นี่คือเครื่องตรวจจับต่อต้านอากาศยาน “ก่อนมีเรดาร์” ช่วงปีค.ศ. 1917-1940

ในอดีตก่อนจะมีการประดิษฐ์คิดค้นเรดาร์ (Radar) มนุษย์เรานั้นได้พยายามประดิษฐ์สิ่งที่ช่วยให้สามารถตรวจสอบเครื่องบินรบของศัตรูที่จะเข้ามาในพื้นที่

รูปที่ 1. เครื่องตรวจจับต่อต้านอากาศยานระบบสองแตรที่สนามบอลลิ่ง ในสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1921 (อ้างอิง: Rarehistoricalphotos)

นี่คือเครื่องตรวจจับต่อต้านอากาศยาน เพื่อระบุตำแหน่งเครื่องบินโดยการฟังเสียง ซึ่งมีอยู่หลากหลายรูปแบบที่ใช้การฟังเสียง โดยถูกใช้ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1917-1940 ตั้งแต่ช่วงกลางสงครามโลกครั้งที่ 1 ถึงปีแรกๆของสงครามโลกครั้งที่ 2 สำหรับการตรวจจับเครื่องบินแบบพาสซีฟ (Passive Detection) โดยการเก็บเสียงของเครื่องยนต์

จะมีตำแหน่งเกี่ยวกับการได้ยินแบบพาสซีฟเกี่ยวข้องกับการตรวจจับเสียงหรือการสั่นสะเทือนที่สร้างขึ้นโดยวัตถุที่ตรวจพบ จากนั้นจะวิเคราะห์เพื่อระบุตำแหน่งของวัตถุที่ตรวจจับได้ โดยอุปกรณ์จะมีลักษณะเหมือนกรวยหรือแตรเพื่อใช้รับเสียง อีกทั้งยังเพิ่มอัตราขยายเสียงและทิศทาง ซึ่งขนาดและระยะห่างระหว่างแตรที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับหูของมนุษย์จะเพิ่มความสามารถของผู้สังเกตการณ์ในการกำหนดตำแหน่งและทิศทางของเสียง

โดยเทคนิคนี้ได้เปรียบตรงที่พวกเขาสามารถรับรู้ในรอบมุมมองและเหนือเนินเขาได้ เนื่องจากการหักเหของเสียง ซึ่งการใช้อุปกรณ์ประเภทนี้ครั้งแรกถูกอ้างสิทธิ์โดยผู้บัญชาการอัลเฟรด รอว์ลินสัน (Alfred Rawlinson) แห่งกองบัญชาการนาวิกโยธิน (Royal Naval Volunteer Reserve) ในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1916 ซึ่งได้บัญชาการการต่อต้านอากาศยานเคลื่อนที่บนชายฝั่งตะวันออกของอังกฤษ โดยเขาต้องการวิธีการหาตำแหน่งเรือเหาะ (Zeppelins) ในช่วงที่มีเมฆมาก โดยใช้อุปกรณ์ชั่วคราวจากแตรรับเสียงคู่หนึ่งซึ่งติดตั้งอยู่บนเสาหมุน

ซึ่งยุทโธปกรณ์หลายชิ้นเหล่านี้สามารถตรวจจับได้อย่างแม่นยำจากเรือเหาะที่กำลังเข้ามาใกล้ ทำให้สามารถเล็งปืนไปที่พวกศัตรูได้แม้จะอยู่นอกระยะสายตา แม้ว่าวิธีนี้จะไม่ได้รับความนิยม แต่อัลเฟรดก็อ้างว่าได้จัดการเรือเหาะทิ้งระเบิดได้ในครั้งเดียว

รูปที่ 2. นายทหารของเยอรมันที่สวมอุปกรณ์ระบุตำแหน่งแบบอะคูสติกหรือออปติคอล ค.ศ. 1917 (อ้างอิง: Rarehistoricalphotos)

นี่คือตำแหน่งเกี่ยวกับการได้ยินของเยอรมัน ค.ศ. 1917 ภาพถ่ายแสดงนายทหารผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาและทหารจากกองทหารเฟลดาร์ทเทอร์เลรี่ (Feldartillery) ที่สวมอุปกรณ์ระบุตำแหน่งแบบอะคูสติกหรือออปติคอล เห็นได้ชัดว่ามีแว่นตาที่มีรูรับแสงขนาดเล็กถูกตั้งไว้ เพื่อให้เมื่อได้ยินเสียงแล้วหันศีรษะไปมองจะเห็นเครื่องบิน

อุปกรณ์ป้องกันภัยทางอากาศส่วนใหญ่มักประกอบด้วยอุปกรณ์ที่เหมือนแตรขนาดใหญ่หรือไมโครโฟนที่ต่อกับหูของผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ท่อที่เหมือนกับหูฟังขนาดใหญ่มาก โดยงานส่วนใหญ่เกี่ยวกับการต่อต้านอากาศยานที่ทำโดยชาวอังกฤษ พวกเขาพัฒนาเครื่องรับเสียงที่สามารถรับเสียงได้ดีซึ่งใช้ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง

โดยปกติแล้วจะมีกระจกสะท้อนเสียงที่จะทำงานโดยใช้ไมโครโฟนที่เคลื่อนที่ได้เพื่อหามุมที่เพิ่มแอมพลิจูดของเสียงที่ได้รับ เพื่อให้สามารถระบุไปยังเป้าหมายได้ โดยกระจกสะท้อนเสียง 2 อัน ที่ตำแหน่งต่างกันจะสร้างการรับเสียง 2 อันที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้สามารถใช้การระบุตำแหน่งเพื่อกำหนดตำแหน่งของแหล่งกำเนิดเสียงได้

รูปที่ 3. เครื่องระบุตำแหน่งชาวเช็ก ค.ศ. 1920 (อ้างอิง: Rarehistoricalphotos)

นี่คือเครื่องระบุตำแหน่งชาวเช็ก ค.ศ. 1920 ที่มีรีเฟลกเตอร์รูปทรงสกู๊ปส่งเสียงไปยังหลอดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่ ผลิตโดยโกรส์ (Goerz) แต่เมื่อทดสอบที่สถานีวิจัยทางทหารของเนเธอร์แลนด์ที่เวลส์ดอร์ป (Waalsdorp) ยังพบว่ามีข้อบกพร่องพื้นฐานอยู่

รูปที่ 4. เครื่องระบุตำแหน่งอะคูสติกของเพอร์รินช่วงทศวรรษที่ 1930 (อ้างอิง: Rarehistoricalphotos)

เครื่องระบุตำแหน่งอะคูสติกของเพอร์ริน (Perrin Acoustic Locator) ในฝรั่งเศส ช่วงทศวรรษที่ 1930 เครื่องนี้ได้รับการออกแบบโดยฌองแบ๊บติสต์ เพอร์ริน (Jean-Baptiste Perrin) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลชาวฝรั่งเศส เป็นจานรับ 4 ชุด แต่ละชุดมีตัวรับแบบหกเหลี่ยมขนาดเล็ก 36 อัน จัดเรียงเป็นหกกลุ่มๆ ละ 6 อัน สันนิษฐานว่าเป็นการเพื่อเพิ่มเกนหรือทิศทางของเครื่องมือการรับเสียง

รูปที่ 5. เครื่องระบุตำแหน่งของทหารญี่ปุ่น ค.ศ. 1932 (อ้างอิง: Rarehistoricalphotos)

รูปที่ 6. อุปกรณ์บอกตำแหน่งเสียงในเยอรมนี ปี ค.ศ. 1939 (อ้างอิง: Rarehistoricalphotos)

อุปกรณ์บอกตำแหน่งเสียงในเยอรมนี ปี ค.ศ. 1939 ประกอบด้วยแตรอะคูสติกสี่อัน คู่แนวนอนและคู่แนวตั้ง เชื่อมต่อด้วยท่อยางกับหูฟังเหมือนกับหูฟังของแพทย์ที่ช่างเทคนิคสองคนซ้ายและขวาสวมใส่ หูฟังสเตอริโอช่วยให้ช่างเทคนิคคนหนึ่งกำหนดทิศทางและอีกคนหนึ่งกำหนดระดับความสูงของเครื่องบินได้ตัวระบุตำแหน่งเสียงสามารถตรวจจับเป้าหมายได้ในระยะทางตั้งแต่ 5 ถึง 12 กิโลเมตร ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ทักษะของผู้ปฏิบัติงานและขนาดของการก่อตัวของเป้าหมาย มันให้ความแม่นยำของทิศทางถึงประมาณ 2 องศา

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองใกล้เข้ามา เรดาร์ก็เริ่มเป็นที่นิยมและกลายเป็นทางเลือกที่น่าเชื่อถือแทนตำแหน่งคนฟังเสียงของเครื่องบิน ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่ามาก

อ้างอิง: Rarehistoricalphotos

One comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *