นี่คือ “ชาวบาเจา”(Bajau) ที่มีม้ามขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อช่วยในการดำน้ำ

ในธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ หากต้องการเป็นผู้ที่ถูกเลือกนั้นจำเป็นต้องมีการปรับตัวหรือวิวัฒนาการเพื่อเอาชีวิตรอด ในตัวอย่างที่โดดเด่นของการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

รูปที่ 1. ชาวบาเจาดำน้ำโดยใช้แค่แว่นตาดำน้ำ (อ้างอิง: BBC)

นี่คือชาวบาเจา (Bajau) ที่มีม้ามที่ใหญ่ขึ้น เพื่อทำให้เลือดมีออกซิเจนมากขึ้นสำหรับการดำน้ำ โดยพวกเขาเป็นชนเผ่าเร่ร่อนและเดินเรือตามประเพณี และดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการเก็บหอยจากพื้นทะเล โดยจะที่อาศัยอยู่ในบิเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย และตามการประมาณคร่าวๆ มีจำนวนประชากรประมาณหนึ่งล้านคน

โดยนักวิจัยได้เผยแพร่ผลงานของพวกเขาในวารสารวิชาการเซลล์ (Journal Cell) โดยม้ามนั้นมีขนาดเท่ากำปั้นคล้ายเมล็ดถั่วที่อยู่บริเวณใกล้กับกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่เป็นอวัยวะที่กำจัดเชื้อโรคและเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ตายแล้วออกจากกระแสเลือดและทำหน้าที่เป็นเหมือนกับถังเก็บออกซิเจนทางชีวภาพในระหว่างการดำน้ำที่นานชาวบาเจา เป็นเวลาหลายพันปีที่พวกเขาอาศัยอยู่บนเรือบ้าน เดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในน่านน้ำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมาเยือนแผ่นดินเป็นครั้งคราวเท่านั้น ดังนั้น ทุกสิ่งที่พวกเขาต้องการจึงได้รับจากทะเล ดร.เมลิสซ่า อิลาร์โด (Dr.Melissa Ilardo) ผู้เขียนจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (University of Copenhagen)

พวกเขาถูกกล่าวถึงในงานเขียนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1521 โดยนักสำรวจชาวเวนิส อันโตนิโอ พิกาเฟตตา (Antonio Pigafetta) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางครั้งแรกเพื่อสำรวจรอบโลก พวกเขาเป็นที่รู้จักจากความสามารถพิเศษในการกลั้นหายใจ โดยพวกเขาดำน้ำด้วยวิธีดั้งเดิม พวกเขาจะดำน้ำซ้ำๆประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน โดยใช้เวลาประมาณ 60% ของเวลาทั้งหมดใต้น้ำ โดยสามารถดำน้ำได้ตั้งแต่ 30 วินาทีไปจนถึงหลายนาที และสามารถดำน้ำลึกถึงระดับความลึกกว่า 70 เมตร เมลิสซ่ากล่าว

รูปที่ 2. ที่อยู่อาศัยของชาวบาเจา (อ้างอิง: BBC)

น่าประหลาดใจที่การดำน้ำลึกเหล่านี้ ใช้เพียงหน้ากากไม้หรือแว่นตาดำน้ำและเข็มขัดน้ำหนักเท่านั้น ดร.เมลิสซ่า อธิบายว่าม้ามเป็นตัวเลือกที่ชัดเจนสำหรับการศึกษาศักยภาพในการปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตทางน้ำนี้ โดยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการดำน้ำของมนุษย์ ที่ถูกกระตุ้นโดยการกลั้นหายใจและจุ่มตัวลงไปในน้ำ คุณสามารถกระตุ้นได้ด้วยการเอาหน้าจุ่มลงในน้ำเย็นได้เช่นกัน ดร.เมลิสซ่าอธิบาย

อัตราการเต้นของหัวใจของคุณจะช้าลง คุณจะมีอาการหลอดเลือดส่วนปลายตีบตัน ซึ่งหลอดเลือดที่ขาของคุณจะมีขนาดเล็กลงเพื่อรักษาเลือดที่มีออกซิเจนน้อยสำหรับอวัยวะสำคัญของคุณและสิ่งสุดท้ายคือการหดตัวของม้าม ซึ่งม้ามเป็นแหล่งกักเก็บเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีออกซิเจน ดังนั้นเมื่อมันหดตัว มันก็จะช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับคุณ มันเหมือนกับถังเก็บออกซิเจนชีวภาพ

ดร.เมลิสซ่าได้นำเครื่องอัลตราซาวนด์แบบพกพาไปยังพื้นที่ของอินโดนีเซียที่ชาวบาเจาอาศัยอยู่ และขอตรวจดูม้ามของพวกเขาอย่างสุภาพ ดร.เมลิสซ่ากล่าว ผลปรากฏว่าทั้งนักดำน้ำและไม่ใช่นักดำน้ำนั้นมีม้ามที่มีขนาดใกล้เคียงกัน สิ่งนี้ช่วยแสดงให้เห็นว่าการขยายตัวไม่ได้เป็นเพียงผลจากการดำน้ำเป็นประจำ

แต่เมื่อนักวิจัยเปรียบเทียบชาวบาเจากับกลุ่มเพื่อนบ้านที่เรียกว่าชาวสลวน (Saluan) ซึ่งมีวิถีชีวิตแบบเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม พวกเขาพบว่าชาวบาเจามีม้ามที่ใหญ่กว่าปกติโดยเฉลี่ย 50% ซึ่งทีมงานยังสามารถค้นหาพื้นฐานทางพันธุกรรมที่ชัดเจนสำหรับความแตกต่างของขนาด โดยพวกเขาเปรียบเทียบจีโนมที่เป็นส่วนประกอบทั้งหมดของดีเอ็นเอ (DNA) ในนิวเคลียสของเซลล์มนุษย์ของชาวบาเจา, ชาวสลวนและชาวฮั่น (Han Chinese) ที่เป็นพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การคัดเลือกโดยธรรมชาติ

รูปที่ 3. ชาวบาเจาดำน้ำโดยใช้แค่แว่นตาดำน้ำ (อ้างอิง: BBC)

มีตัวแปรทางพันธุกรรมใดๆที่มีการกลายพันธุ์หรือไม่ และที่มีความถี่สูงกว่ามาก ซึ่งได้เปลี่ยนความถี่ของพวกเขาโดยเฉพาะใน ชาวบาเจา เมื่อเทียบกับประชากรอื่นๆ ศาสตราจารย์ราสมุส นีลเส็น (Prof Rasmus Nielsen) ผู้เขียนร่วมจาก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California) จากเบิร์กลีย์ ผลลัพธ์ของการคัดเลือก ทำให้พบตำแหน่ง 25 ตำแหน่ง ในจีโนมที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในชาวบาเจา เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆในจำนวนนี้ พบตำแหน่งหนึ่งในยีนที่เรียกว่า PDE10A ที่มีความสัมพันธ์กับขนาดม้ามที่ใหญ่ขึ้นของชาวบาเจา แม้จะคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ เพศ และส่วนสูงก็ตาม

ในหนู PDE10A เป็นที่รู้จักกันในการควบคุมฮอร์โมนไทรอยด์ที่ควบคุมขนาดของม้าม ซึ่งสนับสนุนแนวคิดที่ว่าชาวบาเจา อาจจะพัฒนาขนาดม้ามที่จำเป็นต่อการดำน้ำเป็นเวลานานและบ่อยครั้ง ในปี ค.ศ. 2014 ทีมงานกลุ่มอื่นได้เผยแพร่หลักฐานเกี่ยวกับการปรับตัวทางพันธุกรรมเพื่อการดำรงชีวิตบนที่สูงในประชากรทิเบต ในกรณีดังกล่าว ความแปรปรวนของยีนที่เป็นปัญหาดูเหมือนจะมีต้นกำเนิดมาจากประชากรยุคโบราณที่รู้จักกันในชื่อเดนิโซแวน (Denisovans) ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเหมือนพี่น้องของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล (Neanderthals)

ความแปรปรวนของยีนนั้นอาจจะถูกนำเข้าสู่มนุษย์สมัยใหม่ผ่านการผสมพันธุ์แบบโบราณ ได้เปรียบเทียบชาวที่ราบสูงทิเบต ทีมที่ศึกษาชาวบาเจายังตรวจสอบว่ามีสิ่งที่คล้ายกันเกิดขึ้นในกรณีนี้หรือไม่ แต่ไม่พบหลักฐานสำหรับความเชื่อมโยงดังกล่าว ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าชาวบาเจา มีวิถีชีวิตเช่นนี้มานานแค่ไหนแล้วหรือเมื่อการปรับตัวเกิดขึ้นจริงที่ทำให้ข้อมูลทางพันธุกรรมที่ทำให้เราเห็นอยู่ในตอนนี้ ดร.เมลิสซ่ากล่าว

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าชาวบาเจาแยกออกจากชาวสลวนที่ไม่ได้มีวิถีชีวิตในการดำน้ำตลอด เมื่อประมาณ 15,000 ปีที่แล้ว ตามที่ ดร.เมลิสซ่ากล่าว นี่เป็นเวลานานมากในการวิวัฒนาการปรับตัวในการดำน้ำ ศาสตราจารย์ราสมุสกล่าวเสริมว่า นี่เป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของวิธีที่มนุษย์สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นของตนได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความน่าสนใจอย่างมากในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับตัวของภาวะขาดออกซิเจน การปรับตัวให้เข้ากับระดับออกซิเจนต่ำ

เมื่อเทียบกับกรณีของการปรับตัวขึ้นสู่ที่สูงในชาวทิเบตแล้วชาวบาเจานั้นเป็นตัวอย่างที่อาจจะมีความเกี่ยวข้องทางการแพทย์มากกว่า เพราะนี่คือภาวะออกซิเจนต่ำเฉียบพลัน ปัจจัยที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งคือการตอบสนองถึงระดับออกซิเจนต่ำ จากการศึกษาชาวบาเจา ทำให้เราสามารถเข้าใจได้ว่ายีนใดบ้างที่ช่วยให้เรารู้ความแตกต่างในผู้คนในการตอบสนองต่อระดับออกซิเจนต่ำเฉียบพลัน

อ้างอิง: BBC, Bigthink

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *