นี่คือค้นพบว่า “ยาแก้แพ้”(อีพิเพน) เป็นพิษในอวกาศโดยนักเรียนประถม

ในการศึกษาและสำรวจอวกาศของนาซ่านั้น ในบางครั้งก็จะใช้การระดมความคิดและทดลองจากโครงการต่างๆที่ส่งเสริมการศึกษา

รูปที่ 1. ยาแก้แพ้อีพิเพน (อ้างอิง: Livescience)

นี่คือโครงการของนักเรียนชั้นประถมอายุ 9 ถึง 12 ปี ในแคนาดาที่ได้ค้นพบว่ายาแก้แพ้อีพิเพน (EpiPen) จะกลายเป็นสารพิษได้เมื่อปล่อยขึ้นสู่อวกาศ โดยอีพิเพนนั้นคือเข็มฉีดสารอีพิเนฟรีน (Epinephrine) ซึ่งก็คือฮอร์โมนอะดรีนาลีนที่บรรจุในกระบอกฉีดรูปทรงคล้ายปากกา ใช้ในการรักษาหรือบรรเทาปฏิกิริยาภูมิแพ้แบบเฉียบพลันในกรณีฉุกเฉิน

โดยอีพิเพนที่ช่วยชีวิตสามารถเปลี่ยนเป็นสารพิษได้เมื่อปล่อยขึ้นสู่อวกาศ โดยนักเรียนจากโรงเรียนเซนต์บราเดอร์อังเดรในโครงการส่งเสริมผู้มีความเป็นเลิศทางปัญญา (St. Brother André School’s Program for Gifted Learners: PGL) ในออตตาวา (Ottawa) ที่ได้ศึกษาผลกระทบของรังสีคอสมิกต่ออะดรีนาลีน ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ที่พบในอีพิเพน ซึ่งใช้เป็นการรักษาฉุกเฉินที่เกิดขึ้นระหว่างเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง โดยนาซ่าเลือกการทดลองของนักเรียนให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการลูกบาศก์ในอวกาศ (Cubes in Space) ซึ่งเป็นโปรแกรม STEM ระดับโลกที่มุ่งเน้นสำหรับเด็กวัยเรียนโดยเฉพาะ

รูปที่ 2. โครงการลูกบาศก์ในอวกาศ (อ้างอิง: Schools.cranbrook)

สำหรับโปรแกรมนี้ จะเป็นนักเรียนอายุ 9 ถึง 12 ปี ได้ออกแบบการทดลองโดยการใส่ตัวอย่างอะดรีนาลีนลงในก้อนลูกบาศก์เล็กๆและส่งไปยังอวกาศโดยใช้บอลลูนลมร้อนหรือจากการยิงจรวด และเมื่อกลับมายังโลก นักวิจัยจากสถานีเครื่องสเปกโตรมิเตอร์มวลสารของจอห์นแอลโฮล์มส์ (John L. Holmes Mass Spectrometry Facility) แห่งมหาวิทยาลัยออตตาวาได้ทดสอบตัวอย่างและพบว่ามีเพียง 87% เท่านั้นที่มีอะดรีนาลีนบริสุทธิ์ ในขณะที่อีก 13% ถูกเปลี่ยนเป็นอนุพันธ์ของกรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) ที่เป็นพิษร้ายแรง ตามแถลงการณ์ของมหาวิทยาลัยออตตาวา

โดยรังสีคอสมิกนั้นเกิดจากอนุภาคพลังงานสูงมากที่ปล่อยออกมาจากดวงดาว รวมทั้งดวงอาทิตย์ของโลก ซึ่งชั้นบรรยากาศของโลกของเรานั้นส่วนใหญ่จะปกป้องสิ่งมีชีวิตบนโลกจากรังสีนี้ แต่นักบินอวกาศที่สัมผัสกับรังสีคอสมิกเป็นระยะเวลานานจะเผชิญกับความเสี่ยงด้านสุขภาพที่สำคัญ ซึ่งรวมถึงความเจ็บป่วยจากรังสีและความเสี่ยงตลอดชีวิตที่เพิ่มขึ้นสำหรับโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ

ซึ่งรังสีคอสมิกยังแสดงให้เห็นผลกระทบที่ชัดเจนต่อสารเคมีเช่น อะดรีนาลีน โดยพอล เมเยอร์ (Paul Mayer) ศาสตราจารย์ภาควิชาเคมีและวิทยาศาสตร์ชีวโมเลกุลแห่งมหาวิทยาลัยออตตาวากล่าวว่า หลังจากตัวอย่างแสดงสัญญาณว่าอะดรีนาลีนนั้นจะทำปฏิกิริยาและสลายตัว ซึ่งผลลัพธ์นี้ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพของอีพิเพนสำหรับการใช้งานในอวกาศ และตอนนี้เด็กๆเริ่มตอบคำถามเหล่านี้ในโครงการ PGL แล้ว

รูปที่ 3. การศึกษา STEAM เป็นการผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะ และคณิตศาสตร์ (อ้างอิง: Livescience)

แม้ว่ากรดเบนโซอิกจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติในพืชบางชนิด รวมถึงแครนเบอร์รี่ พลัม และอบเชย ที่มักใช้เป็นสารถนอมอาหาร โดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health: NIH) ได้จัดประเภทเป็นสารประกอบที่ไม่มีสีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อบริโภคในปริมาณสูง ตอนนี้นักเรียนกำลังออกแบบแคปซูลเพื่อปกป้องอีพิเพนขณะอยู่ในอวกาศ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2023 พวกเขาจะเดินทางไปยังศูนย์วิจัยแลงลีย์ (Langley Research Center) ในเมืองแฮมป์ตัน รัฐเวอร์จิเนีย เพื่อนำเสนอผลการค้นพบต่อนาซ่า

อ้างอิง: Livescience

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *