นี่คือ”ภาพถ่ายสี”(ภาพแรกของโลก) โดยเจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์

ในปัจจุบันเราคงเห็นรูปหรือภาพถ่ายที่ถูกโพสลงสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆมากมาย แต่รู้หรือไม่ว่าภาพถ่ายมีที่มีสีสัน ภาพแรกมีความเป็นมาอย่างไร

รูปที่ 1. ริบบิ้นผ้าลายตารางหมากรุก (Tartan Ribbon) (อ้างอิง: Artsy)

นี่คือภาพถ่ายสีภาพแรกของโลก (First Color Photograph) โดยเจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ (James Clerk Maxwell) นักวิทยาศาสตร์ชาวสก็อตผู้ที่มีความสนใจในเรื่องต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็น การวิจัยเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้า การกำหนดองค์ประกอบของวงแหวนของดาวเสาร์ การกำหนดสมการที่นำไปสู่ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ในที่สุด อีกทั้งแมกซ์เวลล์ยังเป็นคนรักในบทกวีนิพนธ์ชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ถึงขนาดแต่งกลอนของเขาเอง

นอกจากนี้ เขายังหลงใหลเกี่ยวกับสี โดยตั้งทฤษฎีในปี ค.ศ. 1855 ว่าสีรุ้งทุกเฉดสามารถสร้างขึ้นได้โดยใช้แสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงินที่แตกต่างกัน ซึ่งในปี ค.ศ. 1860 แมกซ์เวลล์รับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่คิงส์คอลเลจลอนดอน (King’s College London) ซึ่งเขาได้ทำการทดลองต่อไปในด้านการรับรู้และการมองเห็น ด้วยความช่วยเหลือจากภรรยาของเขาแคทเธอรีแมรี่ เดวาร์ (Katherine Mary Dewar) เขาได้สร้างกล่องสีที่ทำจากไม้ยาว 2.43 เมตร ในห้องใต้หลังคาของบ้านของพวกเขาในพาเลซ การ์เดน เทอเรซ (Palace Gardens Terrace) ในเคนซิงตัน (Kensington) ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถผสมสีหลัก 3 สี ได้แม่นยำยิ่งขึ้น เพื่อสร้างเฉดสีอื่นๆเมื่อทดลอง

รูปที่ 2. การถ่ายภาพขาวดำเป็นชุดผ่านฟิลเตอร์สีเขียว น้ำเงิน-ม่วง และแดง (Tartan Ribbon) (อ้างอิง: Sutori)

สมมติฐานของเขา แมกซ์เวลล์ตระหนักได้ว่าเป็นวิธีการสร้างภาพสีเต็มรูปแบบ ด้วยการถ่ายภาพขาวดำเป็นชุดผ่านฟิลเตอร์สีเขียว น้ำเงิน-ม่วง และแดง เราสามารถฉายภาพ 3 ภาพแยกกันบนหน้าจอและจบลงด้วยภาพที่มีสเปกตรัมสีทั้งหมด ซึ่งภาพถ่ายเหล่านี้สร้างขึ้นโดยใช้แผ่นแก้วเคลือบด้วยอิมัลชัน (Emulsion) ที่ไวต่อแสง ซึ่งทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการถ่ายภาพก่อนที่จะถ่ายแบบฟิล์ม แต่จริงๆแล้ว มันไม่ใช่ภาพถ่ายสีแบบสมัยใหม่ ดร.คริสติน เคนยอน โจนส์ (Dr. Christine Kenyon Jones) นักประวัติศาสตร์และนักประพันธ์ของคิงส์คอลเลจลอนดอนในปี ค.ศ. 2004 กล่าว

อย่างไรก็ตาม สำหรับทฤษฎีทั้งหมดของเขา แมกซ์เวลล์ไม่ได้ทดลองกระบวนการนี้จนกระทั่งปี ค.ศ. 1861 ราวๆ 6 ปีหลังจากที่เขาเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นครั้งแรก และในขณะที่วิธีการนี้อาจฟังดูค่อนข้างง่ายสำหรับคนรุ่นใหม่ แต่ความจริงก็คือว่าต้องใช้ช่างภาพที่มีทักษะ ความอดทนและโชคดีที่จะสามารถถ่ายภาพออกมาได้ จอห์น เอส. เรด (John S. Reid) เขียนไว้ในหนังสือปี ค.ศ. 2014 ที่เกี่ยวกับชีวิตและการทำงานของแมกซ์เวลล์ ซึ่งชายคนนั้นที่ถ่ายภาพก็คือโทมัส ซัตตัน (Thomas Sutton) ศาสตราจารย์ด้านการถ่ายภาพคนที่ 2 ของคิงส์คอลเลจลอนดอน

คิงส์คอลเลจลอนดอนเป็นผู้บุกเบิกในยุคแรกๆในการศึกษาการถ่ายภาพและอาจารย์ของคิงส์คอลเลจลอนดอนได้มีอำนาจในการปกครองสมาคมถ่ายภาพ (Photographic Society) ในยุคนั้น เคนยอน โจนส์ (Kenyon Jones) กล่าว ซึ่งที่นี่มีศาสตราจารย์เกี่ยวกับด้านการถ่ายภาพเป็นคนแรก ในสหราชอาณาจักรและน่าจะในโลกนี้อีกด้วย ซัตตันเองก็เป็นผู้บุกเบิกการถ่ายภาพ โดยคิดค้นกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดียวและรวบรวมเทคนิคการถ่ายภาพในอังกฤษฉบับแรกในปี ค.ศ. 1858

ภายใต้การดูแลของแมกซ์เวลล์ ซัตตันได้ถ่ายภาพวัตถุเดียวกัน 3 ครั้งผ่านฟิลเตอร์ สีแดง สีเขียวและสีน้ำเงิน-ม่วง โดยที่พวกเขาเลือกริบบิ้นผ้าลายตารางหมากรุก (Tartan Ribbon) สำหรับวัตถุที่ใช้ถ่ายภาพ ซึ่งเป็นภาพสะท้อนสีออกมา พวกเขากล่าว พวกเขาคิดว่าพวกเขากำลังมองหาบางสิ่งบางอย่างที่มีสีต่างกัน

แมกซ์เวลล์ใช้การฉายภาพเพื่อแสดงทฤษฎีของเขาในการบรรยายที่ราชสถาบัน (The Royal Institution) ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1861 ซึ่งเขาได้พิสูจน์ประเด็นของเขาแล้ว หลังจากนั้นเขาไม่ได้พยายามติดตามเทคโนโลยีเกี่ยวกับการถ่ายภาพอีกต่อไป เพราะความสนใจที่แท้จริงของเขาไม่ใช่ตัวการถ่ายภาพ แต่เป็นคุณสมบัติของแสงและการมองเห็นของมนุษย์ เคนยอน โจนส์อธิบาย แต่ใช้เวลากว่า 30 ปี ก่อนที่จะมีใครหยิบหัวข้องานของแมกซ์เวลล์ขึ้นมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ใช้งานได้จริง และจนกระทั่งปี ค.ศ. 1906 ก็มีแผ่นแก้วที่ไวต่อสเปกตรัมที่มองเห็นได้ทั้งหมด

ซึ่งปัจจุบันแผ่นฟิลเตอร์ทั้ง 3 แผ่นที่ประกอบกันเป็นภาพถ่ายสีชุดแรกของโลก อยู่ในบ้านเก่าของแมกซ์เวลล์ในเอดินบะระ (Edinburgh) ซึ่งปัจจุบันได้ถูกตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์

อ้างอิง: Artsy

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *