นี่คือ “ค็อคโคโลบา”(กิกานติโฟเลีย) ที่มีใบขนาดใหญ่ที่ยาวถึง 2.5 เมตร

ในธรรมชาติบนโลกเรานั้น มีต้นไม้พืชพรรณต่างๆมากมายที่มีความแตกต่างและมีเอกลักษณ์ นี่คือต้นไม้ค็อคโคโลบา กิกานติโฟเลีย (Coccoloba Gigantifolia) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ต้นไม้จากป่าแอมะซอนของบราซิลที่มีใบขนาดใหญ่มหึมาที่มีความยาวถึง 2.5 เมตร และมีลำต้นสูงประมาณ 15 เมตร ซึ่งน่าจะเป็นใบไม้ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาพืชใบเลี้ยงคู่

รูปที่ 1. ขนาดใบของต้นไม้ค็อคโคโลบา กิกานติโฟเลีย (Coccoloba Gigantifolia) (อ้างอิง: Mongabay)

เป็นระยะเวลามากกว่า 35 ปี หลังจากการพบเห็นครั้งแรก นักวิจัยได้บรรยายถึงต้นไม้กิกานติโฟเลีย ที่เป็นที่รู้จักของมาเป็นเวลานานแล้ว นักวิจัยกล่าวว่าต้นไม้สายพันธุ์นี้หายากและน่าจะมีจำนวนไม่มาก ซึ่งนักวิจัยได้ระบุว่าเป็นสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์

ที่สถาบันวิจัยแอมะซอนแห่งชาติ (The National Institute of Amazonian Research: INPA) ในเมืองมาเนาส์ (Manaus) ประเทศบราซิล ได้มีการจัดแสดงใบไม้แห้งขนาดใหญ่ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่นมาเป็นเวลาหลายสิบปี ที่มีเอกลักษณ์ของต้นไม้

นักวิจัยทราบว่าต้นไม้ดังกล่าวเป็นสายพันธุ์ของค็อคโคโลบา (Coccoloba) ซึ่งเป็นพืชไม้ดอกชนิดหนึ่งที่เติบโตในป่าเขตร้อนของทวีปอเมริกา นักพฤกษศาสตร์จากที่สถาบันวิจัยแอมะซอนแห่งชาติได้พบต้นค็อคโคโลบาที่ไม่รู้จักเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1982 ขณะสำรวจลุ่มน้ำในแอมะซอนของบราซิล พวกเขาพบเห็นต้นไม้ชนิดนี้แต่ไม่สามารถระบุชนิดพันธุ์ได้ในขณะนั้น ต้นไม้ที่พบแต่ละต้นไม่มีดอกหรือผลใดๆเลย ซึ่งเป็นส่วนที่จำเป็นในการอธิบายชนิดของพืช แต่ในส่วนใบไม้ของพวกมันนั้นมีขนาดใหญ่มาก จึงได้นำกลับไปที่สถาบันวิจัยแอมะซอนแห่งชาติ โดยนักวิจัยได้จดบันทึกและถ่ายภาพไว้

รูปที่ 2. ต้นไม้ค็อคโคโลบา กิกานติโฟเลีย (อ้างอิง: Mongabay)

ในปี ค.ศ. 1993 นักพฤกษศาสตร์สามารถเก็บใบไม้ขนาดใหญ่สองใบจากต้นไม้ในรัฐรอนโดเนีย (Rondônia) ได้ในที่สุด ซึ่งพวกเขาได้จัดแสดงเพื่อให้ประชาชนได้ชมที่สถาบันวิจัยแอมะซอนแห่งชาติ โรเจริโอ กริเบล (Rogério Gribel) นักวิจัยจากสถาบันวิจัยแอมะซอนแห่งชาติบอกว่า สายพันธุ์นี้มีชื่อเสียงในท้องถิ่น แต่เนื่องจากขาดส่วนในการสืบพันธุ์ จึงไม่สามารถอธิบายได้ว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่สำหรับวิทยาศาสตร์

เป็นเวลากว่าทศวรรษต่อมาในปี ค.ศ. 2005 ที่โรเจริโอและเพื่อนร่วมงานของเขาคาร์ลอส อัลแบร์โต ซิด เฟอเรร่า (Carlos Alberto Cid Ferreira) ได้พบเมล็ดและดอกไม้ที่กำลังจะตายจากต้นไม้ในป่าสงวนแห่งชาติจามารีอีกครั้ง แต่ส่วนเหล่านี้ยังไม่ดีพอที่จะอธิบายพันธุ์พืช ดังนั้นพวกเขาจึงหว่านเมล็ดพืชที่วิทยาเขตสถาบันวิจัยแอมะซอนแห่งชาติเพื่อเพาะปลูกต้นไม้และอดทนรอ ซึ่งความอดทนของพวกเขาก็เห็นผลใน 13 ปีต่อมา

ในปี ค.ศ. 2018 ต้นไม้ที่ปลูกต้นหนึ่งงอกงามและออกผล โรเจริโอกล่าว ในที่สุดก็ให้ส่วนทางพฤกษศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับพวกเขาในการอธิบายสายพันธุ์ใหม่ เรารู้สึกยินดีและภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่หลังจากการติดตามสายพันธุ์ที่แปลกประหลาดและหายากเช่นนี้มาเป็นเวลานาน ซึ่งในที่สุดเราก็ประสบความสำเร็จในการได้รับดอกและผล ซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญสำหรับการอธิบายสายพันธุ์ใหม่สำหรับวิทยาศาสตร์ โรเจริโอกล่าว

รูปที่ 3. บริเวณที่พบต้นไม้ค็อคโคโลบา กิกานติโฟเลีย (อ้างอิง: Mongabay)

โรเจริโอและเพื่อนร่วมงานของเขาซึ่งบรรยายถึงสายพันธุ์นี้ในบทความล่าสุดที่ตีพิมพ์ในพระราชบัญญัติแอมะซอน (Acta Amazonica) ได้ตั้งชื่อว่าค็อคโคโลบา กิกานติโฟเลีย ซึ่งอ้างอิงถึงใบขนาดใหญ่ยักษ์ของมัน ซึ่งมีความสูงประมาณ 15 เมตร และมีใบที่มีความยาวถึง 2.5 เมตร ซึ่งน่าจะเป็นใบไม้ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาพืชใบเลี้ยงคู่ ซึ่งการเปรียบเทียบขนาดใบระหว่างสายพันธุ์มักเป็นเรื่องยาก เนื่องจากมีความแตกต่างกันอย่างมากในขนาดใบภายในสายพันธุ์เดียวกัน แต่ก็มีสายพันธุ์อย่างกันเนรา (Gunnera) ซึ่งเป็นสกุลที่กระจายอยู่ทั่วโลกก็มีใบขนาดใหญ่เช่นกัน แต่สายพันธุ์กันเนรานั้นไม่ใช่ไม้ยืนต้น

การที่สายพันธุ์ของต้นไม้เป็นที่รู้จักแต่ไม่ได้ระบุหรือบันทึกชื่ออย่างเป็นทางการนั้น ก็มันเหมือนกับคนที่ไม่มีบัตรประชาชน โรเจริโอกล่าว โดยในปัจจุบันบราซิลนั้นมีความพยายามที่จัดทำรายการพันธุ์ไม้ประจำชาติ แม้ว่าจะรู้จักกันมาหลายปีแล้ว แต่ต้นไม้กิกานติโฟเลียก็ยังไม่สามารถถูกเพิ่มเข้าไปในรายชื่อพืชของบราซิลได้ ซึ่งหากไม่มีการระบุตัวตนที่เป็นทางการ ทำให้การประเมินสถานะการอนุรักษ์ก็เป็นเรื่องยากเช่นกัน ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่าสายพันธุ์นี้มีโอกาสหายากและมีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์

อ้างอิง: Mongabay, Researchgate

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *