นี่คืออัญมณี “อเล็กซานไดรต์”(เปลี่ยนสี) เมื่อแสงเปลี่ยนไป

มนุษย์เรานั้นมักจะชอบสิ่งสวยงามและมีค่าอย่างทองคำหรืออัญมณี ซึ่งอัญมณีนั้นมีมากมายหลายชนิด มีความหายากและความสวยงามที่แตกต่างกันไป แต่ก็มีอัญมณีที่ขึ้นชื่อเรื่องความหายากและมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อแสงเปลี่ยนไป

อเล็กซานไดรต์ (Alexandrite) อัญมณีที่สามารถเปลี่ยนสีได้ ซึ่งได้รับการตั้งชื่อตามอเล็กซานเดอร์ที่ 2 (Alexander II) แห่งรัสเซีย บางครั้งอาจกล่าวได้ว่าเป็นสีมรกต (Emerald) ในตอนกลางวันและเป็นสีทับทิม (Ruby) ในตอนกลางคืน อัญมณีนี้เป็นหินประจำผู้ที่เกิดในเดือนมิถุนายน โดยการเปลี่ยนสีจะขึ้นอยู่กับแสงที่ส่องผ่าน ซึ่งการเปลี่ยนสีนี้บางครั้งเรียกว่า เอฟเฟกต์อเล็กซานไดรต์ (Alexandrite Effect) ตามตำนานของรัสเซีย ผู้สวมใส่อเล็กซานไดรต์จะมีความเชื่อเรื่องความโชคดีและความรัก ซึ่งความหายากและคุณสมบัติต่างๆนี้เองทำให้พวกมันเป็นหนึ่งในอัญมณีที่เป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก

อเล็กซานไดรต์ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1834 ภายในเหมืองมรกตของเทือกเขาอูราล (Ural Mountains) ในประเทศรัสเซีย พวกมันอยู่ในตระกูลไครโซเบริล (Chrysoberyl) ซึ่งแยกจากเบริล (Beryls) เป็นเบริลเลียมอะลูมิเนียมออกไซด์ (Beryllium Aluminium Oxide) เมื่อเทียบกับซิลิเกต (Silicate) ไครโซเบริลมีความทนทานที่ดีและความแข็ง 8.5 จากการวัดความแข็งแร่ของโมส (The Mohs Hardness Scale) ทำให้เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับใช้ในการทำเครื่องประดับ

ความหายากของพวกมันนั้นทำให้ไม่มีการขุดเชิงพาณิชย์มาก่อน เพราะส่วนใหญ่โอกาสในการค้นพบพวกมันในปริมาณมากๆนั้นน้อยมาก ในรัสเซียพบผลึกอเล็กซานไดรต์เพียงเม็ดเดียวต่อการค้นพบมรกตทุกร้อยเม็ดหรือมากกว่านั้น โดยทั่วไปมักมีรอยร้าวและมีลักษณะโปร่งแสงถึงทึบแสง อเล็กซานไดรต์ส่วนใหญ่ที่พบในตลาดนั้นมีน้ำหนักไม่เกินหนึ่งกะรัต ทำให้ขนาดมีผลกับค่าของมัน ขนาดไม่เกินหนึ่งกะรัตจะมีราคาประมาณ 550,000 บาทต่อกะรัต (15,000 ดอลลาร์) แต่ถ้ามากกว่าหนึ่งกะรัตจะมีราคาสูงตั้งแต่ 1,800,000-2,500,000 บาทต่อกะรัต (50,000-70,000 ดอลลาร์)

สีที่เห็นในอเล็กซานไดรต์เกิดจากโครเมียม (Chromium) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ทำให้เกิดสีแดงเหมือนทับทิมและสีเขียวเหมือนมรกต ปริมาณการเปลี่ยนสีที่สังเกตพบมักจะเป็นการเปลี่ยนสีแบบ 100% จากเฉดสีหนึ่งเป็นอีกสีหนึ่ง โดยเฉดสีที่เห็นอาจจะแตกต่างกันไป ถ้าสีผิดเพี้ยนไปจากสีที่คาดไว้ของอเล็กซานไดรต์หรือหากจำนวนการเปลี่ยนสีที่เห็นมีน้อยยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าสามารถจำแนกเป็นอเล็กซานไดรต์ได้หรือไม่

เอฟเฟกต์การเปลี่ยนสีเกิดจากส่องแสงที่แตกต่างกัน เช่น แสงในเวลากลางวัน (Daylight) จะมองเห็นเป็นสีเขียวและแสงที่กำเนิดจากหลอดไส้ (Incandescent Light) จะเห็นเป็นสีแดง ซึ่งการเปลี่ยนสีนั้นเกิดจากแสงไฟประเภทต่างๆหรือความยาวคลื่นที่เปลี่ยนไปนั่นเอง ทำให้สิ่งนี้มีผลโดยตรงต่อสีที่อัญมณีปรากฏต่อสายตามนุษย์ จากภาพด้านล่างจะแสดงให้เห็นสีที่แตกต่างกันไปตามแสงที่ใช้ส่องอัญมณีเหล่านี้

ปัจจุบันสามารถขุดได้จากบราซิล เมียนมาร์ แทนซาเนีย อินเดีย มาดากัสการ์ ศรีลังกา และอเล็กซานไดรต์ที่ใหญ่ที่สุดถูกบันทึกไว้โดยกินเนสส์บุ๊ก (Guinness Book of World Records) คือ 141.92 กะรัต โดยพบที่ประเทศญี่ปุ่น วันที่ 6 กันยายน 2010

อเล็กซานไดรต์นั้นหายากมากจนสิ่งที่พบเห็นในตลาดอาจไม่เป็นอย่างที่เห็น อเล็กซานไดรต์ได้ถูกสังเคราะห์ขึ้นสำเร็จในห้องปฏิบัติการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 และสารสังเคราะห์เหล่านี้ยังมีคุณสมบัติทางเคมี กายภาพ และทางแสงที่เหมือนกันของอเล็กซานไดรต์ธรรมชาติ เพราะฉะนั้นถ้าต้องการที่จะสะสมอเล็กซานไดรต์ตามธรรมชาตินั้นจำเป็นต้องหาร้านและแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้

อ้างอิง: Gem-a, Guinnessworldrecords, Gemsociety

6 Comments

  1. Hello I am so happy I found your blog, I really found you by mistake, while
    I was looking on Yahoo for something else, Nonetheless I am here now and would just like to say many thanks for a tremendous post and a all round thrilling blog (I also love the theme/design), I don’t have time to
    read it all at the moment but I have saved it and also added your RSS feeds,
    so when I have time I will be back to read a lot more, Please do keep up the
    superb work.

  2. I know this site offers quality depending articles or reviews and extra information, is there any other site which presents these information in quality?

  3. I’m not that much of a online reader to be honest but your sites really nice, keep it up!

    I’ll go ahead and bookmark your site to come back later on. All the best

  4. Hello There. I found your weblog the use of msn. This is a really well written article.
    I’ll make sure to bookmark it and come back to learn more
    of your useful info. Thanks for the post. I will certainly return.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *