นี่คือ “แผ่นดินไหว”(ใหญ่ที่สุด) ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์

นักโบราณคดีได้ค้นพบหลักฐานของการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวขนาดหรือแม็กนิจูดถึง 9.5 ริกเตอร์ ที่น่าสะพรึงกลัว ซึ่งทำให้เกิดสึนามิยาว 8,000 กิโลเมตร ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องทิ้งถิ่นฐานตามแนวชายฝั่งที่อยู่ใกล้เคียงเป็นเวลาถึง 1,000 ปี

แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ 3,800 ปีก่อน ในพื้นที่ทางตอนเหนือของชิลีที่เกิดจากการแตกของแผ่นเปลือกโลกขึ้นบริเวณชายฝั่ง และทำให้เกิดสึนามิทรงพลังมาก โดยมันสร้างคลื่นสูงถึง 20 เมตร และซัดข้ามมหาสมุทรเดินทางไปยังนิวซีแลนด์ ที่ซึ่งมันสามารถซัดก้อนหินขนาดเท่ารถเข้าไปในแผ่นดินหลายร้อยกิโลเมตร จากที่นักวิจัยค้นพบ

จนถึงปัจจุบัน แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้คือแผ่นดินไหวที่วัลดิเวียในปี ค.ศ. 1960 ซึ่งกระทบทางตอนใต้ของชิลีด้วยขนาดหรือแม็กนิจูดถึง 9.4 และคร่าชีวิตผู้คนไปมากถึง 6,000 คน และส่งคลื่นสึนามิข้ามไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก การแตกของร้าวของแผ่นเปลือกโลกที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวในวัลดิเวียนั้นใหญ่โต ยาวถึง 800 กิโลเมตร แต่ตามที่นักวิทยาศาสตร์ให้รายละเอียดในงานวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 6 เมษายนในวารสาร Science Advances แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ค้นพบใหม่นั้นยิ่งใหญ่กว่า โดยเกิดจากการแตกร้าวที่มีความยาวประมาณ 1,000 กิโลเมตร

พวกเขาคิดว่าแผ่นดินไหวที่วัลดิเวียที่เกิดขึ้นยังมีแรงดันที่สะสมระหว่างการมุดตัวเป็นเวลาไม่นานเพียงพอ” ผู้เขียนร่วมการศึกษา เจมส์ กอฟฟ์ (James Goff) นักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันในอังกฤษ กล่าว

เช่นเดียวกับแผ่นดินไหวในวัลดิเวีย แต่แผ่นดินไหวในสมัยโบราณเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวประเภทที่มีพลังมากที่สุดในโลก แผ่นดินไหวเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อแผ่นเปลือกโลกแผ่นใดแผ่นหนึ่งของโลกถูกบังคับหรือยุบตัวอยู่ใต้แผ่นอื่น ในที่สุดแผ่นเปลือกโลกทั้งสองก็ล็อคเข้าที่โดยแรงเสียดทาน และแรงที่ทำให้แผ่นเปลือกโลกชนกันยังคงก่อตัวสะสมจนในที่สุด เกิดการฉีกขาด ทำให้เกิดการแตกร้าวขนาดมหึมาและปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของคลื่นไหวสะเทือนที่ทำลายล้าง

หลักฐานของแผ่นดินไหวขนาดยักษ์พบได้จากสิ่งของในทะเลและตามชายฝั่ง เช่น ตะกอนตามชายฝั่ง (ก้อนหิน ก้อนกรวด และทรายที่มีถิ่นกำเนิดในบริเวณชายฝั่ง) และหินในทะเล เปลือกหอย และสิ่งมีชีวิตในทะเล ซึ่งนักวิจัยพบว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ถูกพลัดห่างจากถิ่นที่อยู่ไปอยู่ในแผ่นดินในทะเลทรายอาตากามาของชิลี

เพื่อตรวจสอบสิ่งที่ถูกซัดขึ้นมาจากทะเล นักวิจัยได้ใช้การตรวจสอบคาร์บอน โดยการวัดปริมาณคาร์บอน 14 ซึ่งเป็นไอโซโทปคาร์บอนกัมมันตภาพรังสีที่พบในวัสดุเพื่อกำหนดอายุ เนื่องจากคาร์บอน 14 มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลก โดยครึ่งชีวิตของคาร์บอน 14 หรือเวลาที่ครึ่งหนึ่งของคาร์บอนสลายตัวคือ 5,730 ปี ทำให้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการย้อนดูประวัติศาสตร์ 50,000 ปีที่ผ่านมา ด้วยการใช้คาร์บอน 14 ในการตรวจสอบ

หลังจากพบแร่ 17 ชิ้น จากสถานที่ 7 แห่งบนชายฝั่งทางเหนือของชิลี 600 กิโลเมตร นักวิจัยพบว่าวัตถุมีอายุเก่าแก่กว่า 3,800 ปีก่อน

หลักฐานเพิ่มเติมยังมาในรูปแบบของโครงสร้างหินโบราณ ที่นักโบราณคดีขุดค้น กำแพงหินเหล่านี้สร้างขึ้นโดยมนุษย์ ถูกพบอยู่ใต้ซากและบางส่วนบ่งชี้ไปทางทะเล บ่งบอกว่าพวกมันถูกทำลายล้างด้วยกระแสน้ำที่เชี่ยวกรากจากการดึงน้ำย้อนกลับของสึนามิ

สิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นนั้นไม่เหลืออะไรเลย กอฟฟ์กล่าว งานโบราณคดีของเราพบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทางสังคมตามมา เมื่อชุมชนย้ายถิ่นฐานเข้าไปในแผ่นดินที่ไกลจากคลื่นสึนามิ เป็นเวลากว่า 1,000 ปี ก่อนที่ผู้คนจะกลับไปอาศัยอยู่ตามชายฝั่งอีกครั้งเนื่องจากพวกเขาต้องการอาศัยทะเลเพื่อหาอาหาร ซึ่งเป็นระยะเวลาที่น่าทึ่งมาก

เนื่องจากเป็นการค้นพบที่เก่าแก่ที่สุดในซีกโลกใต้ของการเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิที่คร่าชีวิตมนุษย์ นักวิจัยจึงรู้สึกตื่นเต้นที่จะสำรวจพื้นที่ดังกล่าวต่อไป พวกเขาคิดว่างานวิจัยของพวกเขาสามารถเตือนภัยให้เราทราบถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอนาคต

แม้ว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อผู้คนในชิลี แต่สำหรับหมู่เกาะแปซิฟิกใต้นั้นแทบไม่ได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิเมื่อ 3,800 ปีก่อน  เพราะในช่วงเวลานั้นไม่มีผู้คนอาศัยอยู่เลย กอฟฟ์กล่าว แต่ตอนนี้พวกเขาทั้งหมดอาศัยอยู่อย่างดี และอีกหลายแห่งเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยว ดังนั้นถ้าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในครั้งต่อไป ผลที่ตามมาอาจเป็นหายนะ เว้นแต่พวกเราจะเรียนรู้จากการค้นพบครั้งนี้

อ้างอิง: livescience

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *