นี่คือถนนทุกสายมุ่งสู่ “กรุงโรม”(อิตาลี) ที่ดูเหมือนรากต้นไม้

ในการเดินทางทางบกนั้น เรามักจะต้องใช้ถนนหนทางในการสัญจรไปมา ซึ่งเส้นทางต่างๆนั้นก็ได้ถูกบันทึกลงในแผนที่ แต่ก็ได้มีคนสงสัยว่าถ้าหากเราสร้างแผนที่ของถนนที่มุ่งไปสู่เมืองเมืองหนึ่งจะเป็นอย่างไร

รูปที่ 1. แผนที่ของถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงโรม (อ้างอิง: Archdaily)

นี่คือแผนที่ของถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงโรม (Rome) โดยเลือกจากเส้นทางของถนนในยุโรปที่มีอยู่แล้วแสดงให้เห็นแผนที่ที่ดูเหมือนรากต้นไม้หรือระบบประสาทหรือลุ่มน้ำที่มีเส้นทางบรรจบกันที่กรุงโรม แผนที่นี้ทำโดยนักออกแบบชาวเยอรมันเบเนดิกต์ กรอส (Benedikt Gross), ฟิลลิป สมิธ (Philipp Schmitt) และราฟาเอล ไรมันน์ (Raphael Reimann) จากกลุ่มครีเอทีฟจทีมมูฟเวลแลปส์ (Moovel Labs) ในสตุตการ์ต ด้วยการใช้ข้อมูลจากโอเพนสตรีทแมฟ (OpenStreet Map) โดยผู้ออกแบบได้ใช้อัลกอริทึมในการเชื่อมต่อจุดเริ่มต้นทั้งหมด 486,713 จุด ของถนนไปยังเมืองหลวงของอิตาลี ซึ่งคอมพิวเตอร์นั้นต้องใช้เวลานานกว่า 5 ชั่วโมง ในการคํานวณเส้นทางทั้งหมด โดยเส้นทางที่ถูกใช้เป็นประจำจะถูกทำเครื่องหมายด้วยเส้นที่หนาตามการใช้งาน

ในประวัติศาสตร์นั้น ถนนถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายอำนาจและบำรุงรักษาจักรวรรดิโรมัน (Roman Empire) เมื่อจักรวรรดิโรมันได้ขยายอำนาจจนถึงจุดสูงสุดนั้นทำให้มีอาณาเขตประมาณเกือบถึง 5 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งทอดยาวจากกำแพงเฮเดรียน (Hadrian Wall) ในตอนเหนือของบริเตน (Britain) ไปจนถึงปากแม่น้ำยูเฟรตีส์ (Euphrates) ในอ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf) การเชื่อมโยงทั้งหมดเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางของถนนจักรวรรดิโรมัน ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับทางหลวงทางทหารที่สำคัญ 29 แห่ง ที่แผ่กระจายจากกรุงโรมไปยังปลายสุดของจักรวรรดิที่เพิ่มทางหลวงใหญ่อีก 350 ทาง และทางแยกเล็กๆอีกหลายทาง และเครือข่ายประกอบด้วยถนนที่รวมกันถึง 400,000 กิโลเมตร โดยเป็นถนนลาดยางถึง 80,000 กิโลเมตร

ถนนจักรวรรดิโรมันหลายแห่งอยู่รอดจนมาถึงทุกวันนี้ โดยเปลี่ยนเป็นถนนสายหลักเส้นใหม่ อย่างเส้นทางตรงถนนออกซ์ฟอร์ด (Oxford Street) ของลอนดอนก็เคยเป็นส่วนหนึ่งของทางผ่านทริโนบาตินา (Trinobantina) ในเบลเยียมและตอนเหนือของฝรั่งเศส ถนนสายตรงหลายสายมีชื่อเล่นว่าถนนบรูเนเฮา (Chaussées Brunehaut) ตามชื่อของบรูนฮิลดาแห่งออสตราเซีย (Brunhilda of Austrasia) ราชินีผู้สำเร็จราชการแห่งวิซิกอธ (Visigothic) ในสมัยศตวรรษที่ 6 ซึ่งได้ซ่อมแซมถนนสายโรมันหลายสาย อย่างทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ทางหลวงหมายเลข 7 ตามเส้นทางอากริปา (Agrippa)

แม้ว่าหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน แต่ผู้คนก็ยังคงต้องการเดินทางมายังกรุงโรมจากจิตวิญญาณและการดึงดูดผู้แสวงบุญจากทั่วทุกมุมของโลกของชาวคริสเตียน ซึ่งมันส่งผลควบคู่ไปกับการเหลืออยู่ของถนนจักรวรรดิโรมันที่ให้กำเนิดประโยคที่อลัน เด ลีลล์ (Alain de Lille) เขียนไว้ในหนังสือลิเบอร์พาราโบลารัม (Liber-Parabolarum: 1175) ถนนนับพันสายนำผู้คนมาที่กรุงโรมมานานหลายศตวรรษ และเจฟฟรีย์ ชอเซอร์ (Geoffrey Chaucer) เป็นคนแรกในหนังสือทฤษฎีแอสโทรลาเบ (Astrolabe: 1391) ที่เขียนในเวอร์ชันภาษาอังกฤษว่า เป็นเส้นทางแห่งความหลากหลายที่นำพาผู้คนไปยังกรุงโรม

รูปที่ 2. หลักชัยสีทองหรือโกลเด้นไมล์ (อ้างอิง: Wikimedia)

ในสมัยโบราณ ว่ากันว่าถนนเหล่านี้มาบรรจบกันที่หลักชัยสีทองหรือโกลเด้นไมล์ (Golden Milestone, Milliariam Aureum) ที่ได้เปิดตัวช่วงเวลา 20 ปีก่อนคริสตกาล โดยจักรพรรดิออกัสตัส (Emperor Augustus) ที่อยู่ใกล้กับวิหารดาวเสาร์ (Temple of Saturn) โดยหลักชัยสีทองถือเป็นจุดเริ่มต้นของถนนทุกสายที่มุ่งหน้าไปยังกรุงโรม จากที่นี่สามารถวัดระยะทางไปยังเมืองต่างๆทั่วจักรวรรดิ ซึ่งบางส่วนของซากหินอ่อนยังคงติดแท็กด้วยคำว่า โกลเด้นไมล์ แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าซากเหล่านี้ไม่น่าจะเป็นของจริง และยังไม่ทราบตำแหน่งที่แน่นอนของเหตุการณ์สําคัญ แต่อยู่ใกล้กับศูนย์กลางสัญลักษณ์ของเมืองที่เรียก สายสะดือโรมัน (Navel of Rome)

เครื่องหมายระยะทางหลักกิโลเมตรที่ศูนย์ (Kilometre Zero) ที่คล้ายกันนี้ยังมีอยู่ในเมืองโบราณอื่นๆ เช่น คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) จากการขุดค้นใกล้กับอายะ โซเฟียร์ (Aya Sophia) ในอิสตันบูลในปี ค.ศ. 1960 ชิ้นส่วนของหลักกิโลเมตรที่ศูนย์โผล่ขึ้นมาอีกครั้งในลอนดอน ตั้งอยู่หลังตะแกรงป้องกันที่ด้านหน้าของถนนแคนนอน 111 (Cannon Street) ว่ากันว่าเป็นบ้านของเศรษฐีแห่งบริเตนโรมัน

ขณะนี้มีหลักกิโลเมตรที่ศูนย์อย่างเป็นทางการในกว่า 30 ประเทศ อย่างจารึกที่จัตุรัสหน้ามหาวิหารนอเทรอ-ดาม (Notre Dame Cathedral) ในกรุงปารีส เป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส ในอียิปต์นั้นตั้งอยู่ที่ที่ทำการไปรษณีย์ในจัตุรัสอัตตาบา (Attaba Square) ในกรุงไคโร ส่วนในสหรัฐอเมริกานั้นมีหลักกิโลเมตรที่ศูนย์ตั้งอยู่ที่สวนสาธารณะทางตอนใต้ของทําเนียบขาว อย่างไรก็ตาม การใช้งานอย่างเป็นทางการจะจำกัดเฉพาะระยะทางในเขตโคลัมเบีย (Columbia) เท่านั้น

ในมุมมองมีเส้นทางไปยังคาบสมุทรไอบีเรียในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อีกเส้นทางหนึ่งชี้ไปที่ลอนดอนและเกาะอังกฤษ ส่วนที่ 3 ไปทางทิศเหนือ ที่แบ่งออกเป็น 2 สาย ในเมืองฮัมบูร์ก ถนนสายหลักทางทิศตะวันออกแบ่งออกเป็น 3 สาย สายหนึ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปยังทะเลบอลติกและรัสเซีย สายที่ 2 มุ่งเป้าไปที่ยูเครน และสายที่ 3 ผ่านไปทางอิสตันบูลแล้วข้ามเอเชียไมเนอร์

รูปที่ 3. แผนที่ของถนนสหรัฐอเมริกาและในฝั่งยุโรป (อ้างอิง: Bigthink)

ซึ่งทีมมูฟเวลพอใจกับผลลัพธ์ที่ได้ และยังได้ได้ทำการทดลองใหม่อีกครั้ง โดยครั้งนี้ใช้เป็นจุดบรรจบกัน 10 เมือง และเมืองต่างๆในสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อของโรมเหมือนกัน หรือหมู่บ้านเล็กๆแห่งกรุงโรม ที่ครอบครองพื้นที่ทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ อีกทั้งยังได้ทดลองในแบบหลายเมืองอีกด้วย และยังทดลองกับเมืองในฝั่งยุโรปเพื่อดูแผนที่ในเส้นทางต่างๆอีกด้วย

อ้างอิง: Bigthink

One comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *