นี่คือการวิเคราะห์ “กะโหลก”(ชาวชินชา) ที่ถูกทาสีแดง

การค้นพบโครงกระดูกในประเทศเปรู ซึ่งบางส่วนมาจากบุคคลที่เสียชีวิตไปเมื่อหนึ่งพันปีที่แล้ว เผยให้เห็นว่าผู้คนวาดภาพซากโครงกระดูกของบรรพบุรุษของพวกเขา

รูปที่ 1. ภาพระยะใกล้ของกะโหลกผู้ใหญ่เพศชาย ซึ่งสีจากแร่เฮมาไทต์ซึ่งครอบคลุมการแตกหักที่เกิดขึ้นก่อนที่บุคคลจะเสียชีวิต (อ้างอิง: Livescience)

นี่คือการการวิเคราะห์กะโหลกของชาวชินชา (Chincha) ในประเทศเปรู ที่ถูกทาสีแดงที่เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมแห่งความตายในเทือกเขาแอนดีส ที่ตกแต่งซากศพของบรรพบุรุษด้วยสีแดง ซึ่งบางครั้งก็ใช้นิ้ววาดที่หัวกะโหลกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเพื่อให้ผู้ตายได้มีชีวิตในเส้นใหม่

ในการศึกษานักวิจัยได้วิเคราะห์ซากศพมนุษย์หลายร้อยชิ้นที่พบในหุบเขาชินชาทางตอนใต้ของเปรู ย้อนกลับไปในช่วงปี ค.ศ. 1,000 ถึง 1825 ซากโครงกระดูกที่พวกเขาศึกษาถูกพบในชุลพัส (Chullpas) มากกว่า 100 แห่ง ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ฝังศพขนาดใหญ่ที่ฝังศพหลายคนไว้ด้วยกัน เป้าหมายของทีมซึ่งมีรายละเอียดอยู่ในวารสารมานุษยวิทยาโบราณคดี (Journal of Anthropological Archaeology) ฉบับเดือนมีนาคม ค.ศ. 2023 คือการตรวจสอบว่าทำไมจึงใช้สีแดงกับกระดูกหลายชิ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พวกเขาค้นพบคือมีการใช้สีแดงประเภทต่างๆกันและมีเพียงบางคนเท่านั้นที่ถูกทาสีหลังความตาย

การใช้สีแดงในพิธีกรรมงานศพมีมานับพันปีในเปรูและเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ยาวนานในการจัดการกับสมาชิกที่เสียชีวิตในสังคม ซึ่งกล่าวว่าความตายไม่ใช่จุดสิ้นสุด นักวิจัยกล่าวในการศึกษา มันเป็นช่วงเวลาสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสู่การดำรงอยู่อีกรูปแบบหนึ่งและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจากสถานะหนึ่งไปสู่อีกสถานะหนึ่ง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตต่อไป

รูปที่ 2. แสดงร่องรอยของสีแดงที่ด้านในและด้านนอกของกระโหลกศีรษะที่ยังไม่โตเต็มวัยที่แยกออกจากกัน นี่แสดงให้เห็นว่ามือที่มีสีจับกะโหลกระหว่างการทาสี (อ้างอิง: Livescience)

นักวิจัยได้เก็บตัวอย่างสีแดงจากสิ่งประดิษฐ์และกระดูกต่างๆ 38 ชิ้น โดยมี 25 ชิ้น เป็นกะโหลกมนุษย์ ซึ่งการวิเคราะห์จะใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ 3 อย่าง ได้แก่ การเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (X-ray Powder Diffraction) รังสีเอกซ์ฟลูออเรสเซนซ์สเปกโตรเมทรี (X-ray Fluorescence Spectrometry) และการระเหยด้วยเลเซอร์ ICP-MS (Laser Ablation ICP-MS) ซึ่งเป็นเทคนิคที่วิเคราะห์องค์ประกอบภายในสารเป็นหลัก โดยระบุองค์ประกอบของสีแดง โดยสีแดงในตัวอย่าง 24 ตัวอย่าง มาจากโอเชอร์ (Ochres) ที่มีธาตุเหล็ก เช่น เฮมาไทต์ (Hematite) และสีแดงอีก 13 ตัวอย่าง มาจากสารตะกั่วแดง (Cinnabar) ที่มีส่วนประกอบของปรอท และอีกหนึ่งตัวอย่างเป็นส่วนผสมของทั้งสองสี การวิเคราะห์ทางเคมีเพิ่มเติมแสดงให้เห็นว่าตะกั่วแดงนำเข้ามาจากหลายร้อยกิโลเมตรที่ห่างออกไป ในขณะที่เฮมาไทต์น่าจะมาจากแหล่งในท้องถิ่น ความแตกต่างเหล่านี้อาจสะท้อนถึงการใช้สีประเภทต่างๆที่น่าสนใจผู้ศึกษากล่าว

คนส่วนใหญ่ที่กระดูกถูกทาสีพบว่าเป็นผู้ใหญ่เพศชาย อย่างไรก็ตาม กระดูกของผู้หญิงและเด็ก รวมถึงกระดูกของหลายๆคนที่ได้รับบาดเจ็บจากบาดแผลที่หายแล้ว และคนที่มีกะโหลกศีรษะดัดแปลงเป็นทารก ก็ได้รับการทาสีด้วย จากการตรวจสอบกะโหลกศีรษะ นักวิจัยพบว่าสีแดงถูกนำมาใช้อย่างไร ซึ่งเรารู้ว่าชาวชินชาใช้สิ่งทอ ใบไม้ และมือของพวกเขาเองในการใส่สารสีแดงลงบนซากศพของมนุษย์ เจคอบ โบงเกอร์ส (Jacob Bongers) นักโบราณคดีมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน ผู้เขียนคนแรกของการศึกษากล่าวว่า เส้นสีแนวตั้งหรือแนวนอนหนาบนหัวกระโหลกนั้นสอดคล้องกับคนที่ใช้นิ้วทา

การวาดภาพด้วยนิ้วมือมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างคนเป็นและคนตาย เจคอบกล่าว สีแดงเองทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนเป็นกับคนตายชัดเจนขึ้น เช่นเดียวกับความแตกต่างทางสังคมให้คนอื่นๆได้เห็น เบนจามิน แชเฟอร์ (Benjamin Schaefer) นักชีวโบราณคดีแห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ในชิคาโก ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการศึกษานี้ กล่าวว่างานวิจัยนี้ มีส่วนสำคัญและน่าตื่นเต้นในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับพิธีกรรมแห่งความตายในเทือกเขาแอนดีส การวาดภาพด้วยมือที่มีชีวิตหลังความตายทำให้มองเห็นตัวตนทางสังคมในหุบเขาชินชาอย่างใกล้ชิดและมีชีวิตชีวา

รูปที่ 3.วัสดุและโครงกระดูกที่ถูกทาสีแดง a) ภาชนะเปลือกหอย b) ตุ๊กตาเซรามิก c) สิ่งทอ d) นกดัดแปลง e) กระดูกที่พันด้วยเส้นด้าย (อ้างอิง: Livescience)

แง่อีกมุมหนึ่งของกระบวนการที่เจคอบและเพื่อนร่วมงาน ยังไม่รู้คือว่าตอนไหนที่จะต้องทาสีแดง แม้ว่าจะเป็นที่ชัดเจนสำหรับพวกเขาว่ากระดูกถูกทาสีหลังจากที่บุคคลถูกทำให้เป็นโครงกระดูกแล้ว

กระดูกที่ทาสีบางชิ้น โดยเฉพาะกะโหลกศีรษะนั้นถูกเอาออกและวางไว้เหนือหลุมฝังศพอื่นๆ โดยสันนิษฐานว่าเพื่อปกป้องผู้ตาย นักวิจัยกล่าว โดยบูรณาการทฤษฎีที่มีรากฐานมาจากแนวคิดของชาวแอนเดียน (Andean) เกี่ยวกับความตายและจักรวาลวิทยาเข้ากับการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ของโครงกระดูกที่ทาสี พวกเขากล่าวว่าการลักลอบการขุดศพ จำเป็นต้องมีการแก้ไขโดยคนเป็น นักวิจัยกล่าว เราตั้งสมมติฐานว่าบุคคลกลับเข้าไปในชุลพัสที่ถูกรบกวนเพื่อทาสีซากศพของมนุษย์ที่ถูกทำลายหลังจากการรุกรานของยุโรป นักวิจัยกล่าว

อ้างอิง: Livescience

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *