป้องกันโรค เมห์มูดกล่าวว่า มีสิ่งมหัศจรรย์มากมายที่ต้องเรียนรู้จากวิวัฒนาการที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงเหล่านี้ ซึ่งฟังก์ชั่นและการออกแบบของมันมาจาก 400 ล้านปีของวิวัฒนาการที่ได้รับการปรับแต่งอย่างดีเยี่ยม โดยฉลามขาวและฉลามอื่นๆดูเหมือนจะมีความสามารถในการฟื้นตัวจากบาดแผลที่รุนแรง การบาดเจ็บที่อาจจะมาจากพฤติกรรมเสี่ยงการหาคู่ การต่อสู้กับฉลามตัวอื่นหรือการถูกล่าโดยฉมวก ซึ่งจะใช้เวลาในการรักษาฟื้นฟูในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์

รูปที่ 2. ฉลามขาวได้รับบาดเจ็บ (อ้างอิง: Businessinsider)

เมห์มูดและผู้เขียนร่วมของเขาพบว่าเสือโคร่งขาวมียีนที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด พร้อมด้วยโปรตีนหลายชนิดที่ช่วยสร้างผิวหนังและเนื้อเยื่อใหม่มากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ปลา หรือนกอื่นๆ ไมเคิล สแตนโฮป (Michael Stanhope) นักชีววิทยาด้านวิวัฒนาการแห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนล (Cornell University) ซึ่งเป็นผู้นำการศึกษาร่วมกันกับเมห์มูดกล่าวว่า พวกมันได้ใช้ส่วนสำคัญของจีโนมเพื่อรักษาบาดแผล

นอกจากการฟื้นฟูรักษาตัวเองอย่างรวดเร็วนี้แล้วยังพบว่า ฉลามขาวนั้นมีอัตราการเป็นมะเร็งน้อยกว่ามนุษย์มาก แม้ว่าพวกมันจะมีขนาดใหญ่ก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว นักวิทยาศาสตร์คิดว่าโอกาสในการเกิดมะเร็งควรเพิ่มขึ้นตามขนาดร่างกายและอายุขัยของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากการมีจำนวนเซลล์มากขึ้นและอายุยืนยาวขึ้นทำให้มีโอกาสสะสมความเสียหายของดีเอ็นเอที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้มากขึ้น แต่เป็นเรื่องยากที่จะพบฉลามป่วยในธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการโมทย์มารีน (Mote Marine Laboratory) เขียนในการศึกษาปี ค.ศ. 2018

ฉลามขาวสามารถเติบโตและยาวได้ถึง 6 เมตร หนักประมาณ 3,000 กิโลกรัม และมีอายุระหว่าง 40-70 ปี ดังนั้นความจริงที่ว่าพวกมันไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นนั้น แสดงว่ามีบางอย่างในจีโนมของพวกมันที่คอยปกป้องให้ความคุ้มครอง จากการศึกษาครั้งใหม่ อาจจะเป็นไปได้ว่ารหัสพันธุกรรมของฉลามขาวซ่อนสมดุลของดีเอ็นเอที่ตรงข้ามกัน ซึ่งทำให้จีโนมโดยรวมมีความเสถียร

ในอีกแง่หนึ่ง จีโนมอาจจะมียีนกระโดดเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นยีนที่สร้างสำเนาของตัวเองแล้วแทรกตัวเองเข้าไปในส่วนต่างๆของจีโนม เมห์มูดกล่าวว่านักวิทยาศาสตร์คาดว่ายีนเหล่านี้จะทำให้จีโนมไม่เสถียรมากขึ้น เนื่องจากพวกมันทำให้สายดีเอ็นเอแตกตัวเมื่อมีการแทรก ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดและความเสียหายในรหัสพันธุกรรม

ความไม่แน่นอนของจีโนมดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นของโรคมะเร็งในมนุษย์ เช่นเดียวกับโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับอายุ เช่น อัลไซเมอร์ แต่กลับกลายเป็นว่าจีโนมของฉลามขาวทำให้ยีนกระโดดเหล่านี้สมดุลกับยีนที่เสถียรซึ่งเกี่ยวข้องกับการซ่อมแซมดีเอ็นเอ การตอบสนองต่อความเสียหาย และความทนทานต่อความเสียหาย ดูเหมือนว่าฉลามขาวได้พัฒนาวิธีการรักษาจีโนมของพวกมันให้คงที่แม้จะมีร่างกายที่ใหญ่โตและอายุขัยที่ยาวนานก็ตาม เมห์มูดกล่าว

รูปที่ 3. การค้นพบและการทดลองจีโนมของฉลามขาว (อ้างอิง: Businessinsider)

พันธุกรรมของฉลามนั้นอาจจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์ ในขณะที่แนวคิดที่ว่าฉลามสามารถป้องกันมะเร็งได้ยังคงแพร่กระจายไปทั่ว แต่สัตว์เหล่านี่ก็สามารถเป็นโรคได้ มีรายงาน 44 กรณีของโรคมะเร็งใน 21 ชนิด ที่แตกต่างกันของคอนดริชธีส (Chondrichthyes) ซึ่งเป็นประเภทที่มีฉลามและปลากระเบน จากรายงาน 44 ฉบับนั้น มีประมาณหนึ่งในสามเป็นเนื้อร้าย จากการศึกษาในปี ค.ศ. 2016

โดยความเชื่อเรื่องมะเร็งนั้นเป็นพื้นฐานของยาเม็ดกระดูกอ่อนฉลาม ซึ่งการขายยังคงทำลายประชากรฉลามทั่วโลก ปัจจุบันฉลามขาวขนาดใหญ่ได้รับการระบุว่าเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for the Conservation of Nature) เมห์มูดเน้นย้ำว่าการรับประทานผลิตภัณฑ์จากฉลาม เช่น การรับประทานยาเม็ดกระดูกอ่อนหรือการบริโภคซุปหูฉลาม จะไม่ช่วยเพิ่มความสามารถของยีนในการต่อต้านมะเร็ง

เราต้องการหลีกเลี่ยงการสร้างความประทับใจให้กับผู้คนว่าถ้าคุณกินฉลาม มันจะรักษาโรคได้ เมห์มูดกล่าว มันไร้สาระพอๆกับพูดว่า ถ้าคุณกินฉลาม คุณจะกลั้นหายใจได้ดีขึ้น แต่เขาเสริมว่าจีโนมของฉลามสามารถให้ข้อมูลที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานด้านชีวการแพทย์ของมนุษย์ แก่นักวิทยาศาสตร์ รวมถึงวิธีการต่อสู้กับโรคมะเร็งและโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุและการรักษาซ่อมแซมบาดแผล อย่างไรก็ตามการที่จะพัฒนาขึ้นจากการค้นพบนี้ยังห่างไกล คงจะต้องใช้เวลาหลายปีในการทำงาน

อ้างอิง: Businessinsider

One comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *