นี่คือ “กิ้งก่า”(บรู๊คเซียนานา) ที่เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กที่สุดในโลก

สัตว์เลื้อยคลาน (Reptile) เป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรกๆของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบก โดยสัตว์เลื้อยคลานนั้นมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันไป

รูปที่ 1. กิ้งก่าบรู๊คเซียนานา (อ้างอิง: Phys)

นี่คือกิ้งก่าบรู๊คเซียนานา (Brookesia Nana) ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ที่ค้นพบโดยทีมงานระหว่างประเทศซึ่งนำโดยคอลเลกชันสัตววิทยาของรัฐบาวาเรีย (Bavarian State Collection of Zoology: ZSM-SNSB) ได้ค้นพบกิ้งก่าจิ๋วพันธุ์ใหม่ โดยตัวผู้ที่โตเต็มวัยของสายพันธุ์ใหม่นี้มีขนาดลำตัวเพียง 13.5 มิลลิเมตร ทำให้พวกมันเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกที่ถูกบันทึกโดยกินเนสส์บุ๊กเวิลด์เรคคอร์ด (Guinness World Records)

ในการสำรวจทางตอนเหนือของมาดากัสการ์ (Madagascar) ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันและชาวมาลากาซี (Malagasy) ได้ค้นพบกิ่งก่าสายพันธ์ุนี้ร่วมกันด้วยความยาวลำตัวเพียง 13.5 มิลลิเมตร และความยาวรวมหางเพียง 22 มิลลิเมตร กิ้งก่าบรู๊คเซียนานาตัวผู้เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาสัตววิทยา (ZSM-SNSB) แต่พวกตัวเมียนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าที่ความยาวลำตัว 19 มิลลิเมตร และความยาวทั้งหมด 29 มิลลิเมตร

รูปที่ 2. กิ้งก่าบรู๊คเซียนานา (อ้างอิง: Phys)

ทีมงานยังได้เปรียบเทียบขนาดของกิ้งก่ากับสายพันธุ์อื่นๆอีก 51 สายพันธุ์จากมาดากัสการ์ และพบว่ากิ้งก่าที่เล็กที่สุดมักจะมีอวัยวะเพศที่ใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดตัว ตัวอย่างเช่น กิ้งก่านาโนมีขนาด 18.5% ของขนาดร่างกายของตัวผู้

คำอธิบายที่เป็นไปได้สำหรับปรากฏการณ์นี้อาจจะเป็นขนาดที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งเรียกว่า ขนาดเพศพฟิสซึ่ม (Sexual Size Dimorphism) ในกิ้งก่าขนาดใหญ่ ที่ตัวผู้มักจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย แต่ในกิ้งก่าตัวเล็กนั้นจะกลับกัน ด้วยเหตุนี้ ตัวผู้ที่มีขนาดเล็กมากของสปีชีส์ขนาดเล็กจึงต้องการอวัยวะเพศที่ค่อนข้างใหญ่ เพื่อที่จะผสมพันธุ์กับตัวเมียที่ตัวใหญ่กว่าได้สำเร็จ มิเกล เวนเซส (Miguel Vences) จากมหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งบราวน์ชไวก์อธิบาย

มีสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีขนาดเล็กมากจำนวนมากในมาดากัสการ์ และการกระจายตัวของกิ้งก่าจิ๋วนี้ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมาก บางครั้งครอบคลุมเพียงบางพื้นที่ ดังนั้นคาดว่ากิ้งก่าบรู๊คเซียนานาเองก็มีขอบเขตที่จำกัดเช่นกัน โอลิเวอร์ ฮอว์ลิทเชค (Oliver Hawlitschek) จากศูนย์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (Centrum für Naturkunde) กล่าวว่า น่าเสียดายที่ที่อยู่อาศัยของกิ้งก่าพวกนี้อยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างหนักจากการตัดไม้ทำลายป่า แต่โชคดีที่ตอนนี้พื้นที่ดังกล่าวเพิ่งถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่คุ้มครอง ในฮัมบูร์ก

อ้างอิง: Phys, Guinnessworldrecords

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *