นี่คือ “หลอดไฟ”(ร้อยปี) ที่ถูกใช้งานต่อเนื่องมาแล้วกว่า 120 ปี

เมื่อพระอาทิตย์ตกดินแสงสว่างก็หายไป แต่กลับแทนที่ด้วยแสงจากหลอดไฟที่รู้จักกันดี โดยหลอดไฟแบบปกตินั้นมักจะมีอายุเฉลี่ยได้ไม่นานนัก แต่นี่คือหลอดไฟที่มีความคงทนมากแม้ว่าจะถูกใช้งานมาเป็นเวลานานแล้ว

รูปที่ 1. หลอดไฟร้อยปีที่ถูกติดตั้งในสถานีดับเพลิง (อ้างอิง: Guinnessworldrecords)

นี่คือหลอดไฟร้อยปี (The Centennial Bulb) เป็นหลอดไฟที่มีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด ที่มีการใช้งานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ค.ศ. 1901 ที่ถูกติดตั้งในสถานีดับเพลิงเล็กๆ ที่ในเมืองลิเวอร์มอร์ (Livermore) รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยหลอดไฟร้อยปีนั้นถูกผลิตขึ้นในเมืองเชลบี้ (Shelby) รัฐโอไฮโอ โดยบริษัทเชลบี้อิเล็คทริค (Shelby Electric)

ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1890 ครั้งแรกที่บริษัทมาถึงเมืองลิเวอร์มอร์ได้ถูกซื้อในปี ค.ศ. 1901 โดยเดนนิส เบอร์นัล (Dennis Bernal) เจ้าของบริษัทลิเวอร์มอร์พาวเวอร์แอนด์วอเตอร์ (Livermore Power and Water Company) และในปีเดียวกันนั้นเขาได้ขายบริษัทและได้บริจาคหลอดไฟให้กับสถานีดับเพลิงในท้องถิ่น ซึ่งหลอดไฟถูกแขวนทิ้งไว้ก่อนที่จะถูกย้ายไปติดตั้งยังโรงรถที่หน่วยดับเพลิงและจากนั้นในปี ค.ศ. 1976 ได้ถูกย้ายไปที่สถานีดับเพลิงหมายเลข 6 (Firestation #6) ซึ่งนั่นเป็นเวลาช่วงสั้นๆที่หลอดไฟถูกตัดขาดจากการจ่ายไฟฟ้าเป็นเวลา 22 นาที

ทำให้หลอดไฟอยู่ที่นั่นตั้งแต่ตอนนั้น ซึ่งมันกลายเป็นจุดสังเกตและความภาคภูมิใจของท้องถิ่น แม้ว่าในปัจจุบันหลอดไฟจะหรี่ลงจากกำลังไฟ 30 วัตต์ ในตอนเริ่มต้นเหลือน้อยเพียง 4 วัตต์ แต่หลอดไฟก็ยังคงใช้งานต่อไปมามากกว่า 120 ปีแล้ว ทำให้หลอดไฟร้อยปี ได้รับการยอมรับว่าเป็นหลอดไฟที่ทนทานที่สุด โดยกินเนสส์บุ๊กเวิลด์เรคคอร์ด (Guinness World Records) ในปี ค.ศ. 1972 และปัจจุบันได้รับการระบุว่าเป็น หลอดไฟที่ใช้งานได้ยาวนานที่สุด โดยทุกวันนี้ผู้คนสามารถชมหลอดไฟที่มีกล้องติดตั้งเพื่อดูตลอด 24 ชั่วโมง แบบเรียลไทม์ได้ทั่วโลกโดยสามารถดูได้บนเว็บไซต์ทางการของหลอดไฟ

รูปที่ 2. สถานีดับเพลิงหมายเลย 6 (อ้างอิง: Centennialbulb)

สิ่งที่น่าทึ่งมากเกี่ยวกับหลอดไฟนี้คือความธรรมดาของหลอดไฟนี้ แม้ว่านักวิจัยจะไม่แน่ใจเกี่ยวกับการออกแบบที่แน่นอนของหลอดไฟ การตรวจสอบอย่างละเอียดในขณะที่ยังทำงานอยู่นั้นเป็นไปไม่ได้ แต่เชื่อว่าไม่แตกต่างจากหลอดไฟอื่นๆที่พัฒนาโดยบริษัทเชลบี้อิเล็คทริค ในขณะที่สร้าง แม้ว่าหลอดไฟบางหลอดจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานเป็นพิเศษอาจเป็นเพราะการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลอดไฟในยุคนั้นจะใช้งานนานกว่าที่เราคุ้นเคยมาก

นั่นเป็นเพราะหลอดไฟนี้ผลิตขึ้นก่อนที่จะมีการระบุอายุการใช้งานของหลอดไฟที่จะถูกกำหนดขึ้นโดยบริษัทด้านแสงสว่างในช่วงทศวรรษที่ ค.ศ. 1920 ตามที่หลายๆคนกล่าวอ้างในปัจจุบัน ในตอนนั้นเองที่บริษัทหลอดไฟที่ใหญ่ที่สุดในยุคนั้นอย่างฟิลิปส์ (Philips), ออสแรม (Osram) และเจนเนอรัลอิเล็คทริค (General Electric) ที่มารวมตัวกันในสวีเดนได้ก่อตั้งฟีบัส (Phoebus) ซึ่งเป็นพันธมิตรระดับโลก ตามที่นักวิจัยบางคนกล่าว

ด้วยความร่วมมือนี้ บริษัทต่างๆได้กำหนดอายุขัยของหลอดไฟไว้ที่ 1,000 ชั่วโมง ภายใต้ฉลาก ซึ่งจะทำให้หลอดไฟเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และจะปรับสมาชิกที่ออกแบบหลอดไฟที่เกินขีดจำกัดนี้อย่างมาก ในความเป็นจริง บริษัทด้านแสงสว่างได้สร้างนโยบาย 1,000 ชั่วโมง นี้ขึ้นเพราะพวกเขาตระหนักได้ว่าการลดอายุการใช้งานของหลอดไฟ พวกเขาจะสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากลูกค้ารายเดิมที่จำเป็นต้องซื้อหลอดไฟใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่าเมื่อหลอดไฟเก่าใช้งานไม่ได้

รูปที่ 3. การออกแบบและหลอดไฟร้อยปีที่มีกล้องติดตั้งเพื่อดูตลอด 24 ชั่วโมง (อ้างอิง: Centennialbulb, Allthatsinteresting)

มาร์คุส ครายิวสกี้ (Markus Krajewski) ศาสตราจารย์ด้านสื่อศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยบาเซิล (University of Basel) ในสวิตเซอร์แลนด์ ผู้ซึ่งทำการวิจัยเกี่ยวกับ Phoebus กล่าวว่า มันเป็นเป้าหมายที่ชัดเจนของกลุ่มพันธมิตรที่จะลดอายุการใช้งานของหลอดไฟเพื่อเพิ่มยอดขาย ในขณะที่กลุ่มพันธมิตรของฟีบัสที่เลิกกิจการไปเพียงไม่กี่ปีต่อมา แต่มาตรฐานอุตสาหกรรมที่สร้างขึ้นก็ยังคงอยู่และรูปแบบของความล้าสมัยที่วางแผนไว้ก็เช่นกัน

ซึ่งผลิตภัณฑ์ได้รับการออกแบบให้มีอายุการใช้งานสั้นเกินจริง เพื่อให้บริษัทต่างๆสามารถสร้างยอดขายได้มากขึ้น รูปแบบธุรกิจนี้ได้รับความนิยมในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ไม่นานหลังจากการสร้างกลุ่มพันธมิตรนี้ เป็นวิธีการเพิ่มงานในโรงงานด้วยการหมุนเวียนสินค้าที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม มันกลายเป็นเพียงกลยุทธ์สำหรับธุรกิจเพื่อเพิ่มผลกำไรอย่างรวดเร็ว

อ้างอิง: Allthatsinteresting, Centennialbulb, Guinnessworldrecords

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *